นับตั้งแต่มีการนำเทคโนโลยีด้านการตรวจสอบ และควบคุมการเข้าพื้นที่ถูกนำมาติดตั้ง เพื่อใช้งานในโครงการ "Connected Censervation" ในบริเวณอุทยานแห่งชาติ เขตสงวนการล่าสัตว์ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2558 ปรากฎว่า สามารถลดอุบัติการณ์การถูกไล่ล่า และฆ่าแรดป่าในเขตอุทยานลงได้มากถึง 96% จนกระทั่งในปีที่ผ่านมา มีรายงานที่น่ายินดีว่า ไม่มีปรากฎเหตุการณ์ไล่ล่าแรดในเขตสงวนการล่าสัตว์อีกเลย
ทุกๆ วัน ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า ไม่ว่าจะเป็น ชาวบ้าน นักท่องเที่ยว หน่วยงานด้านการดูแลความปลอดภัย บุคคลอาสาที่ทำงาน เดินทางเข้าออกในเขตป่าสงวน และอุทยานแห่งชาติที่มีอยู่หลายแห่งทั่วโลก กิจกรรมที่แตกต่างและหลากหลายของบรรดามนุษย์ภายใต้ระบบนิเวศน์อันแสนสมบูรณ์ของป่า มักจะไม่ค่อยได้ถูกสำรวจตรวจตรา เพราะในบางครั้งพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติอยู่ในที่ห่างไกลและค่อนข้างทุรกันดารเกินกว่าที่ความทันสมัยไฮเทคของอุปกรณ์แห่งโลกเทคโนโลยีสารสนเทศจะเข้าไปได้ถึง และเช่นเดียวกันการตรวจสอบและควบคุมก็เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก ไม่ต่างจากการสื่อสารในพื้นที่เหล่านั้นที่ทำได้อย่างจำกัด
"หลายองค์กรได้ปฏิญาณตนเพื่อที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการร่วมปกป้องสัตว์ป่า ผ่านกิจกรรมสร้างสรรค์หลายโครงการ อย่างเช่น การป้องกันการล่าแรดเพื่อชิงเอานอไปขาย ด้วยการติดเซนเซอร์ไว้ที่ภายในนอแรด บริเวณใต้ชั้นผิวหนัง นี่เป็นโครงการที่เราทำ" บรูซ วัตสัน ผู้บริหารของบริษัทไดเมนชั่น ดาต้า กล่าว พร้อมกับบอกว่า "อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่เราพบคือ เมื่อถึงตอนที่ผู้พิทักษ์ป่าได้รับสัญญาณเตือนว่ามีบางสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นกับแรดตัวนั้น และรีบไปให้ถึงตัว ก็ปรากฎว่ามันถูกฆ่าไปแล้ว และ นอแรดหรืองาช้างก็ถูกตัดไปเสียแล้ว"
ด้วยกลไกทำงานของโครงการ "Connected Conservation" เทคโนโลยีได้ถูกออกแบบให้ตอบสนองอย่างทันท่วงทีและสามารถปกป้องสัตว์ป่าจากมนุษย์ที่รุกรานได้ โดยสัตว์ป่าจะไม่ถูกแตะต้อง และจะใช้ชีวิตอยู่ในผืนป่าได้อย่างเสรี ในขณะเดียวกัน ระบบของเทคโนโลยีที่ถูกวางไว้เป็นโครงข่ายจะเป็นเครื่องมือที่ใช้ปกป้องชีวิตของสัตว์เหล่านั้น"
ซิสโก้ และไดเมนชั่น ดาต้า ตั้งปณิธานที่จะวางระบบโซลูชั่นแบบเดียวกันนี้ ที่แอฟริกาใต้ และทั่วทวีปแอฟริกา รวมถึงอีกหลายพื้นที่ทั่วโลก เพื่อจะปกป้องสัตว์อีกมากมายที่กำลังตกอยู่ในสภาวะใกล้สูญพันธุ์ ทั้งสิงโต ตัวนิ่ม ช้าง เสือโคร่งอินเดีย และเสือโคร่งสายพันธุ์อื่นในเอเชีย รวมทั้งฉลาม กับกระเบนในมหาสมุทร และโครงการต่อไปที่กำลังดำเนินงานอยู่ในแผนการณ์เป็นพื้นที่อุทยานแห่งชาติที่ยังไม่ระบุชื่อในแซมเบีย ตามมาด้วย เคนย่า และรวมถึงสาธารณรัฐโมซัมบิค โดยเป้าหมายในการทำงานคือการปกป้องช้างแอฟริกัน
