กฟก.เร่งสำรวจหนี้เกษตรกร เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้เกษตรกรสมาชิก

อังคาร ๐๘ พฤษภาคม ๒๐๑๘ ๑๓:๐๔
นายสไกร พิมพ์บึง รองเลขาธิการ รักษาการในตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เปิดเผยว่าที่มาของการสำรวจหนี้เกษตรกร เดิมทีเรามีข้อมูลการขึ้นทะเบียนหนี้ทั้งหมดตั้งแต่ พ.ศ.2546 จำนวน 512,889 ราย โดยได้นำเลขที่บัตรประจำตัวประชาชนไปตรวจสอบกับฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ กระทรวงมหาดไทย เพื่อตรวจสอบความซ้ำซ้อนและความมีอยู่จริงของเกษตรกรสมาชิกคงเหลืออยู่จำนวน 465,925 ราย 944,752 สัญญา ต่อมาสำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ ได้จัดตั้งศูนย์สำรวจข้อมูลหนี้สินเกษตรกรซึ่งตั้งอยู่ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนมิถุนายน – ธันวาคม 2560 และย้ายมาตั้งที่สำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ อย่างเป็นทางการเมื่อเดือนมีนาคม 2561 เพื่อเป็นศูนย์ข้อมูลกลางในการคัดกรองตรวจสอบข้อมูลจากสถาบันเจ้าหนี้และข้อมูลทะเบียนหนี้เกษตรกรจาก 77 สาขาจังหวัดทั่วประเทศจากการสำรวจข้อมูลหนี้รอบแรกมีเกษตรกรมารายงานตัวจำนวน 290,657 ราย 524,720 สัญญา คิดเป็น 55.54 % และเพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้เกษตรกรที่มารายงานตัวในรอบแรกไม่ทันได้มีโอกาสได้รับการแก้ไขปัญหาหนี้สินจึงเปิดการสำรวจข้อมูลหนี้สินรอบ 2 รวมถึงกรณีหนี้เร่งด่วนทั้งหมดในชั้นดำเนินคดีขึ้นไป (หนี้ล้มละลาย/ขายทอดตลาด/บังคับคดี/มีคำพิพากษาหรือชั้นฟ้องคดี) จำนวน 7,930 ราย ให้มารายงานตัว ณ สำนักงานสาขาจังหวัดโดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2561 จนถึงวันที่ 30 เมษายน 2561 ซึ่งผลการสำรวจหนี้รอบ 2 มีเกษตรกรกลุ่มเป้าหมายมารายงานตัวประมาณ17 % จำนวน 40,179 ราย74,331 สัญญาเมื่อรวมเกษตรกรที่มายืนยันตนรอบ 1 และรอบ 2 เป็นจำนวน330,836ราย 599,051 สัญญา นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้เกษตรกรมารายงานตัวได้อีกไปจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2561

สำหรับประเด็นการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร จากการสำรวจกลุ่มเป้าหมายมีเกษตรกรที่มารายงานตัวจากข้อมูลสำรวจในรอบที่ 1 จำนวน 290,657 ราย เป็นเกษตรกรที่ประสงค์ให้กองทุนฟื้นฟูฯจัดการหนี้ จำนวน 164,360 ราย มูลหนี้ 28,690 ล้านบาท และไม่ประสงค์ให้กองทุนฟื้นฟูฯ จัดการหนี้ 126,297 ราย มูลหนี้ 15,912 ล้านบาท ซึ่งมีการตรวจสอบรายละเอียดแล้วจำนวน 85,864 ราย 186,731 สัญญา อยู่ในหลักเกณฑ์ที่ กฟก.สามารถจัดการหนี้ได้จำนวน 10,679 ราย เป็นหนี้ที่มีวัตถุประสงค์การกู้เพื่อการเกษตรมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน และเป็นหนี้ไม่เกิน 2.5 ล้านบาทอยู่ในหลักเกณฑ์ตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรโดยกองทุนฟื้นฟูฯ ได้จัดการหนี้ไปแล้วจำนวน 1,670 ราย มูลหนี้ 481,796,661.35 ล้านบาท และอีกส่วนหนึ่งรอการจัดการหนี้จำนวน 9,009 ราย มูลหนี้2,527,902,099.59 บาท ซึ่งอยู่ระหว่างการเจรจา นอกจากนี้ยังมีหนี้บุคคลค้ำประกันและวัตถุประสงค์การกู้ไม่ใช่เพื่อการเกษตรจำนวน 75,185 ราย มูลหนี้ 17,337 ล้านบาท ทั้งนี้กองทุนฟื้นฟูฯ ได้ดำเนินการจัดการหนี้ร่วมกับสถาบันเจ้าหนี้ โดยเสนอให้เจ้าหนี้ปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งกรณีดังกล่าวคิดเป็นร้อยละ91 ของกลุ่มเป้าหมาย ในกรณีที่เป็นหนี้นอกหลักเกณฑ์ (หนี้บุคคลค้ำประกัน/หนี้ที่อุทธรณ์วัตถุประสงค์การกู้) เป็นไปตามคำวินิจฉัยตามกฤษฎีกาเรื่องการรับภาระชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ของเกษตรกรสำหรับหนี้ในระบบที่มิใช่โครงการส่งเสริมของรัฐ ตามมาตรา 37/9 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. 2542

