รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนเมษายน ปี 2561

พุธ ๓๐ พฤษภาคม ๒๐๑๘ ๑๕:๑๓
"เศรษฐกิจไทยเดือนเมษายนเติบโตแข็งแกร่งต่อเนื่องจากไตรมาส 1 โดยเครื่องยนต์สำคัญมาจากการส่งออกสินค้า การบริโภคภายในประเทศ และการลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัวได้ดี ในขณะที่ด้านการผลิตส่งสัญญาณการเติบโตในทุกหมวดทั้งการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม เกษตรกรรม อีกทั้งจำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศยังเติบโตต่อเนื่อง"

นายวโรทัย โกศลพิศิษฐ์กุล ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง พร้อมด้วยนายศรพล ตุลยะเสถียร ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนเมษายน ปี 2561 ว่า "เศรษฐกิจไทยเดือนเมษายนเติบโตแข็งแกร่งต่อเนื่องจากไตรมาส 1 โดยเครื่องยนต์สำคัญมาจากการส่งออกสินค้า การบริโภคภายในประเทศ และการลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัวได้ดี ในขณะที่ด้านการผลิตส่งสัญญาณการเติบโตในทุกหมวดทั้งการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม เกษตรกรรม อีกทั้งจำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศยังเติบโตต่อเนื่อง" โดยมีรายละเอียดสรุป ได้ดังนี้

เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคภาคเอกชนในเดือนเมษายน 2561 ส่งสัญญาณฟื้นตัวอย่างชัดเจน สะท้อนจากปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือนเมษายน 2561 ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 17.2 ต่อปี ถือเป็นการขยายตัวต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 15 นับตั้งแต่เดือนมกราคม ปี 2560 และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก พบว่า ขยายตัวร้อยละ 4.9 ต่อเดือน เนื่องจากมีการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ออกสู่ตลาดมากขึ้น และการจัดงานมอเตอร์โชว์เมื่อช่วงปลายเดือนมีนาคมถึงต้นเดือนเมษายน 2561 ที่ผ่านมา สำหรับภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ในเดือนเมษายน 2561 กลับมาขยายตัวร้อยละ 7.0 ต่อปี และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออกขยายตัวร้อยละ 3.7 ต่อเดือน โดยการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากฐานการใช้จ่ายภายในประเทศที่ขยายตัวต่อเนื่อง และการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม จากฐานการนำเข้ากลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 12.0 ต่อปี ขณะที่ปริมาณนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคในเดือนเมษายน 2561 ขยายตัวได้ดีที่ร้อยละ 17.6 ต่อปี และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก พบว่า ขยายตัวร้อยละ 7.2 ต่อเดือน สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมเดือนเมษายน 2561 อยู่ที่ระดับ 67.8 ปรับตัวเพิ่มขึ้น เป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน และถือเป็นการปรับตัวสูงสุดในรอบ 38 เดือน นับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2558 เนื่องจากผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นต่อสถานะการการส่งออกสินค้าและการท่องเที่ยวที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง

เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชนในเดือนเมษายน 2561 ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง สะท้อนจากเครื่องชี้การลงทุนในหมวดเครื่องจักร ที่วัดจากปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือนเมษายน 2561 ขยายตัวในระดับสูงต่อเนื่องที่ร้อยละ 30.6 ต่อปี และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลขยายตัวร้อยละ 7.1 ต่อเดือน โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักจากยอดจำหน่ายรถกระบะขนาด 1 ตัน ที่ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 25.7 ต่อปี ขณะที่ปริมาณนำเข้าสินค้าทุน ในเดือนเมษายน 2561 ขยายตัวที่ร้อยละ 3.4 ต่อปี และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลขยายตัวร้อยละ 1.5 ต่อเดือน

