คุณชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่เทคโนโลยีและวิศวกรรม ปตท. กล่าวว่า "ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมระหว่าง ปตท. กับทั้ง 9 ธนาคาร ถือเป็นความตั้งใจของ ปตท. เพื่อร่วมผลักดันนโยบาย "ไทยแลนด์ 4.0" ของภาครัฐ ที่มุ่งปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมโดยความร่วมมือในครั้งนี้มุ่งเน้นส่งเสริมและผลักดัน การพัฒนาระบบ และนวัตกรรมทางการเงินของทั้งสองฝ่าย เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจ สร้างความเชื่อมั่นใน การดำเนินงาน นำไปสู่การต่อยอดและขยายการดำเนินงานในเชิงพาณิชย์ต่อไป"
คุณจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า "ธนาคารให้ความสำคัญต่อการกำหนดกลยุทธ์และแผนงานด้านดิจิทัลเป็นหนึ่งในกลยุทธ์หลักของการพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง ภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือฯ นี้ จึงนับเป็นทิศทางที่ดีที่ภาคธุรกิจมีการเชื่อมโยงระหว่างอุตสาหกรรมเพื่อประสานความร่วมมือกัน ด้วยจุดแข็งธนาคารกรุงเทพ ในฐานะธนาคารชั้นนำแห่งภูมิภาคเอเชีย เมื่อผนึกกำลังกับผู้นำด้านธุรกิจพลังงานและปิโตรเคมีอย่างครบวงจรของ ปตท. ในฐานะบริษัทพลังงานแห่งชาติ ซึ่งเป็นคู่ค้าและพันธมิตรทางธุรกิจที่มีความสัมพันธ์อันดีกันอย่างแนบแน่นมาอย่างยาวนาน เชื่อมั่นว่าจะนำไปสู่ความร่วมมือเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมในครั้งนี้ได้อย่างดีเยี่ยม"
คุณผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า "ในฐานะธนาคารพาณิชย์ของรัฐ ธนาคารมี พันธกิจหลักในการร่วมพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ พร้อมเดินหน้าตามแผนยุทธศาสตร์ Future Bankingด้วยการนำเทคโนโลยี มาสร้างนวัตกรรมทางการเงินที่ดีกว่า ถูกกว่า และรวดเร็วกว่า เพื่อประโยชน์สูงสุดของลูกค้าและประชาชน เพิ่มโอกาสทางธุรกิจอย่างไร้ขอบเขต โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าความร่วมมือระหว่างองค์กรระดับประเทศในครั้งนี้จะเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจและประเทศไทยสู่ Thailand 4.0"
คุณแดน ฮาร์โซโน่ ประธานกลุ่มธุรกิจลูกค้ารายย่อยและลูกค้าบุคคล ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า "กรุงศรีขับเคลื่อนองค์กรด้วยนวัตกรรม ภายใต้แนวคิด Digital First ซึ่งให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ใน การให้บริการทางการเงิน รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีบล็อกเชน สำหรับความร่วมมือในครั้งนี้ กรุงศรีจะนำเทคโนโลยีดิจิทัลและความเชี่ยวชาญด้านการเงินการธนาคารมาร่วมสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าและต่อยอดความเติบโตในเวทีธุรกิจ"
คุณพัชร สมะลาภา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า "ธนาคารกสิกรไทยเชื่อมั่นว่าความร่วมมือในครั้งนี้ จะช่วยยกระดับและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุกิจให้กับกลุ่มปตท. ตลอดจนวงจรธุรกิจ หรือ Value Chain ทั้งคู่ค้า และลูกค้าในกลุ่ม ปตท. ให้สามารถแข่งขันและเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งยิ่งขึ้น อีกทั้งจะเป็นการพลิกโฉมครั้งสำคัญต่อการพัฒนานวัตกรรมดิจิทัลของภาคธุรกิจไทยจากโครงการนำร่องที่จะเกิดขึ้นอีกมาก จนเป็นต้นแบบสำคัญต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของชาติในอนาคต"
คุณปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทย กล่าวว่า "การทำบันทึกข้อตกลงนี้ นับได้ว่าเป็นอีกก้าวหนึ่งที่สำคัญของความร่วมมือระหว่างระหว่าง ปตท. และ ทีเอ็มบี ผมเชื่อมั่นว่า จุดแข็งของ ปตท. ในฐานะผู้นำด้านนวัตกรรม และความเชี่ยวชาญด้านธุรกรรมการเงินของทีเอ็มบี และความทุ่มเทในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของซัพพลายเชน ด้วยซัพพลายเชน ไฟแนนซิ่ง กอรปกับเทคโนโลยีในยุคดิจิทัลที่เอื้อให้การทำธุรกรรมทางการเงินง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น จะก่อให้เกิดนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์และส่งผลดีต่อ ปตท., คู่ค้า, ซัพพลายเชน และเกื้อกูลต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศโดยรวมต่อไป"