จากข้อมูลของโครงการ The Great Elephant Cencus ที่ดูแลโดยบริษัท Vulcan Inc. ในซีแอทเทิล โดยการสนับสนุนของผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทไมโครซอฟท์ผู้ใจบุญอย่าง พอล จี อัลเลน และเครือข่ายองค์กรผู้คิดริเริ่มอีกหลายแห่ง ข้อมูลที่สำรวจล่าสุดพบว่าช้างแอฟริกันสะวันนามีจำนวนลดลงถึง 30%ระหว่างปี 2007-2014 ซึ่งคิดเป็นจำนวนช้างที่สูญเสียไปมากกว่า 144,000 เชือก และอัตราการลดจำนวนลงของช้างในปัจจุบันอยู่ที่ 8% ต่อปี สาเหตุหลักมาจากการล่าสัตว์ ทั้งนี้ ในแซมเบีย หลงเหลือช้างอยู่เพียง 21,758 เชือก มีการพบซากของช้างกว่า 85% ของช้างที่ตายไปในเขตอุทยานแห่งชาติ Siomi Ngwezi ส่วนอีก 3% พบในแซมเบีย รวมทั้งปริมาณช้างป่าที่เคยอาศัยอยู่บริเวณแม่น้ำแซมเบซีก็ลดลงอย่างต่อเนื่องเช่นกัน
**โครงการ The Great Elephant Cencus เป็นความร่วมมือระหว่างผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทไมโครซอฟท์ พอล จี อัลเลน และ Vulcan Inc. และโครงการ Elephant Without Borders , African Parks the Frankfurt Zoological Society, the Wildlife Conservation Society, the Nature Conservancy, the IUCN African Elephant Specialist Group, และ Save the Elephants
จากงานวิจัย พบว่าพรานล่าสัตว์ที่ผิดกฎหมายจำนวนระหว่าง 4,000-6,000 คนมาจากครอบครัวที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตสงวนการล่าสัตว์ หรือ Game Management Areas ในจำนวนนี้รวมถึงชาวประมงที่ลักลอบจับปลาด้วย
หน่วยควบคุมสัตว์น้ำพิเศษในแซมเบียถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อตรวจสอบความเป็นไปโดยรอบทะเลสาบและรอบอุทยานแห่งชาติ และหน่วยผู้พิทักษ์โดยเรือยนต์จะออกสำรวจพื้นที่เพื่อช่วยเหลือในการตรวจสอบพื้นที่ให้แน่ชัดก่อนที่พรานป่าจะเข้าประชิดตัวและทำอันตรายกับสัตว์
อุปกรณ์ที่ถูกนำมาใช้ปฎิบัติงานในแซมเบีย ได้แก่
- กล้องจับอุณหภูมิซึ่งจะติดตั้งไว้กับเสาส่งสัญญาณวิทยุที่สามารถสร้างกำแพงเสมือนในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติ กล้องดังกล่าวจะทำหน้าที่สแกนเพื่อตรวจสอบการเข้าออกจากเขตประตูอุทยาน โดยกล้องตัวนี้จะถูกควบคุมโดยผู้ดำเนินการในห้องควบคุมหลัก
- กล้องวงจรปิด CCTV ที่จะสร้างเส้นแบ่งอาณาเขตแบบเสมือนเพื่อตรวจสอบการรุกรานพื้นที่ในแม่น้ำของชาวประมงที่ใช้เรือเข้ามาจับปลาในเขตอนุรักษ์ และเจ้าหน้าที่รัฐของกรมอุทยานจะสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์และตรวจสอบการเคลื่อนไหวของเรือที่เข้ามา รวมถึงส่งสัญญาณเตือนไปยังผู้รักษาความปลอดภัยในกรณีที่แม่น้ำถูกรุกล้ำในยามวิกาลที่ไม่มีผู้เฝ้าสังเกตการณ์
- สัญญาณไวไฟที่ติดตั้งอยู่บนเสาสัญญาณวิทยุ ทำให้อุปกรณ์สื่อสาร และกล้องจับอุณหภูมิเชื่อมต่อและทำงานได้อย่างไม่มีสะดุด และกลุ่มผู้พิทักษ์ รวมทั้งผู้รักษาความปลอดภัย สามารถตรวจสอบภาพ และแชร์รายงานถึงกันได้ง่ายขึ้น โดยไม่ต้องผ่านบทสนทนาโดยคลื่นวิทยุซึ่งกลุ่มผู้ลักลอบฆ่าสัตว์จะสามารถจับสัญญาณได้และไหวตัวทัน
"เราทำงานร่วมกับหน่วยงานรัฐของประเทศแซมเบีย และกลุ่มชาวประมงเพื่อวางระบบศูนย์กลางจัดการตรวจสอบการล่วงล้ำเขตห้ามทำประมงด้วยระบบดิจิทัล โดยทำหน้าที่ตรวจสอบกรณีกลุ่มผู้ลักลอบจับปลาผิดกฎหมายเข้าพื้นที่" วัตสันกล่าว
