มทร.ธัญบุรี ปั้นคลัสเตอร์สมุนไพร ช่วยผู้ประกอบการต่อเนื่องปี2

พุธ ๐๒ พฤษภาคม ๒๐๑๘ ๑๑:๒๒
มทร.ธัญบุรี และ สสว. จัดกิจกรรมคลัสเตอร์สมุนไพร ภายใต้โครงการสนับสนุนเครือข่ายเอสเอ็มอีปี 2561 ช่วยผู้ประกอบการต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ในการดำเนินธุรกิจสมุนไพรตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ

ผศ.มโน สุวรรณคำ ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี เผยว่ามหาวิทยาลัยได้รับมอบหมายจากสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ให้สานต่อกิจกรรมพัฒนาเครือข่ายสมุนไพร หรือคลัสเตอร์สมุนไพรต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา ภายใต้โครงการสนับสนุนเครือข่าย เอสเอ็มอีปี 2561เพื่อยกระดับความสามารถของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในกลุ่มสมุนไพร ตั้งแต่ผู้ปลูกที่เป็นต้นน้ำ ผู้แปรรูปผลิตภัณฑ์หรือที่เรียกว่ากลางน้ำ และปลายน้ำอย่างผู้จัดจำหน่าย ตามกลุ่มพื้นที่ทั่วประเทศสู่การเป็นคลัสเตอร์ที่บูรณาการร่วมกันกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและสถาบันการศึกษา ที่มีความเข้มแข็งและสามารถสร้างธุรกิจให้เติบโตร่วมกันทั้งคลัสเตอร์

คลัสเตอร์สมุนไพรในปี 2561 มทร.ธัญบุรี ดำเนินการใน 9 พื้นที่ทั่วประเทศ โดยพัฒนากลุ่มคลัสเตอร์เดิม คือพื้นที่ จ.พิษณุโลก สระบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น จันทบุรี และพัฒนากลุ่มคลัสเตอร์ขึ้นมาใหม่ ประกอบด้วยพื้นที่ จ.น่าน ลำปางและนครพนม รูปแบบการพัฒนาทั้งหมดจะเน้นการทำงานร่วมกันทั้งเครือข่าย และได้นำเทคโนโลยี นวัตกรรมรวมถึงงานวิจัยมาใช้เป็นแนวทางเพื่อการพัฒนา ซึ่งจะให้ความรู้ด้านนวัตกรรมและงานวิจัยเกี่ยวกับสมุนไพร วิเคราะห์กิจการให้ตรงกับความต้องการของตลาด รวมถึงติดตามผลอย่างต่อเนื่อง แลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างเครือข่ายให้มีการเติบโตอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน

ผศ.มโน กล่าวอีกว่า คลัสเตอร์สมุนไพรปี 2561 เปิดตัวโครงการแรกที่ จ.ขอนแก่น ในชื่อคลัสเตอร์ไพรร้อยแก่นสารสินธุ์ โดยมีคณาจารย์จากวิทยาลัยการแพทย์แผนไทย และคณะเทคโนโลยีการเกษตร มทร.ธัญบุรี และทีมที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ ลงพื้นที่และทำงานเชิงลึก ร่วมกันวิจัยพัฒนาและให้ความรู้ในแนวทางปฏิบัติของสมุนไพรไทย เช่น การพัฒนาเกษตรต้นน้ำให้เป็นเกษตรปลอดภัย เกษตรอินทรีย์สู่เกษตร 4.0 การวิจัยและพัฒนาให้เกิดนวัตกรรม การสร้างมาตรฐานและรับรองมาตรฐานสำหรับผลิตภัณฑ์

ด้าน ภาดล แสงกุดเรือ ประธานกลุ่มคลัสเตอร์ไพรร้อยแก่นสารสินธุ์ เผยว่าการทำธุรกิจยุคนี้จะต้องใช้งานวิจัยนำการตลาด ถึงจะอยู่รอดและเติบโตต่อไป ขอบคุณความจริงใจและความตั้งใจของอาจารย์จาก มทร.ธัญบุรี ในการลงพื้นที่วิเคราะห์ศึกษา ให้แนวคิด คำปรึกษาในเชิงสร้างสรรค์แก่ผู้ประกอบการ และเชื่อว่าโครงการที่ทำต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 นี้ จะทำให้กลุ่มคลัสเตอร์เติบโตอย่างมีศักยภาพบนเส้นทางธุรกิจ ผู้ประกอบการในกลุ่มฯ ได้บ่มเพาะความรู้ความสามารถใหม่ ๆ และสร้างแรงบันดาลใจระหว่างกันสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ก่อให้เกิดศักยภาพและมีความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ รวมถึงช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่แนวปฏิบัติที่เหมาะสม และสร้างการรับรู้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรของไทยให้กับผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