ศูนย์วิจัยตลาดเติบโตสูงของ PwC ประเมินอนาคตอาเซียนยังมีความท้าทายรออยู่

จันทร์ ๑๔ พฤษภาคม ๒๐๑๘ ๑๔:๐๒
ศูนย์วิจัยตลาดเติบโตสูงของ PwC เปิดเผยรายงานฉบับล่าสุดประจำปี 2561 ในหัวข้อ 'The Future of ASEAN – Time to Act' โดยนำเสนอมุมมองต่อนโยบายที่รัฐบาลในกลุ่มประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน (The Association of Southeast Asian Nations: ASEAN) ควรต้องพิจารณา เพื่อให้มั่นใจได้ว่า ภูมิภาคนี้จะสามารถดึงดูดเม็ดเงินลงทุนได้อย่างต่อเนื่อง และมีกลยุทธ์สำหรับการเติบโตในอนาคตซึ่งครอบคลุม 7 กลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมบริการทางการเงิน อุตสาหกรรมสินค้าผู้บริโภค อุตสาหกรรมอุปกรณ์ทางการแพทย์ อุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิง อุตสาหกรรมสื่อสารโทรคมนาคม และอุตสาหกรรมขนส่ง

อาเซียนเติบโตอย่างมีเอกลักษณ์

กลุ่มประเทศสมาชิกของอาเซียน ประกอบด้วย บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม เพิ่งเฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปีของการก่อตั้งไปเมื่อปี 2560 ที่ผ่านมา ซึ่งถือว่าเป็นความสำเร็จของการรวมตัวครั้งสำคัญของอาเซียนที่ครั้งหนึ่ง ความขัดแย้ง และความยากจน เคยเป็นคุณลักษณะที่ใช้อธิบายภูมิภาคนี้ในช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20 มาถึงวันนี้ ไม่เพียงแต่อาเซียนจะมีจำนวนประเทศสมาชิกเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวหลังจากวันที่ก่อตั้ง แต่ยังสามารถผ่านพ้นวิกฤตการณ์การเงินในเอเชียปี 2540 หรือ วิกฤตต้มยำกุ้ง และวิกฤตเศรษฐกิจโลกในปี 2551-2552 มาได้ จนกลายเป็นกลุ่มประเทศเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลกอยู่ปัจจุบัน ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา อาเซียนยังได้สร้างความสมดุลระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากร ส่งผลให้ประชากรหลายล้านคนทั่วทั้งภูมิภาค หลุดพ้นจากความยากจน

อย่างไรก็ดี ปัญหาการชะลอตัวทางเศรษฐกิจในระยะสั้น ผลิตภาพแรงงานที่อ่อนแอ การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ การพึ่งพาการค้าภายจากภายนอกที่มากเกินไป และจุดบอดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำคัญๆ และการขาดตัวกลางที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจในระดับประเทศที่เพียงพอ ยังคงเป็นคำถามสำคัญที่ท้าทายการเติบโตอย่างยั่งยืนของอาเซียนในอนาคต

ถึงเวลาลงมือปฏิบัติเพื่อการเติบโต

ทั้งนี้ รายงาน 'The Future of ASEAN – Time to Act' ได้นำเสนอมุมมองเกี่ยวกับการพัฒนาภูมิภาคอาเซียนให้หลุดพ้นจากการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างเชื่องช้า รวมทั้งการเพิ่มมาตรการเชิงรุกเพื่อดึงดูดการลงทุน พัฒนาสถาบันการเงิน รวมทั้งบุคลากร และขีดความสามารถด้านเทคโนโลยี โดยยังชี้ว่า ภาคเอกชนจะมีบทบาทสำคัญต่อการสร้างความแข็งแกร่งให้กับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคในระยะต่อไป แต่นั่นแปลว่า ภาคเอกชนจะต้องทำงานใกล้ชิดกับภาครัฐเพื่อพัฒนาและกำหนดเงื่อนไขที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจให้มากขึ้น นอกเหนือจากการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป

เมื่อมองไปข้างหน้า เราเห็นโอกาสการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญของภาคเอกชนในหลายกลุ่มอุตสาหกรรมในอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมบริการทางการเงิน อุตสาหกรรมสินค้าผู้บริโภค อุตสาหกรรมอุปกรณ์ทางการแพทย์ อุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิง อุตสาหกรรมสื่อสารโทรคมนาคม และอุตสาหกรรมขนส่ง อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบธุรกิจเหล่านี้จะต้องนำกลยุทธ์ทางด้านนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ควบคู่ไปกับการดำเนินงานเพื่อให้ประสบความสำเร็จ และเพื่อรับมือกับพลวัตการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายต่างๆ อีกทั้ง ตอบสนองกับความต้องการของผู้บริโภคในภูมิภาค

กลยุทธ์ใหม่เหล่านี้อาจถูกจัดให้อยู่ใน 3 หมวดหมู่ ได้แก่

1. การปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารให้เป็นแบบท้องถิ่น: การเปลี่ยนแปลงวิธีการไปสู่ระดับท้องถิ่นมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การจัดหาแหล่งผลิต และการจัดจำหน่าย ผ่านการพัฒนาให้อาเซียนเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคในการปรับเปลี่ยนรูปแบบผลิตภัณฑ์และการบริการให้เหมาะสมกับความต้องการของตลาดและผู้บริโภคอย่างแท้จริง (เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมอุปกรณ์ทางการแพทย์)

2. การเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ดิจิทัล: การนำความสามารถทางด้านดิจิทัลมาใช้ปรับปรุงกระบวนการผลิต การขนส่งสินค้าและบริการ รวมถึง การสื่อสารกับผู้บริโภคและกลุ่มธุรกิจ (เช่น อุตสาหกรรมบริการทางการเงิน อุตสาหกรรมสินค้าผู้บริโภค และอุตสาหกรรมสื่อสารโทรคมนาคม)

3. การมีหุ้นส่วนและพันธมิตรทางธุรกิจ: การพัฒนาความร่วมมือทางธุรกิจ ผ่านการมีหุ้นส่วน หรือจับมือเป็นพันธมิตรกับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอื่น และ ผู้ประกอบการที่กำลังเข้ามาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรม (เช่น ฟินเทค) เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง และ รักษาขีดความสามารถในการแข่งขัน รวมทั้งยังสามารถตอบสนองความคาดหวังของผู้บริโภคได้ในระดับที่ธุรกิจจะมีกำไร (เช่น อุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิง และอุตสาหกรรมขนส่ง)

นาย เดวิด วิเจอร์ราตน่า หุ้นส่วน และ หัวหน้าฝ่ายงานศูนย์วิจัยตลาดเติบโตสูง บริษัท PwC ประเทศสิงคโปร์ กล่าวว่า

"เป็นที่น่าภาคภูมิใจว่า อาเซียนประสบกับความสำเร็จมากมายในช่วงระยะเวลา 50 ปีที่ผ่านมา แต่ตอนนี้หมดเวลาของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจแบบเชื่องช้าแล้ว เศรษฐกิจโลกกำลังต้องการให้อาเซียนเข้ามาช่วยเติมเต็มศักยภาพ และคว้าโอกาสของการเติบโตในอนาคต ถึงเวลาแล้ว ที่ทุกฝ่ายจะต้องลงมือปฏิบัติ"

นาย ศิระ อินทรกำธรชัย ประธานกรรมการบริหาร และ หุ้นส่วน บริษัท PwC ประเทศไทย กล่าวถึงอาเซียนในรายงานฉบับนี้ว่า

"ภูมิภาคอาเซียนได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกหลายประการในช่วงที่ผ่านมา แต่ความแตกต่างยังคงมีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นระดับคุณภาพชีวิต โครงสร้างพื้นฐาน และความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศสมาชิก สำหรับประเทศไทย ที่กำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และมีอัตราค่าแรงที่เพิ่มสูงขึ้นนั้น ทำให้เวลานี้ไทยต้องหันมาให้ความสำคัญกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่จะเพิ่มคุณค่าให้กับระบบเศรษฐกิจได้มากขึ้น รวมถึงหามาตรการเพิ่มเติมในการส่งเสริมการค้าระหว่างสมาชิกอาเซียนให้มีมากขึ้นตามลำดับ"

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version