คำอธิบายและการวิเคราะห์งบการเงินสำหรับไตรมาส 1 ปี 2561 (ก่อนตรวจสอบ) ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน)

ศุกร์ ๒๐ เมษายน ๒๐๑๘ ๑๕:๑๓
ภาพรวมผลการดำเนินงาน

กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (KKP) แบ่งเป็น 2 ธุรกิจหลัก คือ ธุรกิจธนาคารพาณิชย์ดำเนินงานโดยธนาคารเกียรตินาคิน และธุรกิจตลาดทุนดำเนินงานโดย ทุนภัทร บล.ภัทร และ บลจ.ภัทร โดยในปี 2561 นี้ มุ่งเป้าขยายฐานลูกค้าเชิงรุก ตลอดจนเพิ่มช่องทางการให้บริการไม่ว่าออฟไลน์หรือออนไลน์เพื่อขยายฐานลูกค้าในผลิตภัณฑ์สินเชื่อและเงินฝาก อีกทั้งต่อยอดการขายผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง (cross-selling) ภายในกลุ่มธุรกิจฯ ตลอดจนพัฒนาช่องทางการลงทุนในต่างประเทศให้หลากหลาย อำนวยความสะดวกให้ลูกค้ารับคำแนะนำในการลงทุนและทำรายการได้ใกล้ชิดกว่าบริการ Private Bank ต่างประเทศ สำหรับสินเชื่อรวมตั้งเป้าการเติบโตที่ราว 10% ส่วนนโยบายทางด้านสาขานั้น เนื่องจากการทำธุรกรรมสาขาอาจมีไม่มากเท่าเดิม อันเป็นผลมาจากพัฒนาการในทางเทคโนโลยีในอนาคต สาขาบางส่วนของธนาคารจึงจะถูกยกระดับให้เป็น Financial Hub ที่ให้บริการด้านตลาดทุนควบคู่ธุรกิจธนาคาร ในขณะที่บริการอื่นๆ จะพัฒนาเข้าสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ สอดคล้องกับพัฒนาการโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินของประเทศ

ผลการดำเนินงานไตรมาส 1 ปี 2561 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิ ไม่รวมส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยเท่ากับ 1,513 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.0 เมื่อเปรียบเทียบกับกำไรสุทธิในไตรมาส 4/2560 หากเปรียบเทียบกับไตรมาส 1/2560 กำไรสุทธิลดลงเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.7 ทางด้านรายได้ดอกเบี้ยอยู่ที่ 3,790 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 จากไตรมาส 1/2560 โดยหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ดอกเบี้ยของเงินให้สินเชื่อที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.3 ตามปริมาณการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อ สินทรัพย์รวม ณ วันที่ 31 มีนาคม 2561 มีจำนวน 273,819 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 จากสิ้นปี 2560

ณ วันที่ 31 มีนาคม 2561 ธนาคารมีอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS Ratio) คำนวณตามเกณฑ์ Basel III ซึ่งรวมกำไรถึงสิ้นปี 2559 อยู่ที่ร้อยละ 15.96 โดยเงินกองทุนชั้นที่ 1 เท่ากับร้อยละ 12.87 แต่หากรวมกำไรถึงสิ้นไตรมาส 1/2561 อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงจะเท่ากับร้อยละ 18.05 และเงินกองทุนชั้นที่ 1 เท่ากับร้อยละ 14.96

ธุรกิจธนาคารพาณิชย์

ในไตรมาส 1/2561 สินเชื่อของธนาคารมีการขยายตัวที่ร้อยละ 5.7 เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2560 โดยสินเชื่อมีการขยายตัวในเกือบทุกประเภท รวมถึงสินเชื่อเช่าซื้อที่เริ่มมีการขยายตัวที่ร้อยละ 0.7 หลังจากที่มีการหดตัวต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมา ในด้านคุณภาพของสินเชื่อ อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อสินเชื่อรวม ณ สิ้นไตรมาส 1/2561 อยู่ที่ร้อยละ 4.7 ลดลงเมื่อ เทียบกับร้อยละ 5.0 ณ สิ้นปี 2560 ทางด้านธุรกิจบริหารหนี้ธนาคารขายทรัพย์รอการขายได้ในไตรมาส 1/2561 จำนวน 317 ล้านบาท และมีกำไรจากการขายทรัพยร์อการขาย 160 ล้านบาท ส่วนหนี้สินรวม (เงินฝากและอื่นๆ) มีจำนวน 230,790 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 จากสิ้นปี 2560

