ขณะนี้ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดเพชรบูรณ์ มีแผนการก่อสร้างฝายชะลอน้ำประเภทชั่วคราว ในเขตปฏิรูปที่ดิน จำนวน ๑๐ แห่ง คือ หมู่ ๒๐ ตำบลนาสนุ่น อำเภอศรีเทพ (จำนวน 2 แห่ง) หมู่ ๔ ตำบลยางงาม อำเภอหนองไผ่ (จำนวน 2 แห่ง) หมู่ ๒๒ ตำบลพุทธบาท อำเภอชนแดน (จำนวน 2 แห่ง) หมู่ ๕ ตำบลซับพุทรา อำเภอชนแดน (จำนวน 2 แห่ง) หมู่ ๑๕ ตำบลลาดแค อำเภอชนแดน (จำนวน 2 แห่ง) และได้จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการก่อสร้างฝายชะลอน้ำประเภทชั่วคราว ในเขตปฏิรูปที่ดินจังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน ๑ ครั้ง ใน ๕ พื้นที่ ๕ ตำบล โดยใน ๑ ตำบล ส.ป.ก.จะดำเนินการก่อสร้างฝายชะลอน้ำ ๒ แห่ง เมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๖๑ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้จัดเกษตรกรเข้าร่วมอบรม จัดกลุ่มฝายละ ๔ ราย รวม ๔๐ ราย ซึ่งเป็นเกษตรกรตำบลนาสนุ่น อำเภอศรีเทพ ,ตำบลยางงาม อำเภอหนองไผ่ ,ตำบลพุทธบาท ตำบลซับพุทรา ตำบลลาดแค อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ ทั้งนี้ ผู้ผ่านการอบรม จะได้รับองค์ความรู้และประโยชน์ของการก่อสร้างฝายชะลอน้ำฯ เกิดการจ้างแรงงานในพื้นที่ เป็นการกระจายรายได้สู่ชุมชน และสืบสานงานศาสตร์พระราชา ทำให้เกษตรกรและชุมชนมีความรู้ความเข้าใจในการสร้างฝายชะลอน้ำฯ ในเขตปฏิรูปที่ดิน ได้ร่วมแรง ร่วมใจในการทำกิจกรรมที่เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม ซึ่งเป็นความต้องการของเกษตรกรในพื้นที่ โดยคัดเลือกพื้นที่ที่อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินและพื้นที่โครงการกองทุนที่ดินที่ราษฎรได้รับการจัดสรร (พื้นที่ในตำบลนาสนุ่น อำเภอศรีเทพ) ในการก่อสร้างฝายชะลอน้ำ โดยใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น โดยรัฐบาลมุ่งให้เป็นงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจ กระจายรายได้สู่ชุมชน นอกจากนี้ ยังเป็นกิจกรรม การอนุรักษ์แหล่งต้นน้ำลำธาร และรักษาระบบนิเวศน์ทางธรรมชาติ เสริมสร้างองค์ความรู้ ในการสร้างฝายชะลอน้ำฯ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์ของฝายชะลอน้ำฯ และมีการขยายผลในพื้นที่อื่นๆ ในช่องทางต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ เอกสารเผยแพร่ สื่อสารมวลชน เครือข่ายเกษตรกรและผู้สนใจ
ทั้งนี้ โครงการก่อสร้างฝายชะลอน้ำประเภทชั่วคราวในเขตปฏิรูปที่ดิน เป็นโครงการที่ดำเนินการ ภายใต้งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมกลางปีงบประมาณ 2561 ซึ่งสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 6,482,800 บาท เพื่อจัดทำโครงการก่อสร้างฝายชะลอน้ำประเภทชั่วคราว ในเขตปฏิรูปที่ดิน ครอบคลุมพื้นที่ 23 จังหวัด จำนวนฝาย 244 แห่ง ในพื้นที่ภาคเหนือ 11 จังหวัด (กำแพงเพชร เชียงราย ตาก นครสวรรค์ น่าน พะเยา เพชรบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำพูน อุตรดิตถ์) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 10 จังหวัด (กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ นครราชสีมา บึงกาฬ บุรีรัมย์ มุกดาหาร สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อุบลราชธานี) และภาคกลาง 2 จังหวัด (ลพบุรี สระบุรี)
สำหรับงบประมาณที่ใช้ในการสร้างฝาย จำนวน 9,370 บาท ต่อ 1 ฝาย จัดแบ่งค่าใช้จ่ายเป็น 2 ส่วน คือ 1).ค่าวัสดุ เป็นเงินประมาณ 5,770 บาท 2).ค่าจ้างแรงงาน เป็นเงินประมาณ 3,600 บาท โดยใช้แรงงาน 4 ราย ระยะเวลาทำงาน 3 วันต่อฝาย 1 แห่ง สำหรับวัสดุที่ใช้ทำกิจกรรม คือ ๑.) ใช้ไม้ไผ่หรือไม้อื่นๆ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง3"-4" ความยาว 6 เมตร ๒.) ปูนซีเมนต์ จำนวน 14 ถุง 3.) ทรายหยาบ จำนวน 4.50 ลูกบาศก์เมตร 4.) ตะปูตอกไม้ ขนาด 5" จำนวน 2.50 กิโลกรัม 5.) กระสอบทราย 18" x 30" จำนวน 130 ใบ และ 6.) เชือกใยยักษ์ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 มิลลิเมตร จำนวน 265 เมตร