มรภ.สงขลา เร่งพัฒนาไอที พร้อมก้าวสู่มหา’ลัยดิจิตอลเต็มรูปแบบ

อังคาร ๑๕ พฤษภาคม ๒๐๑๘ ๑๖:๒๘
สำนักวิทยบริการฯ มรภ.สงขลา ลุยพัฒนาเทคโนโลยีเต็มรูปแบบ เตรียมพร้อมก้าวสู่ E-University ดึงอาจารย์ เจ้าหน้าที่ เข้ารับความรู้ พร้อมปั้นนักศึกษาแกนนำไอทีช่วยให้เข้าถึงข้อมูล เล็งเปิดคอร์สสั้นๆ ให้คนในชุมชนมีลู่ทางทำกิน

ผศ.ดร.อำนาจ ทองขาว ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยถึงการเปลี่ยนแปลงสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล หรือ E-University ว่า ปัจจุบันเป็นยุคของการแข่งขันในระดับมหาวิทยาลัย นอกจากจะแข่งขันภายในและภายนอกประเทศแล้ว ยังต้องแข่งขันกับตัวเองอีก สิ่งสำคัญที่เข้ามามีบทบาทอย่างมากคือเทคโนโลยี (Technologies) มรภ.สงขลา จึงต้องปรับตัวอย่างมากเพื่อจะเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัลเต็มรูปแบบ ตามแผนพัฒนาภายใน 5 ปี ซึ่งในปีนี้เป็นปีแรกที่ได้เริ่มโครงการต่างๆ อาทิโครงการปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐานระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและเครือข่ายไร้สาย พร้อมทั้งติดตั้งอุปกรณ์กระจายสัญญาณไร้สายหรือไวไฟ จำนวน 415 ชุดในห้องเรียน ห้องประชุม ใต้ถุนอาคาร จุดนั่งพัก และลานอเนกประสงค์ เพื่อให้นักศึกษาสามารถนั่งค้นคว้าข้อมูล ทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อการสื่อสาร การทำธุรกิจ ธุรกรรม การเรียนการสอนต่างๆ โดยมีจุดกระจายสัญญาณไวไฟครอบคลุมทั่วมหาวิทยาลัย

ผศ.ดร.อำนาจ กล่าวว่า นอกจากนั้น ยังมีโครงการการเรียนการสอนแบบ Smart Classroom เพื่อให้อาจารย์ได้ใช้เทคโนโลยีทันสมัยในห้องเรียน สามารถสอนแบบ Active leaning ได้ โดยมี Tools และแอพพลิเคชั่นต่างๆ มากมายให้นักศึกษาโต้ตอบกับอาจารย์ผู้สอน ซึ่งนักศึกษาสามารถใช้ Mobile Device หรือแท็บเล็ตสำหรับทำกิจกรรมในห้องเรียนกับผู้สอนได้ ทำให้รูปแบบการเรียนการสอนเปลี่ยนไปจากเดิม นอกจากนี้ ในห้องเรียน (Classroom) ก็สามารถบันทึกการสอนของอาจารย์ เพื่อทำเป็นบทเรียนในรูปแบบของ MOOC ได้อีกด้วย โครงการ SKRU Portal On-Mobile ซึ่งเป็นแอพพลิเคชั่นใหม่ที่ทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของมหาวิทยาลัยได้โดยผ่าน Mobile Device ทุกข้อมูลสามารถเข้าถึงได้ผ่าน SKRU Portal ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ซึ่งถือว่าเป็นแอพที่จำเป็นและสำคัญมากในปัจจุบัน โครงการ E- University Help Desk เป็นโครงการให้นักศึกษาแกนนำทางด้านไอทีมาช่วยให้ความรู้เกี่ยวกับ Digital literacy และช่วยผลักดันการใช้งานเทคโนโลยีทุกอย่างในมหาวิทยาลัยให้ง่ายต่อการใช้งาน โดยนักศึกษากลุ่มนี้จะช่วยเหลือทางด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์ การเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ให้แก่อาจารย์ บุคลากร นักศึกษา ตลอดทั้งปี ถือเป็นการ Digital Transformไปสู่ E-University อย่างเต็มรูปแบบ

ไม่เพียงเท่านั้น สำนักวิทยบริการฯ ยังพัฒนาซอฟแวร์เพื่อเติมเต็มระบบ MIS จากเดิมที่ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เช่น ระบบเงินเดือน ระบบ E-MOU ระบบ E-Meeting รวมถึงร่วมกับสำนักศิลปะและวัฒนธรรม จัดทำโครงการฐานข้อมูลทางวัฒนธรรม เพื่อร่วมกันเผยแพร่และอนุรักษ์วัฒนธรรมต่างๆ ของภาคใต้ให้อยู่ในรูปแบบของ Digital Contents สามารถรองรับการเข้าถึงจากอุปกรณ์ประเภทสมาร์ทโฟนได้มากขึ้น เป็นการผนวกกันระหว่างเทคโนโลยีกับวัฒนธรรม หรือแม้แต่โครงการฐานข้อมูลตามพระราโชบาย และโครงการตามพระราชดำริ เพื่อเผยแพร่ศูนย์ข้อมูลโครงการบริการวิชาการและงานตามโครงการพระราชดำริให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล สำหรับเป็นแหล่งเรียนรู้ผ่านสื่อในรูปแบบต่างๆ และเป็นบทเรียนที่น่าศึกษาของนักเรียน นักศึกษา และบุคลากรทั่วไป ได้เห็นถึงวิถีชีวิตการประกอบอาชีพการศึกษา นำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิต

ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการฯ กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมามีการจัดโครงการอบรมต่างๆ เช่น MOOCให้กับอาจารย์ทั้งมหาวิทยาลัย เพื่อให้สามารถสร้างบทเรียนออนไลน์ได้มากขึ้น รองรับการเรียนการสอนแบบใหม่ และต่อไปจะมีคอร์สสั้นๆ ในการประกอบอาชีพให้บุคลากรภายนอกหรือคนในชุมชนเข้ามาเรียนผ่านระบบ MOOC เป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต รองรับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุด้วย นอกจากนั้น ยังมีโครงการอบรม Google For Education ให้กับบุคลากรและนักศึกษา เพื่อนำความรู้มาพัฒนางานที่ตนเองทำอยู่ในหน่วยงาน ขณะเดียวกันนักศึกษาสามารถนำมาใช้ในการเรียนการสอนได้ ตลอดจนมีโครงการอื่นๆ อีกมากมาย อาทิ การทำ E-Book การใช้ซอฟแวร์สำหรับจัดการเอกสาร การใช้ซอฟแวร์ในการทำ Reference การใช้ซอฟแวร์ทำนายอนาคตและวิเคราะห์ข้อมูล การใช้ซอฟแวร์ในการวิจัย เป็นต้น

ผศ.ดร.อำนาจ กล่าวในตอนท้ายว่า จากที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมดถือเป็นการเริ่มต้นการ transform เข้าสู่การเป็น E- University ในปีแรกที่ต้องขับเคลื่อนสู่การใช้เทคโนโลยีในองค์กรอย่างเต็มรูปแบบ หรือ Digital Transform ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนรูปแบบการบริหารจัดการ เรียนการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการ ปัจจัยสำคัญที่จะขับเคลื่อนไปได้คือบุคลากรและนักศึกษาในมหาวิทยาลัย โดยต้องให้ความรู้ สอนให้มีทักษะ หรือเรียกว่า Digital Literacy ซึ่งทางสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศจะเป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อน เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามนโยบายของมหาวิทยาลัยต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version