เกษตรฯ เตือนชาวนา ระวังเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดในช่วงฤดูแล้ง

จันทร์ ๐๙ เมษายน ๒๐๑๘ ๑๑:๓๗
กรมส่งเสริมการเกษตรเตือนชาวนาระวังเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดนาข้าวในช่วงฤดูแล้ง แนะเกษตรกรสำรวจนาข้าวอย่างสม่ำเสมอ

นายประสงค์ ประไพตระกูล รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ในช่วงนี้ เริ่มพบการทำลายของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในแถบภาคกลาง ภาคเหนือตอนล่าง และอีกหลายพื้นที่ เริ่มทำความเสียหายให้กับผลผลิตโดยปัจจัยที่มีผลต่อการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในช่วงนี้ ได้แก่ สภาพอากาศร้อน แห้งแล้ง อุณหภูมิในนาข้าวยังคงมีน้ำขัง ซึ่งเป็นสภาพที่เหมาะต่อการเพิ่มจำนวนประชากรของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เกษตรกรปลูกข้าวหนาแน่น ใช้ปุ๋ยไนโตรเจนอัตราสูง ใช้พันธุ์ข้าวไม่ต้านทาน ไม่อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ และใช้สารเคมีมากเกินความจำเป็น

วิธีการป้องกัน แนะนำปลูกข้าวพันธุ์ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เช่น กข ๖ กข ๓๑ กข ๔๑ กข ๔๗ สุพรรณบุรี ๒ สุพรรณบุรี ๓ สุพรรณบุรี ๙๐ พิษณุโลก ๒ เป็นต้น และไม่ควรปลูกพันธุ์เดียวติดต่อกันเกิน ๔ ฤดูเพาะปลูก หมั่นสำรวจแปลงนาอย่างสม่ำเสมอ หากพบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลให้ใช้เชื้อราบิวเวอเรีย (เชื้อสด) อัตรา ๑ กิโลกรัม (๒ ถุง) ต่อน้ำ ๒๐ ลิตร พ่นในบริเวณที่พบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โดยพ่นในช่วงเวลาเย็น ทั้งนี้ สำหรับแหล่งที่มีการระบาดแต่สามารถควบคุมระดับน้ำในนาได้ หลังปักดำหรือหว่าน ๒ - ๓ สัปดาห์จนถึงระยะข้าวตั้งท้อง ให้ควบคุมน้ำในแปลงนาให้พอดินเปียก หรือมีน้ำเรี่ยผิวดินนาน ๗ - ๑๐ วัน แล้วปล่อยน้ำขังทิ้งไว้ให้แห้งเองสลับกัน จะช่วยลดการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้

หากจำเป็นต้องใช้สารป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล แนะนำว่า ข้าวในระยะกล้าถึงแตกกอ (อายุ ๓๐ - ๔๕ วัน) ใช้ บูโพรเฟซิน ๒๕ % WP ๑๐ กรัมต่อน้ำ ๒๐ ลิตร ส่วนข้าวระยะแตกกอเต็มที่ ใช้ อีโทเฟนพร็อกซ์ ๑๐ % EC ๒๐ ซีซี ต่อน้ำ ๒๐ ลิตร และข้าวระยะตั้งท้องถึงออกรวง ใช้ ไทอะมิโทแซม ๒๕ % WG ๒ กรัมต่อน้ำ๒๐ ลิตร และไม่ควรใช้สารเคมีบางชนิดในนาข้าวที่จะทำให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดเพิ่มขึ้น เช่น สารกลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์ ชนิดพ่นน้ำ ได้แก่ แอลฟาไซเพอร์เมทริน ๑๐ % EC ไซแฮโลทริน แอล ๕ % EC และไซเพอร์เมทริน ๑๕ % EC และ ๒๕ % EC อย่างไรก็ตามเกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลงนาอย่างสม่ำเสมอ หากพบการเข้าทำลายของศัตรูพืชให้รีบดำเนินการป้องกันกำจัดทันที

รองอธิบดีฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล Nilaparvata lugens เป็นแมลงปากดูด ที่สามารถทำลายข้าวได้ทุกระยะการเจริญเติบโต โดยดูดกินน้ำเลี้ยงจากกาบใบข้าวบริเวณโคนต้นเหนือระดับน้ำเล็กน้อย ทำให้ปริมาณคลอโรฟิลล์ โปรตีน และคาร์โบไฮเดรตในต้นข้าวลดลง อัตราการสังเคราะห์แสง และการเจริญเติบโตลดลง ต้นข้าวแสดงอาการใบเหลือง ผลผลิตข้าวลดลง อีกทั้งยังเป็นพาหะนำโรคใบหยิก (ragged stunt) และโรคเขียวเตี้ย (grassy stunt) ถ้าเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดรุนแรง ต้นข้าวจะแสดงอาการไหม้แห้งคล้ายถูกน้ำร้อนลวกเรียกว่า ฮอพเพอร์เบิร์น "hopper burn" ทำให้ข้าวแห้งตายได้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๒ ฉลองเทศกาลตรุษจีนปีงูเล็ก ที่โรงแรมดุสิตธานี กระบี่ บีช รีสอร์ท
๑๗:๐๐ IMPACT เผยปี 68 ข่าวดี! โครงการ Sky Entrance รถไฟฟ้าสายสีชมพูมาตามนัด หนุนทราฟฟิคแน่น - จับมือพาร์ทเนอร์
๑๗:๕๒ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม สนับสนุนโครงการ กู้วิกฤตและอนุรักษ์พะยูน ครั้งที่ 2
๑๗:๕๘ แสนสิริ เจ้าตลาดคอนโดแคมปัส อวดโฉม ดีคอนโด วิวิด รังสิต คอนโดใหม่ตรงข้าม ม.กรุงเทพ
๑๖:๔๓ เอ็นไอเอ - สสส. ดึงนิวเจน สรรค์สร้างนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพ ในแคมเปญ The Health Promotion INNOVATION PLAYGROUND
๑๗:๕๘ กรมวิทย์ฯ บริการ เร่งพัฒนาระบบ e-Learning ยกระดับการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ
๑๖:๕๘ เขตจตุจักรกวดขันคนไร้บ้านเชิงสะพานข้ามคลองบางซื่อ สร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน
๑๗:๑๗ เขตพระนครประสานกรมเจ้าท่า-เอกชน เร่งปรับปรุงภูมิทัศน์ท่าเรือสุพรรณเดิม
๑๗:๔๐ กทม. กำชับเจ้าของอาคารตรวจสอบโครงสร้างบันไดเลื่อน เพิ่มความปลอดภัยประชาชน
๑๖:๓๗ แลกเก่าเพื่อโลกใหม่ ช้อปคุ้ม พร้อมลดหย่อนภาษี! 'เปลี่ยนของเก่าเป็นความคุ้ม' ผ่าน Easy E-Receipt ได้ที่โฮมโปร เมกาโฮม