3 สถาบัน พัฒนาสิ่งประดิษฐ์เพื่อผู้พิการ 'รถเข็นไฟฟ้าควบคุมด้วยเสียงผ่านมือถือ’

จันทร์ ๒๘ พฤษภาคม ๒๐๑๘ ๑๕:๕๑
บุคลากร 3 สถาบัน ร่วมวิจัยและพัฒนาสิ่งประดิษฐ์เพื่อผู้พิการ 'รถเข็นไฟฟ้าควบคุมด้วยเสียงผ่านมือถือ'

ผลงานนี้ใช้ชื่อว่า PMK - Electric Power Wheelchair Control by Voice มุ่งเป้าหมายสำคัญคือต้องการให้ผู้พิการอัมพาตช่วงบนและครึ่งล่าง (Quadriplegia) ได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นผลงานจากความร่วมมือกันของ ผศ.ดร.เดชฤทธิ์ มณีธรรม หัวหน้าสาขาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี ร่วมกับรศ.ดร.เบญจลักษณ์ เมืองมีศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จ.ปทุมธานี พร้อมด้วย พ.อ.ผศ.นพ.อารมย์ ขุนภาษี และพ.อ.รศ.นพ.สุธี พานิชกุล จากวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า รวมถึงนายนพรัตน์ เย็นใจ นายรัฐภูมิ บุญศิริ และนายสุทธิพงศ์ กลิ่นหอม นักศึกษาสาขาแมคคาทรอนิกส์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มทร.ธัญบุรี

พ.อ.ผศ.นพ.อารมย์ เผยว่า ปัจจุบันโรงพยาบาลมีผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตจากการสู้รบ โดยบางรายได้รับบาดเจ็บครึ่งล่าง (Paraplegia) และบางรายได้รับบาดเจ็บหรืออัมพาตช่วงบนและครึ่งล่าง (Quadriplegia) ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างมากที่จะช่วยเหลือผู้ป่วยในลักษณะนี้ให้สามารถนั่งอยู่บนรถเข็นและสามารถสั่งการได้ โดยผู้ป่วยสามารถสั่งงานขับเคลื่อนรถเข็นไฟฟ้าให้เคลื่อนที่ภายในบ้านและบริเวณรอบๆ บ้านได้ด้วยตนเอง ทำให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น และทำให้ผู้ป่วยมีสุขภาพจิตดีอีกด้วย

ด้าน ผศ.ดร.เดชฤทธิ์ อธิบายเสริมว่า รถเข็นไฟฟ้าควบคุมด้วยเสียงผ่านมือถือนี้ จะทำงานผ่านมือถือระบบ Android ซึ่งเป็นการพัฒนาต่อยอดมาจากการใช้ไมโครโฟน เพราะในปัจจุบันเทคโนโลยีและการใช้มือถือจะอยู่ใกล้ตัวเรามาก สำหรับการทำงานจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนรถเข็น (Hardware) ส่วนควบคุม (Control) และส่วนซอฟต์แวร์ (Software) มีหลักการทำงานคือ เมื่อผู้ป่วยสั่งงานด้วยเสียงพูดเช่น เดินหน้า ถอยหลัง เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา และหยุด มีผลทำให้มือถือที่ติดต่อระบบ Bluetooth ส่งค่าสัญญาณลอจิก 1 และ 0 ไปที่ไมโครคอนโทรเลอร์ (Microcontroller) หลังจากนั้นไมโครคอนโทรเลอร์จะส่งสัญญาณเอาต์พุตออกไปที่ชุดขับมอเตอร์ (DC Drive) และมีผลทำให้สามารถควบคุมทิศทางการหมุนตามทิศทางที่ต้องการได้

ขณะที่ พ.อ.รศ.นพ.สุธี กล่าวเสริมว่า ในอนาคตจะมีการนำไปใช้กับผู้ป่วยราชการสนามที่ได้รับบาดเจ็บและถูกปลดประจำการให้ได้ใช้อุปกรณ์ชุดนี้สั่งการอุปกรณ์ต่างๆ ภายในบ้านได้เช่น เปิด-ปิดไฟฟ้า ต่อไป ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ผศ.ดร.เดชฤทธิ์ มณีธรรม โทร.086 882 1475

นับเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ช่วยให้การใช้ชีวิตของผู้พิการมีความสะดวกสบาย สามารถช่วยเหลือตนเองเบื้องต้นได้ตามต้องการ ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