วสท. ครบรอบ 75 ปี จัดเสวนา เรื่อง “ทำอย่างไร EEC จะสนองตอบเศรษฐกิจ และสังคมได้คุ้มค่ายั่งยืนที่สุด”

พฤหัส ๐๓ พฤษภาคม ๒๐๑๘ ๑๗:๐๕
เนื่องในโอกาสประชุมใหญ่สามัญประจำปี และวาระวสท.ครบรอบ 75 ปี วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ วสท.เผยนโยบายหลัก และแผนดำเนินงานปี 2561 จัดเสวนาเรื่อง "ทำอย่างไร EEC จะสนองตอบเศรษฐกิจ และสังคมได้คุ้มค่ายั่งยืนที่สุด" เผยมุมมอง อีอีซี จาก 3 ผู้เสวนา นายเจริญชัย ประเทืองสุขศรี ประธานคณะทำงานโครงการลงทุน โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก, นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สนง.คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน, และ นายจุลเทพ จิตะสมบัติวิศวกรอำนวยการศูนย์โครงการปรับปรุงทางการรถไฟแห่งประเทศไทย

ดร.ธเนศ วีระศิริ นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) กล่าวว่าในวาระครบรอบ 75 ปี วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ฯ เรายึดมั่นในวิสัยทัศน์ในการเป็นองค์กรเสาหลักด้านวิศวกรรมของประเทศอันเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ปัจจุบันมีจำนวนสมาชิก 20,587 ราย สำหรับปี 2561 นี้เป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาไปข้างหน้าให้รองรับเทคโนโลยี การค้าและโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และเตรียมความพร้อมไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 เมื่อเร็วๆนี้วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ ได้รับการจดทะเบียนเป็นองค์กรกำหนดมาตรฐานประเภทขั้นสูงในหลายสาขา ได้แก่ สาขาเทคนิคการก่อสร้างอาคาร, สาขาผลิตภัณฑ์คอนกรีต, สาขาไฟฟ้าและสายไฟฟ้ากำลัง, สาขาระบบขับเคลื่อนขับหมุนและเบรกยานยนต์, สาขามลพิษ เสียง และพลังงานยานยนต์, สาขาหม้อน้ำและภาชนะรับความดัน, สาขาระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม, สาขาระบบการจัดการความเสี่ยง อาชีวอนามัยและความปลอดภัย

ส่วนแผนดำเนินงานในปี 2561 ของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ มีดังนี้ 1.ทบทวนมาตรฐานทางวิศวกรรมที่ใช้ในประเทศไทยให้สอดคล้องกับเทคโนโลยี การค้าและโลกที่เปลี่ยนแปลงไป 2.ส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพวิศวกรรม คู่มือ ตำรา จัดทำวารสารทางวิชาการในระดับนานาชาติเพื่อเผยแพร่ศักยภาพวิศวกรไทยให้เป็นที่ประจักษ์ในระดับอาเซียน รวมทั้งพัฒนาวิศวกรรมสารให้เป็นแหล่งความรู้ของวิศวกรไทยแก่วิศวกรทุกสาขา ให้มีศักยภาพในระดับสากล และส่งเสริมการพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้จะจัดการอบรมให้ครอบคลุมระดับงานช่าง 3.เป็นศูนย์รวมวิชาการและวิชาชีพที่ทันสมัย และจัดอบรมสัมมนาให้ความรู้แก่สาชิกและบุคคลากรภาครัฐและภาคเอกชน จำนวนปีละกว่า 300 หลักสูตร เพื่อพัฒนาบุคลากร เทคโนโลยีทางวิศวกรรมของประเทศ 4. การให้บริการแก่สาชิกและประชาชน ให้คำปรึกษาช่วยเหลือด้านวิชาการและวิชาชีพแก่ประชาชน เช่น กิจกรรม "คลินิกช่าง" , การวิเคราะห์ให้ความรู้ประชาชน ผ่านสื่อมวลชน เช่น วิทยุ โทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อออนไลน์ 5.ส่งเสริมความร่วมมือกับองค์กรต่างๆทั้งในและต่างประเทศ ขยายเครือข่ายทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค สมาคมวิชาชีพและพันธมิตร รวมทั้งส่วนราชการ และองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น รวมทั้งการจัดทำกิจกรรมร่วมกันทั้งระดับกรรมการและเจ้าหน้าที 6.กิจกรรมช่วยเหลือสังคม เมื่อเกิดอุบัติภัย กลุ่ม"วิศวกรอาสา" และคณะทำงาน ลงพื้นที่ไปวิเคราะห์เกี่ยวกับอุบัติภัยต่างๆ ที่เกิดขึ้น ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบตามหลักวิศวกรรม ให้ความกระจ่างและแนะนำต่อหน่วยงานและสาธารณชนอย่างถูกต้อง รวมทั้งวิศวกรอาสาประจำสำนักงานในการตอบข้อซักถาม ให้คำปรึกษาผ่านโทรศัพท์และสื่อออนไลน์ และการช่วยเหลือกรณีเกิดเหตุภัยพิบัติ 7. วสท.กำหนดจัดงานวิศวกรรมแห่งชาติ ประจำปี 2561 ภายใต้ธีม Smart Engineering, Smart Life and Smart Nation ในวันที่ 1-3 พฤศจิกายนนี้ ณ.ฮอลล์ 9 อาคารอิมแพคฟอรั่ม ซึ่งเป็นงานแสดงนิทรรศการ นวัตกรรมทางวิศวกรรมที่โดดเด่น สำหรับกลุ่มเป้าหมายวิศวกร คนทำงาน ครอบครัว และประชาชนทั่วไป 8.สร้างแรงจูงใจให้คนรุ่นใหม่เข้าสู่วิชาชีพวิศวกรรมให้มากขึ้นเพื่อสนับสนุนนวัตกรรม การพัฒนาประเทศ และโครงการอีอีซี

