โครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2561

พุธ ๑๑ เมษายน ๒๐๑๘ ๑๑:๕๐
นางสาวกุลยา ตันติเตมิท ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง ชี้แจงว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2561 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบโครงการประกันภัยข้าวนาปี (โครงการฯ) ปีการผลิต 2561 เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติให้แก่เกษตรกรผู้เพาะปลูกข้าวนาปี ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าวได้มีมติเห็นชอบโครงการฯ ปีการผลิต 2561 ในการประชุมครั้งที่ 1/2561 เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2561 โดยมีหลักการและรายละเอียดของการรับประกันภัย ดังนี้

1. พื้นที่เป้าหมายเอาประกันภัย สูงสุดจำนวนไม่เกิน 30 ล้านไร่ ประกอบด้วย

1.1 พื้นที่เป้าหมายเอาประกันภัยจำนวนไม่เกิน 29 ล้านไร่ สำหรับเกษตรกรที่เป็นลูกค้าสินเชื่อเพื่อการเพาะปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2561 ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ทุกราย ซึ่งประกอบด้วย ลูกค้าสินเชื่อ ธ.ก.ส. ที่ได้รับการอุดหนุนเบี้ยประกันภัยจาก ธ.ก.ส. และลูกค้าสินเชื่อ ธ.ก.ส. ที่มีความประสงค์จะขอเอาประกันภัยเพิ่มเติม โดยจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยเอง

1.2 พื้นที่เป้าหมายเอาประกันภัยจำนวนไม่เกิน 1 ล้านไร่ สำหรับเกษตรกรทั่วไปที่เพาะปลูกข้าวนาปีและไม่ใช่ลูกค้าสินเชื่อ ธ.ก.ส.

2. เงื่อนไขในการรับประกันภัย

2.1 ผู้เอาประกันภัย คือ เกษตรกรผู้เพาะปลูกข้าวนาปีที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกร (ทบก.) กับกรมส่งเสริมการเกษตร ในปีการผลิต 2561/62

2.2 รูปแบบการเอาประกันภัย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

(1) กลุ่มเกษตรกรที่เป็นลูกค้าสินเชื่อเพื่อการเพาะปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2561 ของ ธ.ก.ส. ดำเนินการในรูปแบบการประกันภัยกลุ่ม โดย ธ.ก.ส. เป็นผู้ถือกรมธรรม์ประกันภัย

(2) กลุ่มเกษตรกรทั่วไปที่เพาะปลูกข้าวนาปีและไม่ใช่ลูกค้าสินเชื่อ ธ.ก.ส. ดำเนินการในรูปแบบการประกันภัยรายบุคคล

2.3 อัตราเบี้ยประกันภัย

อัตราเบี้ยประกันภัย 90 บาทต่อไร่ (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและอากรแสตมป์) หรือคิดเป็นอัตรา 97.37 บาทต่อไร่ (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและอากรแสตมป์) ซึ่งเป็นอัตราเดียวทุกพื้นที่ทั่วประเทศ

2.4 วงเงินความคุ้มครอง

เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ปีการผลิต 2561 จะได้รับวงเงินความคุ้มครองสูงสุด 1,260 บาทต่อไร่ สำหรับภัยธรรมชาติทั้งหมด 6 ประเภท ได้แก่ น้ำท่วมหรือฝนตกหนัก ภัยแล้ง ฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วง ลมพายุหรือพายุไต้ฝุ่น ภัยอากาศหนาวหรือน้ำค้างแข็ง ลูกเห็บ และไฟไหม้ และวงเงินความคุ้มครองสูงสุด 630 บาทต่อไร่ สำหรับภัยศัตรูพืชหรือโรคระบาด

3. การอุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัยของรัฐบาล

สำหรับโครงการฯ ปีการผลิต 2561 รัฐบาลยังคงอุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัยทุกรายในอัตรา 61.37 บาทต่อไร่ (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและอากรแสตมป์) และ ธ.ก.ส. จะอุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัยในส่วนที่เหลืออีก 36 บาทต่อไร่ สำหรับเกษตรกรที่เป็นลูกค้าสินเชื่อเพื่อการเพาะปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2561 ของ ธ.ก.ส. เฉพาะพื้นที่เพาะปลูกส่วนที่ได้รับการอนุมัติสินเชื่อ

4. งบประมาณ

การดำเนินโครงการฯ ปีการผลิต 2561 กระทรวงการคลังประเมินในเบื้องต้นว่า จะมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการฯ ตามเป้าหมาย ดังนั้น จึงอนุมัติวงเงินอุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัยสำหรับพื้นที่เป้าหมายเอาประกันภัยที่จำนวนสูงสุด 30 ล้านไร่ คิดเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 1,841,100,000 บาท

สำนักนโยบายระบบการคุ้มครองผลประโยชน์ทางการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

โทร. 0 2273 9020 ต่อ 3691

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO