SACICT ปลื้มงานอนุรักษ์ร่ม “จ้องแดงโบราณ” สร้างชื่อสู่ตลาดหัตถศิลป์โลก ดังไกลไปถึงอังกฤษ

จันทร์ ๓๐ เมษายน ๒๐๑๘ ๑๗:๑๖
"จ้องแดงโบราณ" จากฝีมือครูช่างหัตถศิลป์ไทย นับเป็นคุณค่างานหัตถศิลป์ที่ปลื้มใจและสร้างความสำเร็จอีกชิ้นหนึ่ง กับการให้ความสำคัญการอนุรักษ์ และสืบสานเพื่อรักษาคุณค่าภูมิปัญญาดั่งเดิม สมบัติของชาติให้คงอยู่ไม่สูญหายไป ของศูนย์ส่งสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน)

นางอัมพวัน พิชาลัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ หรือ SACICT เปิดเผยว่า "ร่มจ้องแดงโบราณ" นับเป็นความสำเร็จอีกหนึ่งชิ้นของงานหัตถศิลป์ที่ SACICT สามารถพัฒนาช่างศิลป์และผู้ประกอบการงานหัตถศิลป์ไทยให้สามารถก้าวเข้าสู่ตลาดหัตถศิลป์และเกิดการต่อยอดสู่ตลาดการค้าโลกได้สำเร็จ ทำให้งานหัตถกรรมศิลป์ "ร่มจ้องแดงโบราณ" ได้รับยอดการสั่งซื้อเพื่อนำผลิตภัณฑ์ไปจำหน่ายยังประเทศอังกฤษเป็นครั้งแรก อันเป็นผลจากการมุ่งสร้างเครือข่ายเพื่อพัฒนาต่อยอดงานอนุรักษ์หัตถศิลป์โบราณที่หายากและกำลังสูญหายสู่เชิงพาณิชย์ สร้างคุณค่าของงานศิลปหัตกรรมไทยให้คงรักษาสืบทอดรุ่นต่อรุ่นสืบสานยาวนานต่อไป และการมุ่งเน้นพัฒนาความคิดสร้างสรรค์งานหัตถศิลป์ไทยไปสู่การใช้งานที่ร่วมสมัยในชีวิตประจำวัน (Today Life's Crafts) ของ SACICT ให้มากขึ้นในปัจจุบัน

นายวิเชิญ แก้วเอี่ยม ครูช่างศิลปหัตถกรรมประจำปี 2561 แห่งบ้านดอนเปา อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นผู้ที่สืบทอดงานหัตถกรรมร่มจ้องแดงโบราณ เอกลักษณ์ของบ้านดอนเปา หนึ่งในภูมิปัญญา บรรพบุรุษที่สืบทอดต่อกันมาแล้ว 6 ช่วงอายุคนนับหลายร้อยปี ผู้มีทักษะความชำนาญ อยู่กับการทำจ้องโบราณ สีแดงนี้มากกว่า 30 ปี และในปัจจุบัน "ครูวิเชิญ" กลายเป็นกำลังหลักสำคัญที่เหลืออยู่เพียงบ้านเดียวที่ยังคงอนุรักษ์การทำร่มจ้องแดงโบราณให้คงอยู่ในปัจจุบันซึ่งกำลังใกล้จะสูญหายไปจากชุมชนวัฒนธรรมของล้านนา

ครูช่างวิเชิญ บอกว่า "ดีใจมากกับยอดสั่งซื้อร่มจ้องแดงโบราณครั้งนี้ และนับเป็นครั้งแรกที่ได้ยอดสั่งซื้อส่งตรงไปยังประเทศอังกฤษเมื่อเร็วๆ นี้ จำนวนมากคราวเดียวถึง 400 คัน ไม่ได้ผ่านตัวแทนหรือหน่วยงานของภาครัฐ จึงต้องค่อยๆ ทยอยทำส่งให้เดือนละ 50 -100 คัน จนกว่าจะครบจำนวน ที่เป็นผลจากการส่งเสริมออกบูทในงานของศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศและหน่วยงานของรัฐ"

พร้อมบอกอีกว่า การจะทำส่งครั้งเดียวทั้งหมดเลยไม่ได้ เพราะว่าต้องผลิตทำให้กับลูกค้าประจำรายอื่นๆให้อีกด้วย สามารถผลิตร่มจ้องแดงได้เฉลี่ยเดือนหนึ่งแค่ประมาณ 100-120 คัน เนื่องจาก "สล่า" หรือช่างทำร่ม หัวเรือสำคัญหลักของหมู่บ้านมีน้อย ปัจจุบันเหลือเพียง "สล่า" คนรุ่นเก่าหรือผู้สูงวัยอยู่แค่ 8 คนเท่านั้น แต่ก็ชื่นใจที่ลูกหลานได้เข้ามาสืบทอดฝีมือการทำร่มจ้องแดงกันแล้ว และยังมีฝีมือพัฒนาการผลิตร่มแบบใหม่ๆ จากน้ำพักน้ำแรงของลูกหลาน ที่ไปร่ำเรียนทางด้านศิลปะการวาดรูปกันมา สามารถผลิตร่มจ้องแดงแบบใหม่ที่เพิ่มลวดลายใส่รูปภาพวาดด้านศิลปะต่างๆ เข้าไปเพิ่มคุณค่าบนผืนผ้าร่ม เช่น พระราหู เทพพนม หนุมาน เป็นต้น สร้างความแตกต่างให้ร่มจ้องแดงโดดเด่นไม่ซ้ำแบบกับร่มของบ้านบ่อสร้างและที่อื่นๆ