คุณวศิน ไสยวรรณ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ผู้บริหารสูงสุด Corporate Banking ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า "ธนาคารไทยพาณิชย์มีความพร้อมที่จะสนับสนุนการดำเนินงานทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมของกลุ่ม ปตท. เพื่อรองรับ การเปลี่ยนแปลงในอนาคตอันใกล้ เรามีความพร้อมทั้งทางด้านการลงทุนและเครือข่ายของผู้พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ จากทั่วโลก และยังมีความพร้อมทางด้านการนำเทคโนโลยีขั้นสูงอย่างปัญญาประดิษฐ์ หรือArtificial Intelligence (AI) มาใช้ในการพัฒนาธุรกิจและบริการซึ่งเป็นบริษัทแรกในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะมีส่วนร่วมผลักดันให้ กลุ่ม ปตท. บรรลุเป้าหมายในการพัฒนาการให้บริการในรูปแบบดิจิทัลได้อย่างประสบความสำเร็จ
คุณวิศาลศรี นิโลดม รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารธนชาต กล่าวว่า "ธนชาตเป็นสถาบันการเงินที่มีผู้ถือหุ้นใหญ่ คือ บริษัททุนธนชาต และสโกเทีย แบงก์ จากแคนาดา มีเทคโนโลยีทันสมัยและได้มาตรฐานสากล สอดรับกับทิศทางโลกในยุค 4.0 อีกทั้ง ธนชาตยังเป็นองค์กรที่มีความคล่องตัวสูงในการดำเนินงาน มากด้วยประสบการณ์ร่วมกับพันธมิตรต่างๆ อาทิ ความร่วมมือ QR ข้ามประเทศ ความร่วมมือกับผู้ให้บริการระบบชำระเงินในไทย จึงพร้อมที่จะสนับสนุนข้อมูลและความรู้ทางการเงินอย่างเต็มที่เพื่อประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศต่อไป"
คุณไพลิน อึ้งศรีวงศ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารยูโอบี กล่าวว่า "ทางธนาคารยูโอบี มีความยินดีอย่างยิ่ง ที่ในวันนี้ ได้มีโอกาสร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงในการขับเคลื่อนนวัตกรรมทางการเงินและพัฒนาระบบธุรกิจใหม่ๆ กับทาง ปตท. ซึ่งนับว่าเป็นก้าวสำคัญที่จะก่อให้เกิดการปรับตัวให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลเต็มตัว ธนาคารยูโอบี เชื่อว่าการร่วมมือจัดหาดิจิตัลโซลูชั่น จะทำให้ธุรกิจสามารถแข่งขันในยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิตัลนี้ได้ และยังเป็นการอำนวยความสะดวกรวดเร็วให้แก่ผู้บริโภคอีกด้วย ด้วยเครือข่ายของธนาคารยูโอบี กว่า 500 สาขา ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เรามั่นใจว่า จะสามารถรองรับโอกาสในการขยายตัวทางธุรกิจอย่างก้าวกระโดด และนโยบายในการดำเนินธุรกิจของ ปตท.ที่จะมุ่งสู่ Regional top brand ในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้เป็นอย่างดี"
คุณพิเชฐ ธรรมวิภาค รองผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กลุ่มลูกค้าธุรกิจและภาครัฐ กล่าวว่า "ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา ธนาคารออมสินได้สร้างสรรค์ นวัตกรรมทั้งทางด้านเงินฝากและด้านสินเชื่อ ทุกกลุ่มลูกค้าแม้กระทั้งกลุ่มลูกค้าฐานราก โดยความร่วมมือกันระหว่าง ปตท. กับสถาบันการเงินในครั้งนี้ ถือเป็นนิมิตหมายที่ดี ที่จะร่วมมือกันในการวางแผน และพัฒนานวัตกรรมด้านการเงิน การค้ำประกันเงินกู้ การชำระเงินและโอนเงิน รวมถึงการเสนอผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินเพื่อการบริหารความเสี่ยง เป็นต้น ซึ่งเป็นกลไกหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ตามนโยบาย "ไทยแลนด์ 4.0" เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการทำธุรกรรมทางการเงิน ได้อย่างเป็นรูปธรรม"
การลงนามใน "บันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม" ครั้งนี้ มีระยะเวลา 2 ปี โดย ปตท. จะร่วมกับธนาคาร ทั้ง 9 แห่ง กำหนดนโยบายและทิศทางการดำเนินงานในการส่งเสริมและผลักดันการพัฒนานวัตกรรมทางการเงินของทั้งสองฝ่าย ผลักดันการปรับปรุงและพัฒนาระบบทางการเงิน เช่น ระบบการประกันภัย อนุพันธ์ทางการเงิน ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ การทำธุรกรรมทางการเงิน รวมทั้งการปรับปรุง กฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจ สร้างความเชื่อมั่นในการดำเนินงาน อันจะนำไปสู่การได้รับการสนับสนุนเกื้อกูลจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนร่วมกันชักชวนคู่ค้าที่มีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจร่วมกัน เพื่อต่อยอดและขยายการดำเนินงานในเชิงพาณิชย์ต่อไป