ในงานครั้งนี้ได้เปิดเวทีเสวนา เรื่อง เรื่อง "ทำอย่างไร EEC จะสนองตอบเศรษฐกิจ และสังคมได้คุ้มค่ายั่งยืนที่สุด" นายเจริญชัย ประเทืองสุขศรี ประธานคณะทำงานโครงการลงทุน(อีอีซี) กล่าวว่า EEC เป็นแม่เหล็กในการขับเคลื่อนการลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมายสู่ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศภายใต้ไทยแลนด์ 4.0 โดยยกระดับพื้นที่เขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก 3 จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง ให้กลายเป็น "World-Class Economic Zone" รองรับการลงทุนอุตสาหกรรม Super Cluster และ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอีก 20 ปีข้างหน้า โดยมีเงินลงทุนใน 5 ปี ข้างหน้าไม่ต่ำกว่า 1.7 ล้านล้านบาท และถ้ามีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ 1.การพัฒนาสนามบินนานาชาติอู่ตะเภาและพัฒนาเมืองใหม่ ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง 2.โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน แบบไร้รอยต่อ (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา),3. โครงการพัฒนาท่าเรือ แหลมฉบัง ระยะที่ 3 และ 4.โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรม มาบตาพุด ระยะที่ 3 รวมทั้งการดึงบริษัทชั้นนำทั่วโลกเข้ามาลงทุนก็จะทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ของไทยเติบโตเฉลี่ย 5 % ต่อปี

นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สนง.คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กล่าวว่า ใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ ซึ่งประกอบด้วย First S-curve ต่อยอด 5 อุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ ได้แก่ 1. อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ 2. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ 3. อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 4. การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ 5. อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร และ New S-curve การเติม 5 อุตสาหกรรมแห่งอนาคต ได้แก่ 1. อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ 2. อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ 3. อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ 4. อุตสาหกรรมดิจิตอล 5. อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร โดยในปี 2560 คำขอรับการส่งเสริมมีมูลค่า 6 แสนล้านบาท เป็นคำขอการส่งเสริมในพื้นที่ EEC ถึง 46 % หรือ 296,890 ล้านบาท ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา 39,239 ล้านบาท คิดเป็น 13 % จังหวัดชลบุรี 67,876 ล้านบาท คิดเป็น 23% จังหวัดระยอง 189,775 ล้านบาท คิดเป็น 64% คาดว่าปีนี้จะมียอดคำขอส่งเสริมการลงทุนในอีอีซี ไม่น้อยกว่า 3 แสนล้านบาท

ทั้งนี้ปัจจุบันนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในอีอีซี อันดับ 1 เป็นญี่ปุ่น และมีนักลงทุนจีนเป็นอันดับ 2 ซึ่งมีแนวโน้มว่าอาจแซงหน้าญี่ปุ่น หลังจากอาลีบาบาเข้ามาลงทุน ส่วนนักลงทุนไทยที่เข้ามาลงทุนในอีอีซีขณะนี้มีสัดส่วน 1 ใน 3 ของนักลงทุนทั้งหมด

นายจุลเทพ จิตะสมบัติ วิศวกรอำนวยการศูนย์โครงการปรับปรุงทางการรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวว่า แนวเส้นทางโครงการ และโครงการไกล้เคียงที่จะรองรับการขนส่งคนและสินค้า ประกอบไปด้วย รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง–สุวรรณภูมิ–อู่ตะเภา) เป็นหนึ่งในแผนงานสำคัญด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมและโลจิสติกส์ แนวเส้นทางดังกล่าวจะพาดผ่านพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ระยะทางรวมทั้งสิ้น 260 กิโลเมตร รถไฟความเร็วสูงระยะที่ 2 ซึ่งจะเริ่มจาก สถานีอู่ตะเภา ต่อไปยัง ระยอง-จันทบุรี-ตราด รถไฟระยะเร่งด่วน เชื่อมโยง 3 ท่าเรือ ได้แก่ ท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือสัตหีบ ท่าเรือมาบตาพุด รถไฟระยะกลาง รองรับนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งเริ่มจาก ชุมทางศรีราชา-ระยอง-จันทบุรี-ตราด และ รถไฟเชื่อมโยงภูมิภาค

ด้านความคืบหน้าโครงการรถไฟ 1.โครงการรถไฟทางคู่ เชื่อม 3 ท่าเรือ ปัจจุบันอยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียด 2.โครงการรถไฟทางคู่รองรับอุตสาหกรรมปัจจุบัน อยู่ระหว่างการดำเนินการขออนุมัติงบกลางเพื่อทำผลการศึกษาความเหมาะสมของโครงการ 3.โครงการรถไฟทางคู่เชื่อมโยงภูมิภาค จะเริ่มดำเนินการศึกษาความเหมาะสมของโครงการในปี 2563 4.โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ระยะที่ 1 (ดอนเมือง - สุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา ) ปัจจุบัน ครม. อนุมัติแล้ว อยู่ระหว่างคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุน จะเริ่มก่อสร้างปี 2562 -2566 รถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ระยะที่ 2 ( อู่ตะเภา - ระยอง - จันทบุรี - ตราด) ยังอยู่ระหว่างดำเนินการขออนุมัติงบกลางศึกษาความเหมาะสมของโครงการ และสำรวจออกแบบรายละเอียดโครงการ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