เอไอเอสเดินหน้า ผู้นำ IoT เพื่อประเทศต่อเนื่อง ผนึก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำ IoT เสริมแกร่ง ยกระดับสู่มหาวิทยาลัยอัจฉริยะ - TU Smart City

พฤหัส ๓๑ พฤษภาคม ๒๐๑๘ ๑๒:๕๐
เอไอเอสโชว์ศักยภาพผู้นำนวัตกรรม IoT อันดับ 1 ของไทย บนโครงข่าย NB-IoT ที่ครอบคลุมแล้วทั่วประเทศ โดยมีองค์กรชั้นนำทั้งภาครัฐและเอกชนหลายแห่ง ให้ความไว้วางใจใช้บริการ IoT โซลูชันส์อย่างต่อเนื่อง

ล่าสุด ผนึก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมพัฒนานวัตกรรม IoT ยกระดับโครงการ TU Smart City สู่ มหาวิทยาลัยอัจฉริยะ ด้วยขีดความสามารถของเทคโนโลยีจากเครือข่าย AIS NB-IoT, อุปกรณ์ IoT และ IoT แพลตฟอร์ม แบบครบวงจร

เริ่มต้นใช้งานกับ 3 โซลูชั่นส์ ที่ช่วยบริหารจัดการทรัพยากรและพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ผ่านระบบมอนิเตอร์อัจฉริยะโดยไม่ต้องใช้เจ้าหน้าที่อีกต่อไป ประกอบด้วย Smart License Plate : ระบบตรวจสอบทะเบียนรถเข้าออกภายในบริเวณหอพัก โดยเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลรถที่ได้รับอนุญาต ทำให้สะดวกในการบริหารความปลอดภัยและจัดการพื้นที่จอดรถได้อย่างมีประสิทธิภาพ , Smart Lighting : ระบบควบคุมไฟริมทางตามถนนภายในมหาวิทยาลัยกว่า 5,000 ดวง โดยใช้เซ็นเซอร์ตรวจจับ เพื่อหรี่ไฟอัตโนมัติ เมื่อไม่มีการเคลื่อนไหวในบริเวณนั้น, สามารถตั้งค่าความสว่างในแต่ละโซนได้ รวมทั้งระบบจะแจ้งเตือนทันที เมื่อไฟชำรุด ซึ่งคาดว่าจะช่วยลดการใช้พลังงานในส่วนนี้ได้ถึง 50% และ Smart Locker : บริหารการใช้ตู้ล็อกเกอร์ด้วยระบบ IoT มอบความสะดวกแก่ผู้ใช้ ให้สามารถดูสถานะของตู้ได้ พร้อมระบบล็อกดิจิทัล ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของนักศึกษา/บุคลากร รวมถึงระบบบริหารจัดการพื้นที่และทรัพยากรของมหาวิทยาลัยด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลที่จะช่วยดูแลสิ่งแวดล้อม สร้างความคุ้มค่าอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าองค์กร เอไอเอส กล่าวว่า " วันนี้เรามีความยินดีอย่างยิ่ง ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไว้วางใจเลือกใช้โซลูชันส์ IoT จากเอไอเอส เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนโครงการ "TU Smart City" โดยมีเป้าหมายร่วมกัน คือ ยกระดับการใช้ชีวิตด้วยเทคโนโลยี ควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อม ซึ่งเอไอเอสได้คัดสรรนวัตกรรมดิจิทัลที่กำลังเป็นเทรนด์ของโลก อย่าง Internet of Things หรือ IoT มาให้บริการเชิงพาณิชย์แล้ว โดยนำศักยภาพเครือข่าย NB IoT ที่ครอบคลุมทั่วประเทศแล้วมาผสมผสานกับอุปกรณ์ NB IoT ที่ใช้พลังงานต่ำ แต่สามารถสื่อสารกับเครือข่ายได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ แม้อุปกรณ์นั้นจะอยู่ในพื้นที่ปิด พร้อมด้วยการพัฒนาโซลูชันส์ IoT รวมถึงแพลตฟอร์มที่รองรับการให้บริการ IoT โดยความร่วมมือครั้งนี้เป็นตัวอย่างการร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้าน IoT ต่างๆ ภายใต้โครงการความร่วมมือ AIAP (AIS IoT Alliance Program) เพื่อคิดค้นและออกแบบโซลลูชันส์ต่างๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการใช้งานของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดยเฉพาะ ซึ่งมีการทดสอบ พัฒนา เพื่อปรับให้เหมาะสมกับการใช้งานในพื้นที่มหาวิทยาลัยมากที่สุด โดยทยอยเปิดให้บริการแล้วที่ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต"

ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ครั้งนี้ จะทำให้ TU Smart City กลายเป็นต้นแบบนวัตกรรม IoT ที่ทำให้เราเห็นภาพของการนำโซลูชันส์ต่างๆ เข้ามาใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างกลมกลืนภายในรั้วมหาวิทยาลัย รวมทั้งภาพของการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องใน IoT Ecosystem ซึ่งจะเป็นการจุดประกายของการนำ IoT ไปใช้ใน Scale ที่ใหญ่ขึ้น จากระดับมหาวิทยาลัย สู่ชุมชน เมือง จังหวัด และประเทศ ซึ่งเราเชื่อมั่นว่าต่อจากนี้ Internet of Things จะเป็นเทคโนโลยีที่จับต้องได้และสามารถนำมาเพิ่มโอกาสใหม่ๆ ที่จะยกระดับการใช้ชีวิตของคนไทย พร้อมผลักดันประเทศไทยสู่สังคม Smart City อย่างยั่งยืน"

รองศาสตราจารย์เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า"มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นอกจากจะให้บริการด้านการศึกษาแล้ว เรายังเป็นชุมชนที่มีสมาชิกทั้งนักศึกษาและบุคลากรมากกว่า 10,000 คน ใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่หอพักทุกวัน และมีคนเข้าออกตลอดเวลา ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องมีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ เพื่ออำนวยความสะดวก และดูแลความปลอดภัยอย่างรัดกุม โดยตั้งแต่เราก่อตั้งโครงการ TU Smart City ขึ้นมา เราไม่หยุดนิ่งที่จะสรรหา และพัฒนาโซลูชันส์ต่างๆ เพื่อนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่เข้ามาช่วยจัดการภายในมหาวิทยาลัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเราเลือกใช้บริการ IoT จาก เอไอเอส เนื่องจากพิจารณาเห็นถึงความพร้อมเครือข่าย NB IoT ที่ครอบคลุมทั่วประเทศ รวมถึงมี Digital Platform และอุปกรณ์ที่ครบครัน สามารถนำมาพัฒนาต่อยอดบริการได้หลากหลายรูปแบบ, สามารถปรับใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่ และสอดคล้องกับพฤติกรรมของคนในประชาคมธรรมศาสตร์ ซึ่งในอนาคตเรามีแผนพัฒนาโครงการ TU Smart City อย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นต่อยอดโอกาสใหม่ๆ จากเทคโนโลยีในโลกยุคปัจจุบัน มาสร้างการเปลี่ยนแปลงของการใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยอย่างยั่งยืน"

เอไอเอสพร้อมแล้วที่จะให้บริการ IoT Platform อย่างเต็มรูปแบบและครบวงจร ตั้งแต่เครือข่าย, อุปกรณ์ และแพลตฟอร์ม ให้กับทุกภาคส่วน และพร้อมให้คำปรึกษากับทุกองค์กรที่สนใจนำ IoT ไปใช้ในการทำงาน สนใจติดต่อได้ที่ Corporate call center โทร. 1149 หรือเว็บไซต์ http://business.ais.co.th/iot และผู้ที่สนใจเข้าร่วมเป็นสมาชิกในโครงการความร่วมมือ AIAP (AIS IoT Alliance Program) สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.ais.co.th/AIAP

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