ทั้งนี้จะเห็นได้ว่า หลักสูตรที่มทร.ธัญบุรีได้รับการอนุมัตินั้น จะเป็นสาขาที่ตรงกับนโยบายของรัฐบาลผลิตบัณฑิตตอบสนองอุตสาหกรรม S-Curve เป็นความต้องการของตลาดแรงงาน ซึ่งหลักสูตรปริญญาตรีนั้น จะเป็นหลักสูตรต่อเนื่องรับนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับชั้น ปวส. หรือนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเอง โดยจะคัดเลือกจากนักศึกษาที่มีผลการเรียดี เน้นปฏิบัติและมีทัศนคติที่ดี เพื่อเรียนต่อในปี 3 การที่รัฐบาลทุ่มงบให้นักศึกษาในการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ จะเน้นเรียปฏิบัติ ซึ่งตรงกับอัตลักษณ์ของมทร.ธัญบุรี ที่เน้นในเรื่องนี้เช่นกัน และมหาวิทยาลัยยังมีพาร์ทเนอร์ภาคอุตสาหกรรมที่จะรองรับให้นักศึกษาเข้าไปปฏิบัติงานจริง สำหรับหลักสูตรระยะสั้นได้รับงบประมาณ 6หมื่นบาทต่อคน ส่วนหลักสูตรปริญญาตรี 9 หมื่นบาทต่อคน โดยจะเริ่มโครงการนี้ตั้งแต่เดือนสิงหาคมเป็นต้นไป
- ๒๒ พ.ย. มทร.ล้านนาตั้งเป้าผลิตนักวิจัยหน้าใหม่ หวังของบวิจัยเพิ่ม 30-40%
- ๒๒ พ.ย. คนไทยไม่ทิ้งกัน มทร.ล้านนามอบถุงยังชีพ
- ๒๒ พ.ย. "มทร.ล้านนา" ไม่รอช้าวางแผนแก้ปัญหาฝุ่นพิษ PM 2.5 พื้นที่ภาคเหนือ