"ฆ่าตัวตาย" ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ ไม่ได้เกิดขึ้นทุกคน แต่พบปัจจัยเสี่ยงเสมอ

อังคาร ๒๖ มิถุนายน ๒๐๑๘ ๑๕:๔๓
"การฆ่าตัวตายไม่ใช่เรื่องบังเอิญ" โดย นายแพทย์ธรณินทร์ กองสุข

หลังจากโปรโมทไปว่า "การฆ่าตัวตายไม่ใช่เรื่องบังเอิญ" ....เตรียมพบกับ "Suicide Series" โดย นายแพทย์ธรณินทร์ กองสุข ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสวนปรุง ผู้คิดค้นดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าเป็นท่านแรกของเมืองไทย

วันนี้ มาพบกับ ท่านนายแพทย์ธรณินทร์ ซึ่งมีลูกศิษย์มากมายในวงการจิตเวชเมืองไทย เป็นจิตแพทย์ที่มีวิสัยทัศน์ดี โดยทาง กองบรรณาธิการ เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com และ เพจ Sasook ได้รู้จักกับอาจารย์ธรณินทร์ ช่วงรอยต่อระหว่างที่ท่านย้ายจากโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ จังหวัดอุบลราชธานี มาเป็น ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสวนปรุง

สถานการณ์การฆ่าตัวตายทวีคูณรุนแรงมากขึ้น ท่านสละเวลามาถ่ายทอดความรู้ให้แฟนๆ เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com และ เพจ Sasook ศึกษาเรียนรู้ โดยเฉพาะนักศึกษาด้านจิตวิทยาตามมหาวิทยาลัยต่างๆ ใน "Suicide series ตอนที่ 1"

ในช่วงเวลา 2-3 เดือนที่ผ่านมามีข่าวของการฆ่าตัวตายของคนไทยอย่างต่อเนื่อง ทั้งข่าวหมอกระโดดน้ำฆ่าตัวตายนักวิชาการสาธารณสุขผูกคอจนเสียชีวิต , ผู้สูงอายุน้อยใจลูกไม่สนใจ ผูกคอจนเสียชีวิต

เชื่อว่าพอทุกท่านได้อ่านข่าวก็จะรู้สึกสลดใจจากนั้นก็จะมีคำถามผุดขึ้นมาในใจว่าเป็นเพราะอะไรทำไมถึงฆ่าตัวตายเขามีเรื่องทุกข์ใจอะไรที่มากจนแก้ไขไม่ได้

ซึ่งคำถามเหล่านี้นักวิชาการ ได้มีการศึกษาวิจัยเพื่อที่จะหาคำตอบกันมานานความรู้ความเข้าใจในพฤติกรรมการฆ่าตัวตายในมนุษย์มีเพิ่มขึ้นตามลำดับแต่ถึงอย่างไรก็ยังไม่มีทฤษฎีหนึ่งเดียว ที่สามารถอธิบายได้อย่างครบถ้วน

ผมจึงอยากจะกล่าวถึงองค์ความรู้เกี่ยวกับการฆ่าตัวตายในปัจจุบันอย่างง่ายๆดังนี้…

…การฆ่าตัวตายไม่ใช่เรื่องบังเอิญ …พฤติกรรมการฆ่าตัวตายเป็นเหตุการณ์ซับซ้อนมีหลายปัจจัยที่มาเกี่ยวข้องเช่นปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยทางสังคมวัฒนธรรมปัจจัยทางชีววิทยา ปัจจัยทางจิตวิทยาและสิ่งแวดล้อม

…การฆ่าตัวตายไม่ใช่พฤติกรรมปกติของคนทั่วไป องค์การอนามัยโลกถือว่าการพยายามฆ่าตัวตายเป็นความผิดปกติที่ต้องได้รับการป้องกันบำบัดรักษาความคิดฆ่าตัวตายและการฆ่าตัวตายไม่ได้เกิดขึ้นกับคนทุกคน

