ทั้งนี้ในการลงพื้นที่พบผู้ประกอบการ OTOP จ.กาฬสินธุ์ ประกอบด้วย กลุ่มสมุนไพรไม่ใช่อาหาร ได้แก่ กลุ่มสมุนไพรเหมือดแอ่ กลุ่มสมุนไพรผมสวย ซึ่งพบว่ากลุ่มผู้ประกอบการสมุนไพรทั้ง 2 กลุ่ม มีความต้องการพัฒนาเรื่องกระบวนการผลิต ระบบมาตรฐาน และนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ เพื่อส่งเสริมให้มีผลิตภัณฑ์ใหม่ ที่แตกต่างจากเดิม และ กลุ่มผู้ผ้าทอ ได้แก่ กลุ่มสตรีทอผ้าพื้นเมืองบ้านคำบง กลุ่มผู้ทอผ้าไทบ้านกุดกาไต้ กลุ่มทอผ้าสี่ตะกร้อและผ้าขาวม้า และกลุ่มชุมชนผู้ไทวัดวังคำ ซึ่งพบว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่ มีความพร้อมในเรื่องวัตถุดิบ และกระบวนการผลิตแล้ว แต่ยังมีความต้องการองค์ความรู้เพื่อพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ผ้าทอเพิ่มมากขึ้นทั้งการเพิ่มลวดลายและบรรจุภัณฑ์ใหม่ ๆ ซึ่งทีมงานนักวิทยาศาสตร์จะได้นำข้อมูลประเด็นปัญหาและความต้องการของผู้ประกอบการ มาจัดทำแผนพัฒนาถ่ายทอดเทคโนโลยี ที่จะส่งผลต่อการยกระดับผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภค ช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้าและสร้างโอกาสการแข่งขันทางการตลาดได้อย่างเป็นรูปธรรม
- ธ.ค. ๑๖๑๑ วว./วช./บพท. ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากจังหวัดกาฬสินธุ์ ด้วย 10 เทคโนโลยีการเกษตร
- ธ.ค. ๒๕๖๗ 60 ปี วว. ก้าวต่อไปสู่งานวิจัยและพัฒนาเพื่อชุมชน/ท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
- ธ.ค. ๒๕๖๗ วว. ประชุมหารือนำผลงานวิจัยสนับสนุนส่งเสริมการดำเนินงานมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์เ แก้ไขปัญหาความยากจนในพื้นที่แบบเบ็ดเสร็จ