1. กระทรวงพลังงาน ยืนยันสนับสนุนไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเป็น Priority แรกๆ แต่จะเปลี่ยนการสนับสนุนเป็นการรับซื้อไฟฟ้าเฉพาะโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนที่ราคาขายต่ำกว่า หรือ เท่ากับ Grid Parity และต้องเป็นประเภท Firm โดยจะรับซื้อไม่จำกัด เพื่อไม่ให้เป็นภาระค่าไฟฟ้าแก่ประชาชน ทั้งนี้ นโยบายดังกล่าวนี้จะไม่รวมถึงโรงไฟฟ้าจากขยะ
2. สำหรับราคาที่ปรากฏในข่าวก่อนหน้านี้ 2.44 บาทต่อหน่วย เป็นราคาเฉลี่ยจากการประมูล SPP Hybrid ในครั้งล่าสุด
3. กรณีโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนที่ทำข้อตกลงรับซื้อไฟฟ้าแล้ว กระทรวงพลังงานจะไม่มีการยกเลิกสัญญา แต่จะไม่มีการรับซื้อไฟฟ้าเพิ่มตามรูปแบบเดิมแล้ว
4. ในส่วนของโรงไฟฟ้า SPP ชีวมวลที่ได้รับผลกระทบ กระทรวงพลังงานจะเข้าไปตรวจสอบปัญหาเป็นรายๆ ไป ซึ่งหากพบปัญหาจะช่วยหามาตรการช่วยเหลือต่อไป
5. กระทรวงพลังงานจะสนับสนุน Floating solar ในอ่างเก็บน้ำของเขื่อน ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงในการผลิตไฟฟ้า โดยยินดีทำงานร่วมกับสมาชิก ส.อ.ท. ที่มีเทคโนโลยีด้านนี้
6. ประเทศไทยมีความจำเป็นต้องเพิ่มสัดส่วนการใช้ถ่านหินมาผลิตไฟฟ้าให้มากขึ้น เพื่อช่วยสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้แก่ประเทศ แต่ปัจจุบันโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาดใหญ่ยังติดปัญหาเรื่องพื้นที่ที่เหมาะสม ซึ่ง ส.อ.ท. สามารถช่วยเสนอพื้นที่ที่เหมาะสมได้
7. ขอให้ ส.อ.ท. ช่วยสนับสนุนการสร้างอุตสาหกรรมใหม่ภายในประเทศ (ใช้พลังงานสร้างอุตสาหกรรมใหม่) เช่น Energy storage , แบตเตอรี่ Li-ion หรือ Inverter ที่จะเป็นพื้นฐานการผลิตรถไฟฟ้า การส่งเสริมให้เกิดเทคโนโลยีใหม่ๆ ในประเทศ การใช้ Local Content (ชิ้นส่วน/อุปกรณ์/เครื่องจักร) ที่ผลิตในไทย รวมทั้งสนับสนุนโครงการรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า (eTukTuk) โดยหากมีประเด็นที่ต้องการให้กระทรวงพลังงานสนับสนุน สามารถรวบรวมนำเสนอได้
8. ขอให้ ส.อ.ท. ช่วยสนับสนุนให้ผู้ประกอบการใช้น้ำมันไบโอดีเซล B20 สำหรับรถบรรทุกขนาดใหญ่เพื่อการขนส่ง เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาน้ำมันปาล์มล้นตลาด
ทั้งนี้ ประธาน ส.อ.ท. เน้นย้ำขอให้กระทรวงพลังงานพิจารณาการดำเนินนโยบายต่างๆ อย่างค่อยเป็นค่อยไป และให้เวลาแก่ผู้ประกอบการได้ปรับตัว เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบรุนแรงต่ออุตสาหกรรมพลังงานทดแทน นอกจากนี้ ยังเห็นด้วยที่จะกระทรวงพลังงานจะรักษาต้นทุนไฟฟ้าไม่ให้กระทบต่อประชาชน และการสนับสนุนให้เกิดอุตสาหกรรมใหม่
นอกจากนี้ทาง สอท. อยากให้ทางกระทรวงพลังงานดูแลการรับซื้อหรือพัฒนาโครงการพลังงานหมุนเวียนทุกครั้ง จะต้องปฏิบัติด้วยความโปร่งใสและเป็นธรรมโดยให้ผู้พัฒนาทั้งภาครัฐและเอกชนแข่งขันกันอย่างเป็นธรรมภายใต้กติกาที่เท่าเทียมกัน
ที่สำคัญ ทาง สอท. เห็นด้วยอย่างยิ่งกับแนวทางที่จะรับซื้อพลังงานทดแทนจะต้องไม่เป็นภาระกับผู้ใช้ไฟฟ้า แต่เนื่องจากราคาไฟฟ้าที่ขายให้ผู้ใช้ไฟฟ้า มีตั้งแต่ 2.5- 5 บาทต่อหน่วย การกำหนดราคาที่จะไม่เป็นภาระต่อผู้ใช้ไฟฟ้าต้องมีความชัดเจนและโปร่งใส ซึ่งทาง สอท คงจะต้องติดตามต่อว่าฝ่ายปฏิบัติการจะนำนโยบายที่รับซื้อพลังงานหมุนเวียนไม่จำกัดโดยไม่เป็นภาระกับผู้ใช้ไฟฟ้า จะมีระเบียบมารองรับนโยบายได้อย่างเป็นรูปธรรมหรือไม่ โดยไม่อยากให้นโยบายดีๆไม่ถูกนำมาปฏิบัติ ตัวอย่างเช่น โครงการโซล่าร์เสรี ที่มีการประกาศมานานกว่า 1 ปี แต่จนบัดนี้ยังไม่มีความคืบหน้าที่นำมาสู่การปฎิบัติ