คาเรน วอล์กเกอร์ รองประธานอาวุโส และผู้บริหารระดับสูงฝ่ายการตลาด บริษัท ซิสโก้ กล่าวว่า "เทคโนโลยีทำให้เรามีโอกาสและมีความสามารถในการปรับเปลี่ยนโลกได้มากอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ไม่ใช่เรื่องของวันพรุ่งนี้ หรือเมื่อวาน แต่เรากำลังพูดถึง ณ ขณะปัจจุบัน ซิสโก้เองปฏิญาณตนที่จะสร้างความแตกต่างด้วยการเชื่อมต่อโลกใบนี้ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย และสามารถปกป้องสัตว์ป่าหายากให้อยู่รอด
การทำงานอย่างใกล้ชิดร่วมกับไดเมนชั่น ดาต้า เราได้วางระบบความปลอดภัย มีมาตรฐานที่ทำงานตลอด 24 ชั่วโมง ครอบคลุมพื้นที่เขตปลอดการล่าสัตว์ทั่วทั้งประเทศแอฟริกาใต้ และทวีปแอฟริกา เรามีความภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการขยายขอบเขตการทำงานร่วมกับหน่วยงานด้านการอนุรักษ์สู่พื้นที่ทวีปแอฟริกา เพื่อปกป้องสัตว์ป่าที่กำลังตกอยู่ในสภาวะใกล้สูญพันธุ์"
วัตสันยังกล่าวเสริมว่า "การร่วมมือกันกับซิสโก้ เป้าหมายของเราคือการกำจัดขบวนการลักลอบฆ่าสัตว์ที่ผิดกฎหมายให้ได้ครอบคลุมทุกพื้นที่ในโลก โดยอาศัยการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่จะช่วยปกป้องทุกชีวิตที่มีคุณค่าในอีกหลายประเทศ"
เกี่ยวกับซิสโก้
ซิสโก้ เป็นหนึ่งในบริษัทผู้นำด้านเทคโนโลยีในระดับโลกที่เป็นผู้ขับเคลื่อนให้เกิดระบบอินเทอร์เนตในปี ค.ศ.1984 ด้วย 3 กลไกหลังในการทำงาน คน สินค้า และความร่วมมือ เป็นพลังที่ช่วยผลักดันห้เกิดการเชื่อมต่อกันอย่างปลอดภัยในระบบสังคม รวมถึงยังคงมองไปข้างหน้าเพื่อสร้างโอกาสแห่งโลกยุคดิจิทัลทจากปัจจุบัน ข้อมูลเพิ่มเติมของซิสโก้ สามารถค้นหาได้ที่ thenetwork.cisco.com และที่ทวิตเตอร์ @Cisco.
เกี่ยวกับ ไดเมนชั่น ดาต้า
บริษัทไดเมนชั่น ดาต้า ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ.1983 ปัจจุบันบริษัทมีมูลค่ากว่า 8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในธุรกิจที่ขยายขอบเขตไปทั่วโลก ทั้งในเรื่องของการออกแบบ วางระบบและบริหารจัดการเทคโนโลยีให้เท่าทันกับระบบนิเวศน์อันทันสมัยในยุคปัจจุบัน ไดเมนชั่น ดาต้า ทำงานร่วมกับลูกค้าเพื่อสร้างขุมพลังด้านข้อมูลในยุคดิจิทัล โดยเปลี่ยนผ่านข้อมูลต่างๆ สู่การใช้งานในเชิงลึกอย่างมีประสิทธิภาพสำหรับองค์กร
ไดเมนชั่น ดาต้า มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในนคร โยฮันเนสเบิร์ก ประเทศแอฟริกาใต้ บริษัทมีพนักงานกว่า 28,000 คนกระจายกำลังกันใน 46 ประเทศ ด้วยพันธกิจในการส่งมอบเทคโนโลยีที่ดีที่สุด และเดินหน้าคู่เคียงกับลูกค้าสู่ความเป็นผู้นำในตลาด รวมทั้งผู้สร้างสรรค์นวัตกรรม นอกจากนั้นยังมีบริการดูแลลูกค้าสำหรับธุรกิจ ตั้งแต่การให้คำปรึกษา และคำแนะนำด้านเทคนิค รวมทั้งมีบริการด้านการบริหารจัดการที่ครบวงจร บริษัท ไดเมนชั่น ดาต้า ยังเป็นสมาชิกของกลุ่มธุรกิจ NTT Group อีกด้วย
ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสืบค้นได้ที่ https://www2.dimensiondata.com/