กรมศุลกากร ร่วมกับ ศรชล. จัดประชุมสัมมนา ศูนย์ประสานการปฏิบัติในการรักษาผลประโยชน์ทางทะเล (ศรชล.) ครั้งที่ 2 ประจำปี 2561

อังคาร ๐๘ พฤษภาคม ๒๐๑๘ ๑๔:๑๘
วันนี้ (วันจันทร์ที่ 7 พฤษภาคม 2561) เวลา 10.00 น. นายชัยยุทธ คำคุณ รองอธิบดี รักษาการที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบควบคุมทางศุลกากร และ พลเรือเอกพัลลภ ทองระอา ผู้แทนผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ร่วมกันเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการประชุมสัมมนา ศูนย์ประสานการปฏิบัติในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) ครั้งที่ 2 ประจำปีงบประมาณ 2561 ระหว่างวันที่ 7 - 9 พฤษภาคม 2561 ณ โรงแรมเคปราชา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี

โดยมีผู้เข้าร่วมงานดังกล่าวกว่า 50 ราย จาก 7 หน่วยงาน ได้แก่ กองทัพเรือ กรมเจ้าท่า กรมประมง กองบังคับการตำรวจน้ำ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และกรมศุลกากร

นายชัยยุทธ คำคุณ รองอธิบดี รักษาการที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบควบคุมทางศุลกากร กล่าวว่า โครงการประชุมสัมมนา ศูนย์ประสานการปฏิบัติในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.)

ในครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อเสริมสร้างศักยภาพและพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงานด้านการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลของผู้ปฏิบัติงานร่วมใน ศรชล. อีกทั้ง ยังเสริมสร้างความเข้าใจในการปฏิบัติหน้าที่ด้านการป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดทางศุลกากร ให้ผู้ปฏิบัติงานร่วมใน ศรชล. สามารถปฏิบัติตามขั้นตอนได้อย่างถูกต้อง และเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปฏิบัติงานร่วมใน ศรชล. สำหรับการประชุมใน ครั้งที่ 2 ปีงบประมาณ 2561 นี้ หน่วยงานใน ศรชล. และกรมศุลกากรได้ร่วมกำหนดหัวข้อในการประชุมสัมมนาภายใต้เรื่อง "การปฏิบัติหน้าที่ด้านการป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดทางศุลกากร ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560" และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานด้านศุลกากร ตลอดจนความรู้เกี่ยวกับ National Single Window (NSW) และความรู้เกี่ยวกับสินค้าที่ใช้ได้สองทาง (Dual Use Items) ซึ่งได้รับเกียรติบรรยายโดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง และวิทยากรจากกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีการลงพื้นที่เยี่ยมชมการปฏิบัติภารกิจของเจ้าหน้าที่ศุลกากร ณ สำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง เพื่อเป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานเพื่อการสืบสวนป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางศุลกากรให้แก่ผู้ปฏิบัติงานร่วมใน ศรชล. ซึ่งหัวข้อในการประชุมสัมมนาดังกล่าวฯ ถูกกำหนดขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับขอบเขตภารกิจในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลในการปฏิบัติหน้าที่ของ ศรชล.

นายชัยยุทธ คำคุณ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันสถานการณ์ภัยคุกคามในทะเลและที่มาจากทะเลสู่ฝั่ง มีการขยายรูปแบบและขอบเขตมากขึ้น โดยปัญหาที่สะท้อนถึงความรุนแรงของภัยคุกคามทางทะเล ได้แก่ ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ปัญหาแรงงานผิดกฎหมายในภาคการประมงและภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง ปัญหาการก่อการร้ายในทะเล ปัญหาการกระทำอันเป็นโจรสลัดและการปล้นในทะเล ปัญหาการลักลอบเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย ปัญหาการลักลอบขนสินค้าผิดกฎหมายและยาเสพติด ปัญหาอุบัติเหตุทางทะเล และภัยพิบัติทางธรรมชาติในทะเล ฯลฯ ปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ

ในทุกมิติ ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ภาครัฐจะต้องกำหนดกรอบและแนวทางดำเนินการในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลของไทยให้มีความชัดเจน และมีกลไกในการขับเคลื่อนทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติที่เข้มแข็งเพื่อให้การควบคุมและบังคับใช้กฎหมายในทะเลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทั้งนี้ ตามแผนความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล พ.ศ. 2558-2564 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบเมื่อ 21 ตุลาคม 2557 ได้กำหนดกรอบและแนวทางการดำเนินการในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลของไทย โดยกำหนดให้มีกลไกขับเคลื่อนระดับนโยบาย ได้แก่ คณะกรรมการนโยบายและอำนวยการรักษาผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล (นอปท.) และมีศูนย์ประสานการปฏิบัติในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) เป็นกลไกระดับปฏิบัติ ประกอบด้วยหน่วยงานจำนวน 6 หน่วยงาน ได้แก่ กองทัพเรือ กองบังคับการตำรวจน้ำ กรมประมง กรมเจ้าท่า กรมศุลกากร และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งศูนย์ประสานการปฏิบัติในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) ในฐานะกลไกขับเคลื่อนระดับปฏิบัติเพื่อการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลของไทย ได้จัดทำแผนปฏิบัติงานเพื่อกำหนดแนวทางการปฏิบัติงานร่วมระหว่างหน่วยงานทั้ง 6 หน่วยงาน โดยแผนปฏิบัติงานระดับนโยบายได้กำหนดให้จัดการประชุม ศรชล. ในแต่ละปีงบประมาณจำนวน 3 ครั้ง โดยการประชุม ศรชล. ครั้งที่ 2 ของแต่ละปีงบประมาณให้หน่วยงานใน ศรชล. หมุนเวียนผลัดเปลี่ยนเป็นเจ้าภาพ

ด้านพลเรือเอกพัลลภ ทองระอา ผู้แทนผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล กล่าวว่า ได้เห็นประโยชน์จากกิจกรรมและการสัมมนาของ ศรชล. ซึ่งมีผลต่อความมั่นคงทางทะเลของชาติ อีกทั้งยังคงเห็นความมุ่งมั่นอันแรงกล้า และความกล้าหาญของแต่ละหน่วยงานใน ศรชล. ที่ยอมสละความเป็นตัวตนของหน่วยงานมาร่วมกันปฏิบัติงานเพื่อส่วนรวม และจากการกำหนดหัวข้อการประชุมสัมมนาในครั้งนี้ เชื่อมั่นว่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปฏิบัติงานในทางทะเลของเจ้าหน้าที่และเป็นการรับรองความเป็นมืออาชีพของกำลังพลในการบังคับใช้กฎหมายต่อไปอันเป็นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับเตรียมความพร้อมในการยกระดับ ศรชล. เป็นศูนย์อำนวยการประสานการปฏิบัติในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลในเร็ววันนี้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version