อุปสงค์จากต่างประเทศผ่านการส่งออกสินค้ายังคงขยายตัวต่อเนื่อง โดยมูลค่าการส่งออกสินค้า ในเดือนเมษายน 2561 ขยายตัวในระดับสูงถึงร้อยละ 12.3 ต่อปี และเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 14 ติดต่อกัน และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออกขยายตัวร้อยละ 2.0 ต่อเดือน และเป็นการขยายตัวได้ดีในทุกตลาด โดยเฉพาะตลาดอินเดีย CLMV สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น เป็นสำคัญ ที่ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อน ทั้งนี้ สินค้า ที่สนับสนุนการส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเม็ดพลาสติก เป็นต้น สำหรับมูลค่าการนำเข้าสินค้าขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 20.4 ต่อปี โดยสินค้านำเข้าที่ขยายตัวได้ดี ได้แก่ เชื้อเพลิง วัตถุดิบ และสินค้าทุน เป็นต้น ทั้งนี้ ผลของมูลค่าการนำเข้าสินค้าที่สูงกว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าส่งผลให้ดุลการค้าในเดือนเมษายน 2561 ขาดดุลจำนวน 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยด้านอุปทาน ยังคงได้รับปัจจัยสนับสนุนจากดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร ที่ขยายตัวได้ดี และจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยที่ขยายตัวในระดับสูง โดยดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือนเมษายน 2561 ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 9.6 ต่อปี และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลขยายตัวร้อยละ 6.1 ต่อเดือน โดยเป็นการขยายตัวได้ดีในหมวดพืชผลสำคัญ หมวดปศุสัตว์ และหมวดประมง สำหรับจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือนเมษายน 2561 มีจำนวน 3.09 ล้านคน ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 9.4 ต่อปี โดยนักท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ดีมาจากนักท่องเที่ยวชาวจีน เป็นสำคัญ ในขณะที่ นักท่องเที่ยวประเทศอื่นยังคงขยายตัวได้ดี เช่น นักท่องเที่ยวชาวลาว รัสเซีย และไต้หวัน เป็นต้น และสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวต่างประเทศจำนวน 1.57 แสนล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 12.5 ต่อปี ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) ในเดือนเมษายน 2561 อยู่ที่ระดับ 89.1 ลดลงจากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากในเดือนเมษายน 2561 มีวันทำการน้อยกว่าปกติเนื่องจากมีวันหยุดยาวต่อเนื่องในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประกอบกับผู้ประกอบการได้เร่งผลิตไปแล้วในช่วงเดือนก่อนหน้า

ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดี และเสถียรภาพภายนอกอยู่ในระดับที่มั่นคง สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนเมษายน 2561 อยู่ที่ร้อยละ 1.1 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ในเดือนเมษายน 2561 อยู่ที่ร้อยละ 0.6 ต่อปี สำหรับอัตราการว่างงานในเดือนเมษายน 2561 อยู่ที่ร้อยละ 1.1 ของกำลังแรงงานรวม หรือคิดเป็นจำนวนผู้ว่างงาน 4.1 แสนคน ขณะที่สัดส่วนหนี้สาธารณะ ต่อ GDP ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2561 อยู่ที่ร้อยละ 41.2 ต่อ GDP ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ต่อ GDP สำหรับเสถียรภาพภายนอกยังอยู่ในระดับมั่นคงและสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้ สะท้อนจากทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนเมษายน 2561 อยู่ที่ระดับ 215.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มากกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้น 3.5 เท่า

"เศรษฐกิจไทยเดือนเมษายนเติบโตแข็งแกร่งต่อเนื่องจากไตรมาส 1 โดยเครื่องยนต์สำคัญมาจากการส่งออกสินค้า การบริโภคภายในประเทศ และการลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัวได้ดี ในขณะที่ด้านการผลิตส่งสัญญาณการเติบโตในทุกหมวดทั้งการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม เกษตรกรรม อีกทั้งจำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศยังเติบโตต่อเนื่อง

1. เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคภาคเอกชนในเดือนเมษายน 2561 ส่งสัญญาณการฟื้นตัวอย่างชัดเจน สะท้อนจากปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือนเมษายน 2561 ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 17.2 ต่อปี ถือเป็นการขยายตัวต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 15 นับตั้งแต่เดือนมกราคม ปี 2560 และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (mom_SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 4.9 ต่อเดือน เนื่องจากมีการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ออกสู่ตลาดมากขึ้น และการจัดงานมอเตอร์โชว์เมื่อช่วงปลายเดือนมีนาคมถึงต้นเดือนเมษายน 2561 ที่ผ่านมา ซึ่งช่วยกระตุ้นการเติบโตของตลาดรถยนต์ สำหรับภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ในเดือนเมษายน 2561 ขยายตัวที่ร้อยละ 7.0 ต่อปี และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 3.7 ต่อเดือน โดยการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากฐานการใช้จ่ายภายในประเทศที่ขยายตัวต่อเนื่อง และการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากฐานการนำเข้ากลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 12.0 ต่อปี สำหรับปริมาณนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคในเดือนเมษายน 2561 ขยายตัวได้ดีที่ร้อยละ 17.6 ต่อปี และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (mom_SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 7.2 ต่อเดือน ขณะที่ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือนเมษายน 2561 หดตัวร้อยละ -3.1 ต่อปี และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (mom_SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 5.1 ต่อเดือน โดยเป็นการขยายตัวในเขตกทม. ขยายตัวร้อยละ 0.2 ต่อปี ขณะที่ในเขตภูมิภาคหดตัวร้อยละ -4.0 ต่อปี สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมเดือนเมษายน 2561 อยู่ที่ระดับ 67.8 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน และถือเป็นการปรับตัวสูงสุดในรอบ 37 เดือน นับตั้งแต่ เดือนมีนาคม 2558 เนื่องจากผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นต่อสถานะการการส่งออกสินค้าและการท่องเที่ยว ที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ประกอบกับค่าแรงขั้นต่ำที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นตั้งแต่เดือนเมษายน 2561 ส่งผลดีต่อกำลังซื้อภายในประเทศ และแนวโน้มเศรษฐกิจที่มีทิศทางปรับตัวดีขึ้น

2. เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชนในเดือนเมษายน ปี 2561 ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง สะท้อนจากเครื่องชี้การลงทุนในหมวดเครื่องจักร ที่วัดจากปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือนเมษายน 2561 ขยายตัวในระดับสูงต่อเนื่องที่ร้อยละ 30.6 ต่อปี และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 7.1 ต่อเดือน โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักจากยอดจำหน่ายรถกระบะขนาด 1 ตัน ที่ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 25.7 ต่อปี และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัว 6.1 ต่อเดือน ขณะที่ปริมาณนำเข้าสินค้าทุน ในเดือนเมษายน 2561 กลับมาขยายตัวร้อยละ 3.4 ต่อปี และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (mom_SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 1.5 ต่อเดือน สำหรับการลงทุนในหมวดก่อสร้าง พบว่าปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือนเมษายน 2561 ขยายตัวร้อยละ 0.0 ต่อปี นอกจากนี้ ภาษีการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ ในเดือนเมษายน 2561 ขยายตัวที่ร้อยละ 25.2 ต่อปี และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัว 2.9 ต่อเดือน สำหรับดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง ในเดือนเมษายน 2561 ขยายตัวร้อยละ 2.7 ต่อปี โดยมีสาเหตุสำคัญจากการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 ต่อปี หมวดซีเมนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 ต่อปี และหมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 ต่อปี

