มทร.ธัญบุรี ปลื้ม รัฐมอบดูแลวิทยาลัยและโรงเรียนเครือข่าย 15 แห่ง พัฒนาระบบการเรียนรูปแบบใหม่ STEM ศึกษา

พฤหัส ๒๑ มิถุนายน ๒๐๑๘ ๑๗:๒๗
รศ.ดร.ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี เผยว่า มหาวิทยาลัยได้ลงนามความร่วมมือกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โครงการสื่อการสอนโปรแกรมมิ่งในโรงเรียน และโครงการโรงประลองต้นแบบทางวิศวกรรม (Fabrication Lab) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานภายใต้โครงการ Big Rock Project หรือโครงการส่งเสริมและสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจภายในประเทศ เพื่อปลูกฝังเยาวชนคนรุ่นใหม่ให้มีกระบวนการคิดวิเคราะห์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระจายองค์ความรู้ให้เข้าถึงได้โดยเฉพาะโรงเรียนภูมิภาค ซึ่งจะเป็นรากฐานของการสร้างนวัตกรรมของประเทศตามแนวทางการพัฒนาตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0

โครงการดังกล่าวได้ส่งเสริมให้มีการจัดพื้นที่การเรียนรู้ 'โรงประลองต้นแบบทางวิศวกรรม' ในสถานศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษา และร่วมพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนและครู ให้มีทักษะด้านวิศวกรรม ส่งเสริมการคิดอย่างสร้างสรรค์และสามารถออกแบบสร้างชิ้นงานโดยการใช้เครื่องมือทางวิศวกรรมและเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ โดย มทร.ธัญบุรี ได้เข้าร่วมในฐานะมหาวิทยาลัยพี่เลี้ยง โดยให้คำปรึกษาในการพัฒนาทักษะและความสามารถของนักเรียนและครูที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากโรงประลองต้นแบบทางวิศวกรรม มีชิ้นงานหรือโครงการเกิดขึ้น ซึ่ง มทร.ธัญบุรี ดูแลทั้งหมด 15 แห่ง ตามรายชื่อสถานศึกษาที่ผ่านการคัดเลือก และเชื่อว่าโครงการนี้จะทำให้เด็กนักเรียนเกิดแรงบันดาลใจและสนใจที่จะประกอบอาชีพวิศวกรหรือนวัตกรในอนาคต

ด้าน ดร.จุฬาลักษณ์ วัฒนานนท์ อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.ธัญบุรี และเป็น STEM Ambassador Thailand กล่าวว่า เราจะเน้นความรู้ใน 4 ด้านทั้งวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีและคณิตศาสตร์ หรือที่เรียกว่าการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง STEM เข้ามาใช้ในโครงการเพื่อให้สัมฤทธิ์ผล เกิดการเชื่อมโยงเนื้อหาอย่างมีเหตุมีผล ลดช่องทางทักษะการเรียนรู้ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานนำไปสู่การเป็นนักปฏิบัติมืออาชีพต่อไปได้ โดยโครงการนี้เป็นความร่วมมือจากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโนลยี และคณะครุศาตร์อุตสาหกรรม ในการพัฒนาบ่มเพาะให้นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการการเรียนรู้ โดยนำแนวทาง STEM มาใช้ในการสร้างเสริมความเข้าใจของศาสตร์ต่าง ๆ ตลอดจนพัฒนาความสามารถในการประยุกต์ใช้ศาสตร์เหล่านี้ในการแก้ปัญหาจริง

ผศ.จักรี รัศมีฉาย อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มทร.ธัญบุรี กล่าวเสริมว่า โครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ในลักษณะดังกล่าวนี้ คือการมีสถานที่ฝึกการเรียนรู้ การทดลอง และการลงมือปฏิบัติเพื่อสร้างชิ้นงานให้เกิดขึ้นต่อไป อันจะนำไปสู่ความเข้าใจในศาสตร์ต่าง ๆ อย่างถ่องแท้

Rajamangala University of Technology Thanyaburi

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

Website : www.rmutt.ac.th

กองประชาสัมพันธ์ โทร. 0-2549-4990-2

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