10 ลักษณะอาการเตือนผิวหนังขาดน้ำ รศ.นพ.ป่วน สุทธิพินิจธรรม นายกสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย

จันทร์ ๒๘ พฤษภาคม ๒๐๑๘ ๑๔:๕๒
ในปัจจุบันพบว่ามีหนุ่ม ๆ สาว ๆ หลายคน มักจะประสบปัญหาในเรื่องของผิวหนังขาดน้ำ สาเหตุนั้นมาจากการสูญเสียน้ำออกจากผิวหนัง ซึ่งเกิดจากกลไกสำคัญ 3 ประการได้แก่ 1.ผิวลอกเป็นขุยจากความผิดปกติในการสร้างทำให้เสียความสามารถในการรักษาน้ำไว้ที่ผิวหนัง 2.ชั้นหนังกำพร้ามีการหมุนเวียนเร็วกว่าปกติ ทำให้ไม่มีเวลาพอในการสร้างผิวหนังชั้นนอกสุดหรือชั้นขี้ไคลที่สมบูรณ์ได้ (โดยหนังกำพร้าชั้นนอกสุดมีส่วนประกอบเป็นชั้นไขมันแทรกอยู่ระหว่างเซลล์ผิวหนังชั้นขี้ไคล เมื่อผิวหนังที่มีการหมุนเวียนรวดเร็วจะไม่สามารถสร้างชั้นไขมันได้ทัน จึงเสียความสามารถในการรักษาน้ำให้คงอยู่ในผิวหนัง มักพบในผู้ที่มีการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลัดผิวในความเข้มข้นสูงและใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน ผิวก็จะมีลักษณะบางแดงง่าย) และ 3. มีการทำลายของผิวหนังชั้นหนังกำพร้าจากสารเคมี เช่น detergents ทำให้สูญเสียไขมันชั้นหนังกำพร้าไปเป็นผลทำให้ผิวหนังสูญเสียน้ำออกสู่สิ่งแวดล้อมได้ง่ายขึ้น

10 นิสัย หรือ อาการสัญญาณเตือนที่เป็นสาเหตุว่าตัวเองเริ่มมีอาการผิวหนังขาดน้ำเกิดขึ้นแล้วประกอบด้วย 1.ดื่มน้ำน้อยเกินไป 2.อยู่ในห้องแอร์เป็นส่วนใหญ่ 3.ชอบอาบน้ำอุ่นเป็นประจำ 4.ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติในการผลัดเซลล์ผิวเป็นประจำ (ซึ่งมักพบใน ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยทำให้ผิวขาว) 5.หลังจากล้างหน้าแล้วไม่รีบทา moisturizer ทันที 6.ไม่ค่อยใส่ใจว่าผลิตภัณฑ์ที่ใช้อยู่ทำให้ผิวหน้าชุ่มชื้นได้หรือเปล่า 7.ทาครีมบำรุงแล้วยังรูสึกว่าผิวสาก กร้าน (อาจมีขุยหรือไม่มีขุย) แต่ก็ยังมีน้ำมันออกมาเคลือบผิว 8. ไม่ค่อยชอบทาครีมกันแดดหรือชอบลืมทาครีมกันแดด 9. ใช้ผลิตภณฑ์ล้างหน้าที่มีฤทธิ์ในการชะล้างรุนแรง และ 10. อายุมากกว่า 25 ปีขึ่นไป

นอกจากนี้ยังมีวิธีการสังเกตผิวหนังของตัวเองอย่างง่าย ๆ เริ่มตั้งแต่ 1. สังเกตผิวหนังภายนอกเหมือนมีน้ำมันออกมาเคลือบ 2. เมื่อดูผิวหนังใกล้ ๆ จะเห็นริ้ว ๆ หรือกร้าน ๆ (ลองนึกภาพเวลาที่เราอยู่ใกล้ความร้อนนาน ๆ เช่น เวลาอยู่หน้าเตาตอนทำกับข้าว) 3. ลูบผิวดูแล้วจะรู้สึกว่าผิวไม่นุ่มเนียน ไม่เรียบ ถ้าเป็นมากอาจรู้สึกว่าผิวสาก ๆ 4. อาการจะเป็นมากประมาณสาย ๆ หรือช่วงบ่าย ๆ ของวัน พอซับมันแล้วเติมแป้งจะไม่เรียบเนียนเหมือนแต่งตอนเช้า ส่วนผิวขาดน้ำเกี่ยวกับผิวมันอย่างไรนั้น เมื่อผิวขาดน้ำก็เสมือนว่าผิวขาดความชุ่มชื้น ผิวจะพยายามผลิตน้ำมันออกมาเพื่อชดเชยความชุ่มชื้นที่เสียไป (ซึ่งเป็นการแก้ไขที่ปลายเหตุ) จึงทำให้ผิวมีความมันมากกว่าปกติ ทั้งๆที่อาการขาดน้ำยังไม่ได้รับการแก้ไข หากปล่อยไว้นานจะทำให้ผิวหนังสูญเสียการทำงาน ขาดความกระชับ ยืดหยุ่น และนำไปสู่ผิวอ่อนแอในที่สุด

