สกว. ผนึกกำลังมหาวิทยาลัยท้องถิ่นสร้างกลไกเพื่อการพัฒนาจังหวัด

ศุกร์ ๑๘ พฤษภาคม ๒๐๑๘ ๑๕:๒๐
หน่วยบูรณาการงานวิจัยและความร่วมมือเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ (สกว.)

หน่วยบูรณาการงานวิจัยและความร่วมมือเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ สกว.ใช้งานวิจัยแนวใหม่ ปรับบทบาทให้มหาวิทยาลัยในพื้นที่ เป็น "กลไกกลาง" เชื่อมร้อยความรู้ คน และหน่วยงานเข้าบูรณาการการทำงานร่วมกัน เพื่อแก้ไขปัญหาจังหวัด

จากสถานการณ์ปัจจุบันที่โลกกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จำเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศไทยจะต้องลดความเสี่ยงทั้งทางเศรษฐกิจการเมืองและสังคม ด้วยการกระจายศูนย์กลางความเจริญทางเศรษฐกิจออกไปจากเมืองหลวง โดยตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 เป็นต้นมา รวมถึงทิศทางการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์หลักของรัฐบาล ให้ความสำคัญของการพัฒนาพื้นที่ให้เจริญเติบโต แต่ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นคือความเจริญเติบโตดังกล่าว ยังไปได้ช้ามาก ขณะที่ช่องว่างการพัฒนาระหว่างเมืองกับชนบทกลับห่างกันมากขึ้น

ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการหน่วยบูรณาการวิจัยและความร่วมมือเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เปิดเผยว่า การพัฒนาพื้นที่จะเกิดประโยชน์สูงสุดได้นั้น จำเป็นต้องใช้

"ข้อมูลความรู้" เป็นฐานในการพัฒนา เพราะแต่ละจังหวัดมีบริบทแตกต่างกัน ซึ่งคนที่จะเข้าใจบริบทพื้นที่และสภาพปัญหาที่แท้จริงได้ดีที่สุดคือ "มหาวิทยาลัย" ที่เป็นหน่วยงานวิชาการและเป็นศูนย์รวมความรู้ มีนักวิชาการและผู้รู้เป็นจำนวนมาก จึงควรมีบทบาทสำคัญในการนำความรู้มาใช้เพื่อให้การพัฒนาจังหวัดเกิดความยั่งยืน

จากแนวคิดข้างต้น หน่วยบูรณาการวิจัยและความร่วมมือเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่จึงเกิดขึ้น ภายใต้การกำกับของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) โดยในช่วงปี พ.ศ.2555 – 2556 หน่วยฯ ได้ทดลองทำความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย 7 แห่ง ภายใต้งานวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่ (Area Based Collaborative Research) เพื่อให้มหาวิทยาลัยมีบทบาทเป็น "กลไกกลาง" เชื่อมร้อยความรู้ คน และหน่วยงานต่างๆ เข้ามาช่วยกันแก้ปัญหาของพื้นที่ ซึ่งผลการดำเนินงานพบว่า จากเดิมอาจารย์ในมหาวิทยาลัยมักทำวิจัยตามความสนใจหรือตามศาสตร์ที่ตนเองถนัด เปลี่ยนเป็นการทำงานวิจัยที่ใช้โจทย์ปัญหาของจังหวัดเป็นตัวตั้ง และมีการทำงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ จังหวัดอย่างใกล้ชิดมากขึ้น สามารถพัฒนาระบบบริหารจัดการงานวิจัยภายในมหาวิทยาลัยให้สามารถตอบโจทย์การพัฒนาพื้นที่ได้ ซึ่งการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำวิจัยดังกล่าว นอกจากจะสร้างงานวิจัยที่ตอบโจทย์ปัญหาของพื้นที่แล้ว ยังนำกระบวนการวิจัยไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน และการจัดบริการวิชาการ ทำให้ระบบบริหารจัดการงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเข้มแข็งขึ้น เกิดนักวิจัยหน้าใหม่จำนวนมาก เกิดเครือข่าย และการยอมรับจากชุมชนและหน่วยงานระดับจังหวัด

ประกอบกับปี พ.ศ. 2557 - 2561 เครือข่ายองค์กรบริหารงานวิจัยแห่งชาติ (คอบช.) เล็งเห็นความสำคัญของงานวิจัยเชิงพื้นที่ จึงมอบหมายให้หน่วยบูรณาการวิจัยและความร่วมมือเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ บริหารทุนวิจัยมุ่งเป้าในแผนงานนวัตกรรมเพื่อสังคมและชุมชน ซึ่งเป็นการให้ทุนในลักษณะใหม่ โดยมีมหาวิทยาลัยเข้าร่วมในโครงการ 24 แห่ง พบว่าลักษณะของโจทย์วิจัยมีความสัมพันธ์กับสภาพปัญหาของพื้นที่ที่มหาวิทยาลัยนั้นตั้งอยู่มากขึ้น ทำให้มหาวิทยาลัยมีปฏิสัมพันธ์กับชุมชนและผู้ต้องการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยเพิ่มขึ้นแล้ว กระบวนการดังกล่าวยังทำให้มหาวิทยาลัยได้รับการยอมรับในฐานะ "มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่ (Area Based University)" กล่าวคือ มหาวิทยาลัยทำหน้าที่เป็นกลไกกลางในการทำงานวิชาการเพื่อตอบโจทย์ของพื้นที่ โดยหลายแห่งได้รับงบประมาณจากจังหวัดเพิ่มขึ้นอีกด้วย

"กระบวนการวิจัยแนวใหม่นี้หัวใจสำคัญคือ การหนุนเสริมให้มหาวิทยาลัยในพื้นที่ทำหน้าที่เป็นมันสมองด้านวิชาการ ใช้ข้อมูลความรู้และความเชี่ยวชาญที่มีอยู่ดึงคนหรือกลไกคือหน่วยงานต่างๆ ในจังหวัดมาร่วมกันทำวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาที่แต่ละจังหวัดประสบอยู่ เมื่อมหาวิทยาลัยเข้มแข็ง การพัฒนากำลังคนก็ย่อมเข้มแข็งตามไปด้วย ซึ่งอาจนำไปสู่การ "ปรับการเรียน เปลี่ยนการสอน" ที่ตอบโจทย์การพัฒนาพื้นที่มากขึ้น ถือเป็นการเตรียมความพร้อมให้มหาวิทยาลัยรับมือกับความท้าทายใหม่ กรณีรายได้จากการรับนักศึกษาลดลงได้แล้ว ยังสามารถบริหารการใช้งบประมาณวิจัย เพื่อสนับสนุนการทำงานข้ามภารกิจ ทั้งงานวิจัย การเรียนการสอน และบริการวิชาการได้เป็นอย่างดี"

ดร.กิตติ กล่าวต่อว่า สำหรับงานวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ (Area-Based Collaborative Research for Development ABC research) ในที่นี้เราเรียกสั้นๆ ว่า ABC เป็นงานวิจัยรูปแบบใหม่ เน้นการทำงานแบบมีส่วนร่วมโดยนำพื้นที่ระดับจังหวัดเป็นตัวตั้ง ทำงานบนโจทย์ปัญหาของจังหวัดที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนส่วนใหญ่ ผ่านกระบวนการวิจัยที่สร้างกลไกการพัฒนาในพื้นที่ โดยมีกลไกหลักหลายกลไกที่ ABC เข้าไปทำงานด้วย อาทิ กลไกภาคธุรกิจท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาเมือง กลไกสถาบันการศึกษาในพื้นที่ เป็นภาคีหลักที่ ABC ให้ความสำคัญ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version