3. การใช้จ่ายงบประมาณ สะท้อนจากการเบิกจ่ายงบประมาณรวม ในเดือนเมษายน 2561 เบิกจ่ายได้จำนวน 246.4 พันล้านบาท โดยเป็นการเบิกจ่ายงบประมาณปีปัจจุบันจำนวน 236.6 พันล้านบาท แบ่งเป็นการเบิกจ่ายประจำ 211.3 พันล้านบาท และรายจ่ายลงทุน 25.3 พันล้านบาท และเป็นการเบิกจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 9.8 พันล้านบาท ทำให้ใน 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2561 มีการเบิกจ่ายงบประมาณปีปัจจุบันจำนวน 1,707.2 พันล้านบาท โดยแบ่งเป็นรายจ่ายประจำ 1,501.1 พันล้านบาท รายจ่ายลงทุน 206.1 พันล้านบาท และเป็นการเบิกจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 137.4 พันล้านบาท

4. อุปสงค์จากต่างประเทศผ่านการส่งออกสินค้าขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าในเดือนเมษายน 2561 มีมูลค่า 18.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัวต่อเนื่องและเป็นการขยายตัวในระดับสูงถึงร้อยละ 12.3 ต่อปี และเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 14 ติดต่อกัน และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (mom_SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 2.0 ต่อเดือน และเป็นการขยายตัวได้ดีในทุกตลาด โดยเฉพาะตลาดอินเดีย กลุ่ม CLMV สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น เป็นสำคัญ ที่ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อน นอกจากนี้ การส่งออกไปตลาดจีน กลับมาขยายตัวได้ในระดับสูง ทั้งนี้ สินค้าที่สนับสนุนการส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเม็ดพลาสติก เป็นต้น สำหรับมูลค่าการนำเข้าสินค้ามีมูลค่า 20.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 20.4 ต่อปี โดยสินค้านำเข้าที่ขยายตัวได้ดี ได้แก่ เชื้อเพลิง วัตถุดิบ และสินค้าทุน เป็นต้น ทั้งนี้ ผลของมูลค่าการนำเข้าสินค้าที่สูงกว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าส่งผลให้ดุลการค้าในเดือนเมษายน 2561 ขาดดุลจำนวน 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

5. เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยด้านอุปทาน ยังคงได้รับปัจจัยสนับสนุนจากดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรที่ขยายตัวได้ดี และจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยที่ขยายตัวในระดับสูง โดยดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือนเมษายน 2561 ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 9.6 ต่อปี และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 6.1 ต่อเดือน โดยเป็นการขยายตัวได้ดีในหมวดพืชผลสำคัญ หมวดปศุสัตว์ และหมวดประมง ที่ขยายตัวร้อยละ 12.3 2.0 และ 23.8 ตามลำดับ สำหรับจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือนเมษายน 2561 มีจำนวน 3.09 ล้านคน ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 9.4 ต่อปี โดยนักท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ดีมาจากนักท่องเที่ยวชาวจีน เป็นสำคัญ ในขณะที่ นักท่องเที่ยวประเทศอื่นยังคงขยายตัวได้ดี เช่น นักท่องเที่ยวชาวลาว รัสเซีย และไต้หวัน เป็นต้น และสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวต่างประเทศจำนวน 1.57 แสนล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 12.5 ต่อปี ขณะที่ดัชนีราคาสินค้าเกษตรในเดือนเมษายน 2561 หดตัวร้อยละ -9.3 ต่อปี ซึ่งเป็นการหดตัวของราคาในหมวดพืชผลร้อยละ -9.3 จากราคายางพาราและปาล์มน้ำมันที่หดตัวเป็นสำคัญ รวมถึงราคาในหมวดปศุสัตว์และหมวดประมงหดตัวเช่นกัน ที่ร้อยละ -7.0 และ -22.8 ตามลำดับ สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) ในเดือนเมษายน 2561 อยู่ที่ระดับ 89.1 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากในเดือนเมษายน 2561 มีวันทำการน้อยกว่าปกติเนื่องจากมีวันหยุดยาวต่อเนื่องในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประกอบกับผู้ประกอบการได้เร่งผลิตไปแล้วในช่วงเดือนก่อนหน้า นอกจากนี้ ผู้ประกอบการมีความกังวลต่อต้นทุนการผลิตจากราคาวัตถุดิบ ราคาน้ำมันและค่าจ้างแรงงานที่ปรับตัวสูงขึ้น เป็นสำคัญ

6. เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดี และเสถียรภาพภายนอกอยู่ในระดับที่มั่นคง สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนเมษายน 2561 อยู่ที่ร้อยละ 1.1 ต่อปี ขยายตัวสูงสุดในรอบ 14 เดือน โดยสาเหตุหลักมาจากการขยายตัวของราคาน้ำมันขายปลีกเชื้อเพลิง และการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้ากลุ่มอาหารสดเนื่องจากสภาพอากาศแปรปรวน นอกจากนี้ หากพิจารณาอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า พบว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.45 โดยการเพิ่มขึ้นมีที่มาสำคัญจากการเพิ่มขึ้นของราคาอาหารสด และราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นสำคัญ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.6 ต่อปี สำหรับอัตราการว่างงานในเดือนเมษายน 2561 อยู่ที่ร้อยละ 1.1 ของกำลังแรงงานรวม หรือคิดเป็นจำนวนผู้ว่างงาน 4.1 แสนคน ขณะที่สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2561 อยู่ที่ร้อยละ 41.2 ต่อ GDP ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ต่อ GDP สำหรับเสถียรภาพภายนอกยังอยู่ในระดับมั่นคงและสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้ สะท้อนจากทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนเมษายน 2561 อยู่ที่ระดับ 215.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มากกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้น 3.5 เท่า

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๔๑ องค์การอนามัยโลกจับมือประเทศไทย และ 194 ประเทศ เร่งสร้างฉันทมติดันความเสมอภาคสุขภาพช่องปากเป็นวาระโลก
๑๖:๔๔ กรมอนามัยลงพื้นที่จังหวัดสงขลา มอบรางวัลเชิดชูเกียรติเมืองสุขภาพดีระดับประเทศ และรางวัลเครือข่ายเมืองสุขภาพดีระดับภูมิภาคเอเชียใต้และตะวันออก
๑๖:๐๑ EPG มั่นใจยอดขายและอัตรากำไรขั้นต้นในครึ่งหลังของปีบัญชี 67/68 (ต.ค.67 - มี.ค.68) เติบโตดีตามเป้าหมาย เตรียมจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล 6 สตางค์ 9
๑๖:๒๔ 51Talk ส่งเด็กไทยเข้าร่วม COP29 การประชุมแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ บทพิสูจน์การสนับสนุนเยาวชนก้าวสู่เวทีระดับโลก
๑๖:๔๘ ORN เผยโค้งสุดท้ายปี 67 ฟอร์มดี โตต่อเนื่อง ลุยเปิด 3 โครงการใหม่บ้าน-คอนโดฯ มูลค่ารวม 3,070 ล้านบาท
๑๖:๓๓ Dog's Dream คอมมูนิตี้สนามสัตว์เลี้ยงสีเขียว ที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ และปริมณฑล
๑๖:๑๔ ฟูจิฟิล์ม บิสซิเนส อินโนเวชั่น ชูกลยุทธ์ Make a Leap to the New Stage ตอกย้ำพันธกิจขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม
๑๕:๔๓ กรุงศรี ขับเคลื่อนกลยุทธ์ GO ASEAN with krungsri ผสานความแข็งแกร่งและร่วมมือในเครือกรุงศรี MUFG และพันธมิตร
๑๕:๓๔ เผยสีสันแห่งการเฉลิมฉลองช่วงสิ้นปี ผ่านกระเช้าของขวัญจากโรงแรมเจดับบลิว แมริออท กรุงเทพฯ
๑๕:๔๗ Netflix ส่งหนังไทยคว้าชัยระดับโลก! ออกแบบ-ชุติมณฑน์ คว้ารางวัลนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม บนเวที International Emmy Awards ครั้งที่ 52 จากผลงานเรื่อง HUNGER คนหิว