GIT มุ่งส่งเสริมและพัฒนาการค้าอัญมณีและเครื่องรปะดับในประเทศ กระจายความมั่งคั่งสู่ท้องถิ่น

อังคาร ๑๒ มิถุนายน ๒๐๑๘ ๑๒:๒๒
GIT ส่งผู้เชี่ยวชาญไปทุกภูมิภาคทั่วประเทศ มุ่งพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น นำจุดแข็งของท้องถิ่นและศิลปะวัฒนธรรมมาใช้ในงานเครื่องประดับกระจายความมั่งคั่งสู่ท้องถิ่นไทย โดยผลักดันให้เกิดพัฒนารูปแบบเครื่องประดับ ปลุกปั้นอัตลักษณ์ท้องถิ่นให้กลายเป็นเทรนด์สินค้า พร้อมขยายช่องทางการตลาดสู่สากล

นายราเชนทร์ พจนสุนทร ประธานบริหารสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ กล่าวว่า อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับมีความสำคัญกับประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง ปัจจุบันมีมูลค่าการค้าที่นับรวมทั้งภาคการส่งออกและการค้าภายในประเทศรวมกันราวล้านล้านบาท หรือมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 6.3 ของ GDP อีกทั้งยังมีการจ้างแรงงานอีกกว่าล้านคน โดยเฉพาะในแง่ของการเป็นสินค้าส่งออกนั้น ติดอันดับ 1 ใน 5 มานานนับทศวรรษ ซึ่งมูลค่าการส่งออกของอุตสาหกรรมนี้เติบโตมาอย่างต่อเนื่อง และผลผลิตจากอุตสาหกรรมนี้เกิดจากภูมิ-ปัญญาและฝีมือของแรงงานชาวไทยอย่างแท้จริง

และเพื่อพัฒนาให้เติบโตไปพร้อมกันในทุกภาคส่วน เพื่อให้อุตสาหกรรมนี้มีคุณค่าและมูลค่ามากยิ่งขึ้นอีก ภาครัฐ โดยกระทรวงพาณิชย์ ได้มอบหมายให้ GIT ดำเนิน "โครงการพัฒนาศักยภาพธุรกิจอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในส่วนภูมิภาค" เพื่อสร้างให้มีความเข้มแข็งในการประกอบกิจการและสามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดที่มีสินค้าเครื่องประดับอัตลักษณ์ ที่มีความโดดเด่น เฉพาะตัว อย่างเช่น เครื่องทองสุโขทัย เครื่องเงินล้านนาเชียงใหม่ เครื่องเงินชนเผ่าเมืองน่าน มุกอันดามันจากภูเก็ต รวมถึงพลอยสีจันทบุรี และ ตาก เป็นต้น พร้อมลงพื้นที่เพื่อหาความเป็นไปได้ในการพัฒนาอัตลักษณ์เครื่องประดับท้องถิ่นในจังหวัดต่างๆ ที่น่าสนใจ อาทิ แพร่ ตราด สุรินทร์ สตูล และ เพชรบุรี อีกด้วย

ทั้งนี้ GIT ได้ส่งผู้เชี่ยวชาญไปทุกภูมิภาคทั่วประเทศ เพื่อช่วยพัฒนาคน ฝึกให้รู้จักการประยุกต์นำจุดแข็งของท้องถิ่นและศิลปะวัฒนธรรมมาใช้ในงานเครื่องประดับ พัฒนารูปแบบเครื่องประดับ ปลุกปั้นอัตลักษณ์ท้องถิ่นให้กลายเป็นเทรนด์สินค้า ให้ได้รับความนิยมจากผู้ซื้อในวงกว้างขึ้น ช่วยขยายช่องทางการตลาด และหากผู้ประกอบการรายใดมีศักยภาพมากเพียงพอ ก็จะสนับสนุนให้ได้เข้าร่วมงานแสดงสินค้าระดับนานาชาติ เพื่อขยับขยายไปเป็นผู้ส่งออกได้ในอนาคต

นายราเชนทร์ กล่าวเสริมว่า ปัจจุบัน GIT มุ่งเน้นส่งเสริมและพัฒนาการค้าอัญมณีและเครื่องประดับในตลาดในประเทศมากยิ่งขึ้นเพื่อกระจายความมั่งคั่งสู่ท้องถิ่น นอกเหนือจากตลาดส่งออกที่เติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากตัวเลขมูลค่าการซื้อขายในประเทศอยู่ที่ประมาณ 5 แสนล้านบาท ดังนั้นเราจำเป็นต้องดูแลและสร้างความเชื่อมั่นในการซื้อขายให้แก่ผู้บริโภคทั้งที่เป็นคนไทย 70 ล้านคน และนักท่องเที่ยวต่างชาติอีกกว่า 35 ล้านคน และทำให้นักท่องเที่ยวรู้สึกว่า เมื่อมาถึงเมืองไทยแล้ว ต้องซื้ออัญมณีและเครื่องประดับจากประเทศไทยเป็นของขวัญของฝากคนที่บ้านให้ได้ ในทำนองเดียวกับที่ไปฝรั่งเศสต้องซื้อน้ำหอม ไปอิตาลีต้องซื้อเครื่องหนัง เป็นต้น รวมถึงคิดว่าจะเชื่อมโยงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับเข้ากับเส้นทางการท่องเที่ยว ก่อเกิดเป็นเส้นทางสายอัญมณีและเครื่องประดับ อันทรงคุณค่าของประเทศไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