ผิวหนังนั้น ประกอบไปด้วย 1. เซลล์ชั้นนอกสุด หรือที่เรียกว่าชั้นขี้ไคล เป็นเซลล์ที่ไม่มีชีวิต มีไขมันหุ้มภายนอก ถัดไปเป็นชั้นโปรตีนเป็นปลอกหุ้มเซลล์ผิวหนังชั้นนี้อีกชั้น และมีโปรตีนที่เรียกว่า เคอราติน เป็นส่วนประกอบภายในเซลล์ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้น้ำทะลุผ่านเซลล์ผิวหนังออกสู่ภายนอก 2.ชั้นไขมันแทรกอยู่ระหว่างเซลล์ผิวหนังชั้นขี้ไคล ทำหน้าที่ปิดกั้นไม่ให้น้ำในร่างกายซึมผ่านช่องระหว่างเซลล์ผิวหนังออกสู่ภายนอก และ 3. ไขมันจากต่อมไขมัน ที่หลั่งสารไขมันออกตามรูขุมขน สารไขมันจะแผ่ออกเคลือบผิวของชั้นหนังกำพร้า ป้องกันไม่ให้น้ำซึมผ่านเซลล์และช่องว่างระหว่างเซลล์ออกสู่ภายนอกซึ่งการรักษาความชุ่มชื้นของผิวหนัง เป็นคุณสมบัติที่สำคัญของเซลล์ผิวหนังชั้นนอกหรือเซลล์ชั้นขี้ไคล ช่วยทำให้ผิวหนังสามารถเก็บรักษาน้ำไว้ได้ ซึ่งนอกจากจะช่วยป้องกันเชื้อโรค สารพิษทั้งจากธรรมชาติและที่มนุษย์ผลิตขึ้นแล้ว ยังมีคุณสมบัติในการรักษาความชุ่มชื้น คือการเก็บน้ำไว้ในและนอกเซลล์ ความชุ่มชื้นของผิวหนังที่พอเหมาะ คือ สภาวะที่ผิวหนังสามารถรักษาระดับน้ำให้คงอยู่ในเซลล์ผิวหนัง และระหว่างเซลล์ผิวหนังกำพร้าได้อย่างสมดุล ผิวหนังจะชุ่มชื้น เรียบ นุ่มเนียน เต่งตึงและไม่เป็นขุย นอกจากนี้ระดับน้ำในชั้นหนังกำพร้ายังสัมพันธ์กับระดับน้ำในชั้นหนังแท้ ด้วย

การดูแลรักษาสภาวะผิวหนังขาดน้ำหรือสูญเสียน้ำ ซึ่งจะทำให้เกิดผิวแห้ง อาการแรกที่พบ คือผิวจะมีลักษณะหยาบ อาการต่อมา คือ เริ่มเป็นขุย (เมื่อขาดน้ำมากอย่างต่อเนื่อง) และเกิดอาการผิวแตก เมื่อขาดน้ำมากที่สุด ผิวหนังจะดูสวยงามและไม่เกิดโรคถ้าหมั่นรักษาสมดุลของน้ำในผิวหนังกับสภาพแวดล้อมได้ ดังนั้นปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการดูแลป้องกันและรักษาผิวหนังมีหลักอยู่ 4 ประการ ได้แก่ 1. เรื่องของสภาวะแวดล้อมรอบตัวเรามีอิทธิพลต่อการเกิดผิวแห้งอย่างมาก 2. ลักษณะผิวหนังของแต่ละบุคคลว่าแห้งมากน้อยแค่ไหน ขึ้นกับพันธุกรรมของแต่ละคนว่าลักษณะของผิวเป็นอย่างไร หากผิวหนังแห้งไม่มากก็จัดเป็นคนผิวแห้งอย่างไม่เป็นโรค ถ้าลักษณะทางพันธุกรรมมีความผิดปกติมาก ก็อาจเกิดโรคผิวแห้งได้ เช่น เด็กที่เป็นโรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ / โรค Ichthyosis 3. เรื่องของอายุ เมื่ออายุย่างเข้าวัยทองต่อมไขมันและเซลล์ผิวหนังจะสร้างสารไขมันลดลง ทำให้เกิดลักษณะผิวแห้ง จึงจำเป็นต้องใช้มอยส์เจอร์ไรเซอร์เคลือบผิว 4. พฤติกรรมและการดำเนินชีวิตของแต่ละบุคคล บุคคลใดที่ชอบล้างมือบ่อย ๆ ฟอกตัวด้วยสบู่ที่เป็นด่างนาน หรือออกแดดเป็นประจำหรือทำงานอยู่กลางแจ้ง เรื่องของผิวหนังนั้นแนะนำให้ดูแลรักษาตนเองให้ดี หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ ทำจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ ดูแลรักษาผิวพรรณ ดูแลไม่ให้ผิวไปกระทบกับสารหรือสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ เช่น แสงแดด สารพิษต่าง ๆ รักษาธรรมชาติ เพราะธรรมชาติดี ผิวหนังของเราก็จะดีตามไปด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO