นายสาย อิ่นคำ กรรมการการยางแห่งประเทศไทย ในฐานะอนุกรรมการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของ กยท. เผยว่า การสร้างต้นแบบการจัดวางระบบเครือข่ายและพัฒนาแหล่งน้ำผิวดินขนาดเล็กบนที่สูง ในพื้นที่ อ.ภูเพียง จ.น่าน เป็นการเพิ่มแหล่งกักเก็บน้ำให้แก่คนในชุมชนได้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง โดยการสร้างบ่อเก็บน้ำ ด้วยการขุดดินตามขนาดแล้วขึ้นโครงโดยการใช้ผ้าดิบปูพื้นบ่อ จากนั้นเคลือบด้วยน้ำยางสดผสมสารเคมี ตามวิธีของ ผศ.ดร.อดิศัย รุ่งวิชานิวัฒน์ นักวิจัย สวก. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ซึ่งสามารถเก็บกักน้ำโดยไม่รั่วซึมได้มากกว่า 10 ปีโครงการนำร่องการใช้ยางพาราเคลือบผ้าดิบปูพื้นบ่อ จะมีประโยชน์กับเกษตรกรและชุมชนอย่างแท้จริง และเป็นกิจกรรมที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผู้อาศัยในชุมชนที่เข้ามาบูรณาการร่วมกัน
"การยางแห่งประเทศไทย ได้สนับสนุนน้ำยางข้น โดยแปรรูปมาจากน้ำยางสดซึ่งอาจมีน้ำยางจากในพื้นที่รวมอยู่ด้วย และผ้าดิบ เป็นเงิน 316,650 บาท ซึ่งเป็นวัตถุดิบและส่วนประกอบในการทำโครงและพื้นบ่อเก็บน้ำ ถือเป็นโอกาสที่ดีและเหมาะสมในการประชาสัมพันธ์โครงการฯ เพื่อให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องรับรู้การใช้ประโยชน์จากน้ำยางพารา เพื่อสนองนโยบายการใช้ยางพาราในหน่วยงานภาครัฐ ให้เกิดการใช้ยางในหน่วยงานและจังหวัดอื่นๆ ต่อไป" นายสาย กล่าวทิ้งท้าย