ในการสำรวจหนี้ระยะที่ 2 ส่วนที่เหลือที่ยังไม่มารายงานตัว จำนวน 238,123 ราย มูลหนี้33,751 ล้านบาท สำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ จะดำเนินการภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2561 โดยให้เกษตรกรที่มีรายชื่อมารายงานตัวเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้ต่อไป

อย่างไรก็ตามหนี้เหล่านี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายณรงค์ อ่อนสอาด) และที่ปรึกษาปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายนำชัย พรหมมีชัย)ได้รับมอบเป็นนโยบายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไปประสานดำเนินการร่วมกับสถาบันเจ้าหนี้ 3 กลุ่ม คือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส. ) กรมส่งเสริมสหกรณ์ (หนี้สกรณ์) และธนาคารหรือนิติบุคคลอื่น เพื่อให้มีการแก้ไขปัญหาหนี้โดยการปรับโครงสร้างหนี้กับสถาบันเจ้าหนี้ จากนั้นให้สถาบันเจ้าหนี้ กองทุนฟื้นฟูฯ องค์กรเกษตรกร และเกษตรกรสมาชิกที่เป็นหนี้ จัดทำแผนฟื้นฟูแบบบูรณาการเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน โดยการสนับสนุนการดำเนินงานและงบประมาณในการฟื้นฟูจากภาครัฐต่อไป

นอกจากนี้ นายประเทือง นรินทรางกูล ณ อยุธยา รักษาการผู้อำนวยการสำนักกิจการสาขาภูมิภาคที่ 1 ในฐานะประธานกรรมการศูนย์ข้อมูลหนี้สินเกษตรกร ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าการสำรวจและการตรวจสอบข้อมูลหนี้ของเกษตรกร เป็นการนำเข้าข้อมูลจากสถาบันเจ้าหนี้ เข้าสู่ระบบและตรวจสอบจากสถาบันเจ้าหนี้ ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) , สหกรณ์การเกษตร , ธนาคารพาณิชย์ และนิติบุคคลอื่นตามกฎหมาย จากนั้นให้เกษตรกรสมาชิกมายืนยันในแบบสำรวจและตรวจสอบโดยมีผู้แทน กฟก.แต่ละจังหวัด ผู้แทนจากสถาบันเจ้าหนี้ และผู้แทนฝ่ายความมั่นคง (ทหาร) และเกษตรกรรับรอง และนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ และส่งให้สำนักงานตรวจสอบบัญชีสหกรณ์ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์แต่ละจังหวัดรับรองความถูกต้อง เพื่อนำเสนอคณะอนุกรรมการระดับอำเภอและระดับจังหวัดเห็นชอบ จากนั้นจะนำผลการสำรวจ รายชื่อ พร้อมมูลหนี้เสนอคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรเฉพาะกิจพิจารณาให้ความเห็นชอบ กรณีหนี้ที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขการชำระหนี้ จะเสนอให้กองทุนฟื้นฟูฯ ชำระหนี้ตามกฎหมาย ส่วนกรณีหนี้บุคคลค้ำประกัน/หนี้ที่อุทธรณ์วัตถุประสงค์การกู้ไม่ใช่เพื่อการเกษตรสามารถใช้การปรับโครงสร้างหนี้ได้ หรือหากการเจรจาไม่ได้ข้อยุติจะนำเสนอคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรเฉพาะกิจ หรือรายงานคณะรัฐมนตรี หรือคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) นำสู่การแก้ไขปัญหาต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version