ครูช่างวิเชิญ บอกถึง เอกลักษณ์ "ร่มจ้องแดง" อีกว่า ศิลปะโบรานล้านนาแห่งนี้ คือ อยู่ที่ตัวร่มแบบโบราณที่นิยมทาผ้าด้วยสีแดงสดและสีแดงเลือดนก ปลายด้ามจับยาว มีทรงที่โค้งคุ่มงอลงมานิดหน่อย ไม่ใช่ทรงกางชี้บานเหมือนกับทรงร่มของบ้านบ่อสร้างหรือที่อื่นๆ "จ้อง" คือ ร่มที่เป็นภาษาพื้นถิ่นล้านนา นอกจากนี้ในบางครั้งเราอาจเรียกกันในอีกชื่อว่า "ร่มแม่วาง"

อีกทั้ง ยังมีเอกลักษณ์อยู่ที่ลวดลายเส้นด้ายในโครงร่มที่มีการสานด้วยด้ายหลากสีสันนำมาร้อยสานเลื่อมสลับกันไปมา จึงมีทั้งความสวยงาม และความแข็งแรง สามารถป้องกันฝนและแสงแดดได้อย่างดี สีไม่ตก การทำจ้องแดงต้องใช้ทักษะความชำนาญการทำด้วยมือในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การทำไม้หัวร่ม ซี่โครงร่ม การหุ้มโครงร่ม ทาสี และสานเส้นด้ายในโครงร่ม จ้องแดงทีได้รับความนิยมมากในปัจจุบันคือ จ้องแดงที่ใช้ตั้งในสนาม หรือใช้ตกแต่งสถานที่ต่างๆ เพื่อความสวยงาม

ส่วนอุปสรรคในการผลิตจ้องแดงคือ การจัดหาไม้ลวกไม้ไผ่ ที่เมื่อก่อนต้องไปจัดหาและตัดเองในป่า แต่ขณะนี้แก้ไขได้แล้วโดยการกระจายรายได้รับซื้อจากชาวบ้านแทน และการไปสอนให้คนในหมู่บ้านหลาวไม้ไผ่ตามแบบสำเร็จรูปที่ต้องการนำมาขายให้ ทำให้เกิดความคล่องตัวมากและหาซื้อได้ง่ายขึ้น

ครูช่างวิเชิญยังรับซ่อมร่มจ้องแดงให้อีกด้วย เพราะว่ามีลูกค้าที่ซื้อร่มจ้องแดงไปใช้งานเป็นเวลานานแล้วและเกิดชำรุด จึงมาให้ครูช่างทำซ่อมให้ ครูช่างบอกอีกว่า จากการได้รับทำซ่อมร่มจ้องแดงนี้ จึงทำให้รู้ได้ว่า คุณภาพร่มจ้องแดงที่ผลิตนี้หากเก็บรักษาให้ดีจะเป็นของดี มีคุณภาพ มีอายุใช้งานคงทนนานถึง 10 ปี บางคันนานกลายจนเป็นร่มจ้องแดงรุ่นเก่าของโบราณที่ทรงคุณค่าเก็บรักษาไว้ น่าภูมิใจอย่างมาก

"ครูมีความยินดี พร้อมที่จะถ่ายทอดฝีมือและความรู้ที่มีทั้งหมดให้กับคนนอกผลิตจ้องแดงนี้เพื่อให้ได้สืบทอดต่อไป มีผู้ที่ให้ความสนใจอยู่บ้าง ได้แก่ คณะพระและสามเณรจากวัดดอยสัพพัญญู แต่ยังไม่เห็นว่าจะมีใครที่ไม่ใช่ลูกหลานนำไปผลิตเป็นจริงเป็นจัง ถึงแม้ว่าจะหาผู้สืบทอดได้ยาก แต่ส่วนหนึ่งมีความชื่นใจที่ลูกหลานยินดีที่จะสืบทอดมรดกความรู้ชิ้นนี้เอาไว้และทำต่อไปเรื่อยๆ" ครูช่างวิเชิญกล่าว

ด้วยเหตุนี้ ครูช่างวิเชิญ ในวัย 62 ปี ที่ยังพร้อมจะถ่ายทอดส่งต่อไปให้คนรุ่นหลัง เพื่อหวังรักษางานหัตถกรรมจ้องแดง ภูมิปัญญาบรรพบุรุษที่สืบทอดมาหลายร้อยปีไม่ให้หมดสูญสิ้นหายไป โดยขาดผู้สืบสาน และเพื่อไม่ทำให้การทำจ้องแดงเหลือเพียงตำนานที่ถูกลืม โดยขอใช้เวลาที่ยังเหลืออยู่เพื่อถ่ายทอดสู่คนรุ่นหลัง เพื่อให้หัตกรรมจ้องแดงคงอยู่คู่ถิ่นล้านนาสืบไป ครูช่างวิเชิญจึงได้รับการเกียรติให้เป็นครูช่างศิลปะหัตกรรมแห่งปี 2561

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version