สถาบันวัคซีนแห่งชาติฯ ย้ำชัด!ไทยยังมีความเสี่ยงสูงต่อปัญหาขาดแคลนวัคซีนแนะต้องเร่งขับเคลื่อนการยกระดับบริหารจัดการวัคซีนช่วยแก้ปัญหา

จันทร์ ๐๙ เมษายน ๒๐๑๘ ๑๖:๐๒
"การยกระดับการบริหารจัดการวัคซีน" ตามมติที่ประชุม คกก.วัคซีนแห่งชาติช่วยได้ ทั้งเปลี่ยนการบริหารจัดการวัคซีนแบบแยกส่วนเป็นแบบบูรณาการโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเปลี่ยนวิธีจัดซื้อวัคซีนเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรอง พร้อมเร่งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมผลักดันการยกระดับการบริหารจัดการวัคซีนให้บรรลุผลสำเร็จ เพื่อประชาชนเข้าถึงและได้ใช้วัคซีนที่จำเป็นครบทุกช่วงวัย รวดเร็ว ไม่ล่าช้า ไร้ปัญหาขาดแคลนวัคซีน

ดร.นพ.จรุง เมืองชนะ ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ เปิดเผยว่าประเทศไทยยังคงมีความเสี่ยงสูงต่อปัญหาขาดแคลนวัคซีนพื้นฐานที่จำเป็นอยู่หลายชนิด อย่างเช่นวัคซีนมะเร็งปากมดลูก(วัคซีนHPV)ที่เตรียมให้บริการฟรีแก่เด็กหญิงชั้น ป.5 ที่มีกระแสข่าวว่าวัคซีนขาดสต๊อก เนื่องจากอาจมีตลาดอื่นหรือประเทศอื่น

ตัดหน้าสั่งซื้อวัคซีนในปริมาณที่มากกว่าด้วยราคาที่สูงกว่า "การยกระดับการบริหารจัดการวัคซีน" ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติครั้งที่ 1/2561 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2561 ที่ผ่านมา จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ โดยการประชุมครั้งนี้สถาบันวัคซีนแห่งชาติฯ ในฐานะฝ่ายเลขานุการ ได้มีการนำเสนอให้เห็นถึงปัญหาและผลกระทบของการบริหารจัดการวัคซีนในปัจจุบัน เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ปัญหาด้านราคา อำนาจการต่อรองกับผู้ผลิต ระบบการจัดหาและการกระจายวัคซีนในกลุ่มต่างด้าว ระบบการจัดซื้อและสำรองคลังวัคซีนที่ยังไม่เหมาะสม ฯลฯ พร้อมทั้งได้จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาระบบการจัดซื้อจัดหาวัคซีนให้มีความสมดุลระหว่างวัคซีนที่ผลิตได้ภายในประเทศและที่นำเข้า รวมถึงจัดทำระบบและวิธีการจัดซื้อจัดหาที่มีความจำเพาะเจาะจงสำหรับวัคซีนโดยเฉพาะและพัฒนาระบบการสำรองวัคซีนอย่างชาญฉลาด เนื่องจากวิธีการจัดซื้อวัคซีนที่เหมาะสมนอกจากจะช่วยให้วัคซีนไม่ขาดสต็อกแล้ว ยังเพิ่มอำนาจในการต่อรองราคา เพราะเป็นการซื้อจำนวนมากต่อเนื่องกันหลายปี สร้างความมั่นใจในเรื่องความต้องการให้กับผู้ผลิต รวมทั้งการสำรองวัคซีนในคลังผู้ผลิตร่วมกับการสำรองในคลังกายภาพสามารถช่วยลดการสูญเสียวัคซีนในภาพรวมได้

ทั้งนี้ที่ประชุมดังกล่าวได้มีมติเห็นชอบการยกระดับการบริหารจัดการวัคซีนใน 2 แนวทางคือ

1) เปลี่ยนการบริหารจัดการวัคซีนแบบแยกส่วนเป็นการบริหารจัดการวัคซีนแบบบูรณาการโดยหน่วยงาน

ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ และกรมควบคุมโรค ทั้งในส่วนการจัดซื้อ สำรอง และการกระจายวัคซีน เนื่องจากที่ผ่านมาพบว่า

การแยกส่วนกันซื้อ หรือมีผู้จัดซื้อหลายหน่วยงาน ทำให้เกิดปัญหาการบริหารจัดการขาดความคล่องตัวขาดประสิทธิภาพ ต้องใช้ผู้ดูแลคลังในส่วนกลางหลายทีม ผู้ดูแลคลังและผู้ให้บริการ ในพื้นที่มีความยุ่งยาก สับสน ต้องแยกเก็บ แยกใช้ แยกรายงาน ตามข้อกำหนดของหน่วยงานเจ้าของวัคซีน ส่งผลต่อความเพียงพอและการสูญเสียวัคซีน ทำให้ขาดแคลนวัคซีนในส่วนกลาง (การจัดหา) ขาดแคลนวัคซีนในพื้นที่ (การจัดบริการ)เกิดการสูญเสียวัคซีนสูง และยังส่งผลกระทบต่อประชาชน ทำให้ขาดแคลนวัคซีนจำเป็น ทั้งภาวะปกติ และภาวะระบาด กลุ่มต่างด้าวได้รับวัคซีนไม่ครอบคลุมและอาจส่งผลให้เกิดการระบาดของโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

2) ปรับวิธีการจัดซื้อและการสำรองแบบใหม่ ให้เหมาะสมตามชนิดของวัคซีนโดยวิธีต่างๆได้แก่การจัดซื้อวัคซีนแบบหลายปี (Multi-year tender), การจัดซื้อวัคซีนจากผู้ผลิต/ผู้นำเข้ามากกว่า 1 ราย(Multi-supplier) และการจัดซื้อแบบสำรองไว้ในคลังผู้ผลิต/ผู้นำเข้า (Virtual or Manufacturer's stockpile) ซึ่งเรื่องนี้พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี ประธานคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติได้มอบหมายให้สถาบันวัคซีนแห่งชาติฯ จัดทำรายละเอียดของการศึกษานำร่อง (Pilot Study) เรื่องวิธีการจัดซื้อและวิธีการสำรองวัคซีนที่เหมาะสมกับวัคซีนแต่ละชนิดที่มีความเป็นไปได้และมีประโยชน์ในทางปฏิบัติจริง เพื่อให้หน่วยงานราชการที่จัดซื้อวัคซีนนำไปดำเนินการจัดซื้อวัคซีนต่อไป

"การยกระดับการบริหารจัดการวัคซีน" ถือเป็นจุดมุ่งหมายสำคัญของการพัฒนางานด้านวัคซีนของประเทศที่ต้องเร่งดำเนินการ สถาบันวัคซีนแห่งชาติฯ ในฐานะฝ่ายเลขานุการและหน่วยงานกลางแห่งชาติด้านวัคซีน ซึ่งมีหน้าที่สำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านวัคซีนของประเทศ พร้อมสนับสนุนมติ

ที่ประชุมคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ โดยจะเร่งประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ ให้เกิดการบูรณาการงานด้านวัคซีนร่วมกัน เพื่อผลักดันภารกิจการยกระดับการบริหารจัดการวัคซีนให้บรรลุผลสำเร็จ เพราะการบริหารจัดการวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ นอกจากจะทำให้บรรลุเป้าหมายในการสร้างความมั่นคงด้านวัคซีนของประเทศ ส่งผลให้ประเทศมีวัคซีนเพียงพอไว้ใช้เพื่อรองรับการระบาดและการกำจัดกวาดล้างโรคได้ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบันและในยามฉุกเฉิน ไร้ปัญหาการขาดแคลนวัคซีนแล้ว ยังช่วยให้มีระบบการสำรองและกระจายวัคซีนที่ทันสมัย ประชาชนเข้าถึงและได้ใช้วัคซีนที่จำเป็นได้อย่างรวดเร็ว ไม่ล่าช้า สามารถให้บริการวัคซีนได้ครบทุกช่วงวัย ช่วยลดการสูญเสียวัคซีน ลดค่าใช้จ่ายโดยรวมของประเทศ "ดร.นพ.จรุงกล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