แต่จะเกิดขึ้นในคนที่มีปัจจัยเสี่ยง ( คำว่าปัจจัยเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายก็คือ …อะไรก็ตามที่คนนั้นมีหรือสัมผัสแล้วจะเกิดโอกาสสูงที่จะมีความคิดและพฤติกรรมฆ่าตัวตาย

เช่นป่วยเป็นโรคซึมเศร้า หรือ ติดสุราสารเสพติดป่วยด้วยโรคทางกายที่รุนแรงหรือเรื้อรังมีบุคลิกภาพหุนหันพลันแล่นถูกทารุณทางกายหรือทางเพศในวัยเด็กเป็นต้น)

คนที่มีปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ในทางการแพทย์จะเรียกว่ากลุ่มเสี่ยง ซึ่งจากการสำรวจโรคจิตเวชและปัญหาสุขภาพจิตของกรมสุขภาพจิตในปี2551 พบว่าคนไทยที่มีอายุตั้งแต่15ปีขึ้นไปมีความเสี่ยงของการฆ่าตัวตายร้อยละ7.3 หรือประมาณ 3.5 ล้านคน

…และจากการวิจัยก็พบว่าผู้ที่ฆ่าตัวตายทุกรายมักจะมีความคิดฆ่าตัวตายมาก่อนเสมอในปี 2556 กรมสุขภาพจิตได้สำรวจพบคนไทยอายุตั้งแต่28ปีขึ้นไปมีความคิดฆ่าตัวตายร้อยละ 3.5 หรือประมาณ 1.8ล้านคนซึ่งนี่ก็เป็นกลุ่มเสี่ยงในคนไทย

…จากการวิจัยธรรมชาติของการฆ่าตัวตายที่ไม่ได้เป็นการอุทิศตนต่อความเชื่อหรือศาสนาหรือพลีชีพเพื่อชาติเพื่อกลุ่มเพื่อเผ่าพันธุ์พบว่ากลุ่มเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายดังที่กล่าวมาเมื่อมีปัจจัยกระตุ้น (เช่นประสบปัญหา ในชีวิตที่ทำให้รู้สึกพ่ายแพ้อับอายขายหน้าแล้วรู้สึกอับจนหนทาง

หรืออาการทางจิตของโรคจิตเวชที่เป็นอยู่กำเริบ หรือ เป็นพิษจากสารเสพติดที่เสพ ) จะเกิดความคิดฆ่าตัวตายเมื่อมีความคิดฆ่าตัวตายแล้วหากเคยพบเห็นหรือเคยทราบวิธีการฆ่าตัวตาย หรือ มีอุปกรณ์ที่สามารถใช้ฆ่าตัวตาย หรือมีความหุนหันพลันแล่นก็จะนำไปสู่การกระทำเพื่อฆ่าตัวตาย

ผลจากการกระทำอาจถึงแก่ชีวิตหรือพิการหรืออาจเพียงบาดเจ็บซึ่งจากการวิจัยผู้ที่รอดชีวิตจากการพยายามฆ่าตัวตายเมื่อติดตามไประยะยาวพบว่าร้อยละ 10-14 เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายในที่สุดนั่น หมายความว่ากลุ่มผู้รอดชีวิตเหล่านี้ก็คือผู้มีความเสี่ยงสูงที่จะฆ่าตัวตายสำเร็จนั่นเอง

… หากผู้อ่านสนใจติดตามหรือได้อ่านข่าวการฆ่าตัวตายก็จะเห็นได้ว่าส่วนใหญ่แล้วเรื่องราวรายละเอียดและพฤติกรรมที่เกิดขึ้นก็จะมีลักษณะเหมือนกับที่ผมได้กล่าวมาข้างต้น

ติดตาม Suicide series ทาง เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com และ เพจ Sasook ในวันอังคาร และ พฤหัสบดีของสัปดาห์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO