เกษตรฯ เตือนชาวสวนระวังโรครากเน่าโคนเน่าทุเรียน เหตุฝนตกต่อเนื่อง

พุธ ๐๙ พฤษภาคม ๒๐๑๘ ๑๔:๒๑
นายประสงค์ ประไพตระกูล รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า จากการพยากรณ์อากาศของกรมอุตุนิยมวิทยาเรื่องการเกิดพายุฤดูร้อน ฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงในช่วงปลายเดือนเมษายน 2561

ทางกรมส่งเสริมการเกษตรได้เตือนภัย และให้คำแนะนำในการรับมือแก่เกษตรกรในพื้นที่เสี่ยงได้รับผลกระทบ รวมถึงวางแผนช่วยเหลือเกษตรกรหากเกิดกรณีประสบภัยพิบัติด้วย ทั้งนี้ กรมส่งเสริมการเกษตรจึงขอเตือนเกษตรกรชาวสวนทุเรียน ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในช่วงให้ผลผลิต ให้เฝ้าระวังโรครากเน่าโคนเน่าทุเรียน เนื่องจากสภาพอากาศมีความชื้นสูง ทุเรียนทุกระยะมีโอกาสเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อราได้ อันจะทำให้ต้นทุเรียนอ่อนแอ กระทบต่อปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดได้

รองอธิบดีฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า สาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้โรครากเน่าโคนเน่าทุเรียนระบาดเพิ่มขึ้น เนื่องจากทุเรียนมีราคาแพงเกษตรกรจึงไม่ตัดผลทุเรียนที่ไม่ได้ขนาดทิ้งและไว้ผลทุเรียนในต้นปริมาณมากเกินไป ทำให้ต้นทุเรียนโทรม เสี่ยงต่อการเข้าโจมตีจากโรคและแมลงศัตรูพืชได้ง่าย ซึ่งเชื้อราสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรครากเน่าโคนเน่าทุเรียน คือ เชื้อราไฟทอปธอรา พาล์มิโวรา (Phytophthora palmivora) สังเกตลักษณะอาการของต้นที่เกิดโรค

ใบจะไม่เป็นมันสดใส โดยใบค่อย ๆ เหลืองซีดและร่วง ใบอ่อนเหี่ยวเหลือง มีจุดแผลสีน้ำตาลอ่อนฉ่ำน้ำ เส้นใบมีสีน้ำตาลดำ บริเวณกิ่ง ลำต้น และโคนต้น มีสีของเปลือกเข้มคล้ายถูกน้ำเป็นวงหรือเป็นทางน้ำไหลลงด้านล่างหรือ

มีรอยแตกของแผล และมีน้ำเยิ้มออกมาในช่วงเช้า เมื่อถากเปลือกจะพบว่าเปลือกเน่า เนื้อไม้เป็นสีน้ำตาล ส่วนที่เน่ามีกลิ่นหืน แผลเน่าจะลุกลามรวดเร็ว ต้นที่เป็นโรครุนแรงจะมีน้ำยางไหลออกมาโดยเฉพาะในช่วงเวลาเช้าที่มีอากาศชุ่มชื้น เมื่อขุดดูที่รากฝอยจะมีลักษณะเปื่อยยุ่ย มีสีน้ำตาล และหลุดง่าย กรณีอาการของโรครุนแรงจะเน่าลามไปยังรากแขนงและโคนต้น ทำให้ต้นโทรมและยืนต้นตาย

วิธีป้องกันกำจัดกรณีโรคเข้าทำลายไม่รุนแรง ให้ตัดแต่งส่วนที่เป็นโรคไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก และใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า ฮาร์เซียนั่ม (Trichoderma harzianum) ผสมกับรำข้าวและปุ๋ยหมัก ในอัตราเชื้อรา 1 กิโลกรัม รำข้าว 4 กิโลกรัม และปุ๋ยหมัก 100 กิโลกรัม คลุกเคล้าให้เข้ากัน นำไปโรยรอบโคนต้น ในอัตรา 10-20 กรัมต่อต้น แต่หากโรคเข้าทำลายรุนแรง ให้ถากหรือขูดผิวเปลือกที่เป็นโรคออก แล้วทาแผลด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช

ชนิดใดชนิดหนึ่ง ได้แก่ ฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 80-100 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร เมทาแลกซิล 25% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 50-60 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร หรือเมทาแลกซิล+แมนโคเซบ 65% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร โดยทาแผลทุก 7 วัน จนกว่าแผลจะแห้ง หากพบใบเหลืองทั้งต้น ให้ราดโคนต้นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชชนิดใดชนิดหนึ่ง ได้แก่ ฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือเมทาแลกซิล 25% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร โดยร่วมกับการใช้ฟอสโฟนิก แอซิด 40% เอสแอล ผสมน้ำสะอาด อัตรา 1:1 ใส่กระบอกฉีดยาแล้วฉีดเข้าลำต้น ส่วนต้นทุเรียนที่เป็นโรครุนแรงมากหรือยืนต้นแห้งตาย ให้ขุดออกแล้วนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก จากนั้นให้ใส่ปูนขาวและตากดินไว้ระยะหนึ่งแล้วปลูกใหม่ทดแทน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑:๕๙ บริษัท ไทยเซ็นทรัลเคมี จำกัด (มหาชน) จัดงานการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 ครั้งที่ 53
๑๑:๒๗ TSE ติดปีก! เตรียมรับทรัพย์ขายหุ้นบ.ร่วมค้า TSR 60% มูลค่า 1.79 พันลบ. ผถห.ไฟเขียวเพิ่มทุนขาย PP 211.77
๑๑:๓๒ สงกรานต์นี้ ร่วมฉลองไปกับ One Bangkok, One Lagoon Splashing Songkran Rhythms ที่สุดของความสนุก สดชื่น
๑๑:๓๕ Xbox เตรียมจัดงาน Xbox Games Showcase พร้อมเผยอัปเดตล่าสุดจาก The Outer Worlds 2
๑๑:๐๐ '137 ดีกรี(R)' เอาใจคนรักสุขภาพเปิดตัว นมอัลมอนด์โปรตีนสูง 11 กรัม พร้อมดึง 'ชมพู่ อารยา' เป็นพรีเซนเตอร์ปีที่สอง
๑๐:๑๕ ผถห.TFG อนุมัติจ่ายเงินปันผล 0.225 บ./หุ้น รับทรัพย์ 24 เม.ย.นี้ ปักธงรายได้ปี 68 เติบโต 10-15%
๑๐:๕๙ รพ.จุฬาฯ ปลื้ม ยอดใช้งานแอป CheckPD ทะลุ 50% ชูวาระวันพาร์กินสันโลก ย้ำให้ผู้คนตระหนักรู้จักโรคพาร์กินสัน
๑๐:๐๗ ภูเขาฟ่านจิ้งซาน: สวรรค์บนยอดเขาที่นักเดินทางห้ามพลาด
๑๐:๐๐ เสริมเกราะป้องกันภัยในครอบครัว มูลนิธิศุภนิมิตฯ เปิดพื้นที่กระชับสัมพันธ์พ่อแม่-ลูก ผ่านหลักสูตรครอบครัวสุขสันต์
๑๐:๔๗ จุดเปลี่ยนนโยบายภาษีสหรัฐฯ: ภาษีทรัมป์ เขย่าโลก จับทิศทางการค้าและการปรับตัวของคริปโตในไทย