ในด้านผลิตภัณฑ์และบริการ ในไตรมาส 1/2561 ธนาคารได้ออกผลิตภัณฑ์ทางการเงิน สินเชื่อ KK SME คูณสาม ซึ่งเป็นสินเชื่อสำหรับเอสเอ็มอีใช้อสังหาริมทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันโดยให้วงเงินสูงสุด3 เท่าของหลักประกันวงเงิน สูงสุด 15 ล้านบาท ในส่วนของการให้บริการ ธนาคารได้มีการพัฒนานวัตกรรมการบริการภายใต้การให้บริการ KK Magic Mirror ซึ่งเป็นการใหบ้ ริการที่ปรึกษาทางการเงินผ่านจอ LED แบบ interactive เพื่อเป็นการเพิ่มรูปแบบและช่องทางการ ให้บริการสำหรับผู้ที่สนใจด้านการวางแผนการเงินและการลงทุน

ในด้านคุณภาพของสินเชื่อมีปริมาณสินเชื่อด้อยคุณภาพของธนาคารและบริษทัย่อยจำนวน 9,673 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.7 ของสินเชื่อรวม โดยเป็นอัตราส่วนที่ลดลงจาก ณ สิ้นปี 2560 ที่ร้อยละ 5.0 โดยปริมาณสินเชื่อด้อยคุณภาพในส่วนของสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์และสินเชื่อธุรกิจอสงัหาริมทรัพยย์งัคงมีการปรับตวัลดลงจากสิ้นปี 2560

ธุรกิจตลาดทุน

ประกอบด้วย ธุรกิจนายหน้า ธุรกิจวานิชธนกิจ ธุรกิจการลงทุน และธุรกิจจัดการกองทุน

ธุรกิจนายหน้า (Brokerage Business) โดย บล.ภัทร ที่ดำเนินธุรกิจให้บริการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ และตราสารอนุพันธ์แก่ลูกค้าประเภทสถาบันทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงกลุ่มลูกค้าบุคคลรายใหญ่ภายใต้บริการ Private Wealth Management สำหรับไตรมาส 1/2561 บล.ภัทร มีรายได้ค่านายหน้า 396 ล้านบาท ประกอบด้วยรายได้ค่านายหน้าจากการซื้อขายหลักทรัพย์ 353 ล้านบาท รายได้ค่านายหน้าจากการซื้อขายตราสารอนุพันธ์ 34 ล้านบาท และรายได้ค่านายหน้าอื่น 9 ล้านบาท นอกจากนี้ บล.ภัทร ยังมีรายได้ค่านายหน้าจากาการเป็นตัวแทนขายหน่วยลงทุน 143 ล้านบาท

ธุรกิจวานิชธนกิจ (Investment Banking Business) บล.ภัทร ประกอบธุรกิจวานิชธนกิจ ให้บริการเป็นที่ปรึกษาทางการเงินและการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ในไตรมาส 1/2561 บล.ภัทร มีรายได้รวม 67 ล้านบาท ประกอบด้วย รายได้ที่ปรึกษาทางการเงิน 60 ล้านบาท และรายได้การจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ 7 ล้านบาท

ธุรกิจการลงทุน (Investment Business) ปี 2559 บริษัทและบริษัทย่อยมีรายได้รวมจากธุรกิจลงทุนจำนวน 234ล้านบาท

ธุรกิจจัดการกองทุน (Asset Management Business) โดย บลจ.ภัทร ณ วันที่ 31 มีนาคม 2561 มีทรัพย์สินภายใต้การจัดการของกองทุนเป็นจำนวน 63,998 ล้านบาท มีกองทุนภายใต้การบริหารรวม 24 กองทุน

ผลการดำเนินงานรวมของธนาคารและบริษัทย่อย

อัตราส่วนต่างๆ (ร้อยละ) ไตรมาส1/2560 ไตรมาส2/2560 ไตรมาส3/2560 ไตรมาส 4/2560 ปี 2560 ไตรมาส 1/2561

อัตราการเติบโตของเงินให้สินเชื่อ 1.3 2.8 0.2 4.8 9.3 5.7

สินเชื่อด้อยคุณภาพต่อสินเชื่อรวม 5.6 5.8 5.6 5.0 5.0 4.7

(ไม่รวมรายการระหว่างธนาคาร)

อัตราส่วนการตั้งสำรองต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ 110.1 104.6 105.6 109.8 109.8 110.9

อัตราส่วนสำรองต่อสำรองตามเกณฑ์ 188.1 185.1 185.4 188.6 188.6 186.1

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