รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ แนะเร่งยกเครื่องอุดมศึกษา ๔.๐ นำไทยก้าวข้ามกับดักประเทศรายได้ปานกลาง

ศุกร์ ๒๙ มิถุนายน ๒๐๑๘ ๑๑:๐๕
ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการ เรื่อง "การจัดการศึกษาเพื่อนำพาประเทศไทยก้าวข้ามกับดักประเทศรายได้ปานกลาง"

โดย ดร.ชัยยศ อิ่มสุวรรณ์ รองเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) นายเฉลิมชนม์ แน่นหนา ที่ปรึกษาด้านระบบการศึกษา สกศ. พร้อมผู้บริหาร นักวิชาการ นักการศึกษา และผู้แทนสถาบันการศึกษา จำนวน ๓๐๐ คน ร่วมประชุม ณ ห้องประชุมเรนโบว์ ฮอลล์ ชั้น ๑๗ โรงแรมใบหยก สกาย กรุงเทพมหานคร

โอกาสนี้ ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้เกียรติบรรยายพิเศษความสำคัญตอนหนึ่งว่า การเพิ่มรายได้ของประเทศต้องพึ่งพาการผลิตเองในประเทศ ต้องปรับแนวคิดใหม่โดยใช้นวัตกรรมเข้ามาช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มของผลผลิตประเทศ การพัฒนาการศึกษาโดยเฉพาะการยกระดับทรัพยากรมนุษย์จึงมีความสำคัญยิ่งต่อการขับเคลื่อนพัฒนาประเทศ กระทรวงศึกษาธิการผลักดันหลายเรื่อง เช่น บัณฑิตพันธุ์ใหม่ เพื่อสร้างสมรรถนะ ปรับการเรียนการสอนใหม่ สร้างการเรียนรู้โดยภาคปฏิบัติ กระตุ้นให้เกิดการคิดวิเคราะห์ สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ สามารถมีสมรรถนะทำงานได้จริง พัฒนาให้เป็นกำลังคน ๔.๐ รองรับการพัฒนาไปสู่ประเทศไทย ๔.๐

ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์อุดม คชินทร กล่าวต่อว่า ประเทศไทย มีเป้าหมายสำคัญในยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๘๐) คือ ประเทศไทยต้องหลุดพ้นกับดักประเทศรายได้ปานกลาง ภายในปี ๒๕๗๙ มุ่งเป้าชัดเจนเป็น ๔.๐ โดยใช้นวัตกรรมสร้างสรรค์ผลผลิตในประเทศเพื่อสร้างคุณค่าเพิ่มทางการศึกษามีส่วนสำคัญที่สุด โดยใช้ระบบอุดมศึกษานำร่องสร้างคน ๔.๐ ทั้งนี้ สถาบันอุดมศึกษาต้องใช้การวิจัยและพัฒนารองรับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ดังนั้น มหาวิทยาลัยต้องก้าวเป็น ๔.๐ เสียก่อน อย่างไรก็ดี ทั้งระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา คือแหล่งทรัพยากรมนุษย์ชั้นดีส่งเข้าสู่ระดับอุดมศึกษา ต้องเกิดความเชื่อมโยงกันในแต่ละระดับที่มีความสำคัญทั้งสิ้น

ปัญหาของประเทศวันนี้คือ ต้องมีความรู้เท่าทันโลกศตวรรษที่ ๒๑ สร้างให้เกิดการบ่มเพาะทักษะแก่ผู้เรียนเข้มข้นขึ้นเรื่อย ๆ เปลี่ยนจากการสอนเป็นการถามคำถาม สร้างให้เด็กรู้จักคิดวิเคราะห์เองได้ด้วยองค์ประกอบที่มีทั้งความรู้และทักษะ ตลอดจนการสร้างบุคลิกอุปนิสัยที่ดี เป้าหมายสำคัญต้องตอบโจทย์ของประเทศและโลก เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ภายในปี ค.ศ. ๒๐๒๕ กำลังงานที่เข้าสู่ตลาดแรงงานจะถูกแทนด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) หากกระบวนการเรียนการสอน การดำรงชีวิตของโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีพัฒนาไปอย่างก้าวกระโดด การศึกษาต้องเตรียมคนที่มีคุณภาพสูง ศักยภาพสูง ทักษะสูง รองรับการแข่งขัน สร้างองค์ความรู้เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่

รัฐบาลต้องการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ปรับเปลี่ยนปรัชญาการศึกษาให้ตอบโจทย์ประเทศ ตอบโจทย์อุตสาหกรรมใหม่ (New S-Curve) ผลิตและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วยการสร้างนวัตกรรม

ผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดย IMD ประจำปี ๒๕๖๑ ไทย อยู่อันดับที่ ๓๐ จำเป็นต้องพัฒนาแก้ปัญหาการศึกษาให้ดีขึ้นสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของโลกดิจิทัล

ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) เป็นฐานการพัฒนาเศรษฐกิจที่สำคัญเพื่อตอบโจทย์การแข่งขัน แต่จำเป็นต้องผลิตกำลังคนที่มีสมรรถนะ คุณภาพ และมีทักษะ ในการตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานในอนาคต ดังนั้น สถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยของไทยต้องปรับตัวในหลายด้าน เพื่อพัฒนาทักษะ สมรรถนะกำลังคนที่ออกสู้ตลาดแรงงานสอดคล้อง New S-Curve สร้างศักยภาพกำลังคนให้มีความพร้อม

นอกจากนี้ สถาบันอุดมศึกษา ต้องสร้างความร่วมมือกันขยายเครือข่ายการวิจัยอย่างเข้มแข็ง โดยแสวงหาความร่วมมือจากภาคเอกชน เพื่อต่อยอดงานวิจัยไปสู่การสร้างนวัตกรรมที่มีมูลค่าเป็นผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ ดังนั้น ต้องเร่งเปลี่ยนทัศนคติการศึกษาเสียใหม่ สร้างการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ และสร้างความร่วมมือจากทุกฝ่าย เพื่อสร้างนวัตกรรมต่อยอดการพัฒนาประเทศให้ได้ หากสามารถผลิตกำลังคนที่มีคุณภาพจากภาคการศึกษา หรือยกระดับคนนอกภาคการศึกษาทั้งสังคม ให้มีคุณภาพ มีศักยภาพ ย่อมก่อให้เกิดผลที่ดีต่อภาคการผลิต ภาคเศรษฐกิจและสังคม และนำพาประเทศไทยให้ก้าวข้ามกับดักประเทศรายได้ปานกลางในอนาคต

"มหาวิทยาลัย ต้องมุ่งมั่นสร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพสูง ไม่มีใครเก่งที่สุด แต่จะเก่งอย่างไรในศตวรรษที่ ๒๑ จึงต้องสร้างบัณฑิตที่มีความรู้ สมรรถนะ และทักษะชั้นเยี่ยมเข้าสู่ตลาดแรงงาน เรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย ตอบโจทย์ประเทศไทย ๔.๐" ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์อุดม กล่าว

ต่อมาในการเสวนาเรื่อง "จัดการศึกษาอย่างไร ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนการศึกษาแห่งชาติ มาตรฐานการศึกษาของชาติ เพื่อนำพาประเทศไทยก้าวข้ามกับดักประเทศไทยรายได้ปานกลาง" โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ๔ ท่าน ร่วมเสวนาถ่ายทอดแนวคิดอย่างหลากหลายและมีประเด็นน่าสนใจยิ่ง

นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการกลุ่มมิตรผล กล่าวว่า การจัดการศึกษาประสิทธิภาพแรงงานไทย การแข่งขันจึงต้องปฏิรูประบบการเกษตรเพิ่มมูลค่าพืชผลต่าง ๆ มีมูลค่าสูง ภาคบริการ เช่น การท่องเที่ยว ธุรกิจโรงแรม ฯลฯ มีมูลค่าสูงดีอยู่แล้ว ส่วนภาคอุตสาหกรรม ต้องเร่งใช้งานวิจัยสร้างนวัตกรรมใหม่ และดึงภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมกับสถาบันการศึกษาเพื่อสร้างความเข้มแข็งและต่อยอดงานวิจัยที่มีมูลค่า

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์ กรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา (กอปศ.) กล่าวว่า กอปศ. พยายามผลักดันและปรับปรุงกฎหมายการศึกษา เพื่อยกระดับพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ดียิ่งขึ้น จัดระบบการศึกษา เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเข้าถึงการศึกษาได้อย่างหลากหลายตั้งแต่การวางแผน ประเมินผล และพัฒนาคุณภาพการศึกษา และเปิดให้มีการชี้นำการจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพนำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ขับเคลื่อนระบบการศึกษาไทยไปข้างหน้า และการศึกษายุคใหม่ต้องการคนเรียนรู้เก่ง ตั้งคำถามเพื่อแสวงหาคำตอบที่มีอยู่อย่างหลากหลาย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ คันะมานนท์ รองอธิการบดีอาวุโสฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กล่าวว่า บุคลากรทางการศึกษาของไทย ควรปรับตัวและรับรู้การเปลี่ยนแปลงของโลก เพราะรูปแบบการดำรงชีวิตโลกยุคดิจิทัลเปลี่ยนไปมาก บางอาชีพจะสญหายไป และการทำงานรูปแบบใหม่อาจไม่มีสถานที่ทำงานแต่สามารถทำงานได้จากทุกสถานที่ โลกการเรียนรู้ รวมไปถึงการเรียนการสอนเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และจุดเริ่มต้นขึ้นกับตัวผู้เรียนเองเป็นสำคัญนำไปสู่การพัฒนาการเรียนรู้ต่อยอดการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ได้

นางอัญชลี ชาลีจันทร์ ผู้จัดการส่วนงานองค์กรสัมพันธ์ บริษัทฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า การเรียนรู้ไม่มีที่สิ้นสุด แต่เป็นความรู้ที่มีอยู่รอบตัวเรา แนวทางการวิจัยและพัฒนา (R&D) มีความสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบอาชีวศึกษา ซึ่งตลาดแรงงานต้องการผู้ที่มีประสบการณ์ทำงาน สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในการทำงานได้ และมีแนวคิดจากประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งรัฐบาลเป็นผู้นำด้านความคิดสร้างสรรค์ และนำมาใช้ต่อยอดสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ และสร้างมูลค่าได้ ซึ่งการเรียนรู้แบบของไทยสมควรนำมาเป็นแบบอย่างขับเคลื่อนการศึกษาเพื่อสร้างนวัตกรรม

นอกจากนี้ ยังได้แบ่งกลุ่มระดมความเห็นแลกเปลี่ยนประสบการณ์แยกเป็น ๓ กลุ่ม ในช่วงบ่าย กลุ่มที่ ๑ อาชีวศึกษาและเอกชน กลุ่มที่ ๒ การศึกษาขั้นพื้นฐาน และกลุ่มที่ ๓ อุดมศึกษาและการวิจัย

ทั้งนี้ สกศ. จะได้สรุปแนวคิดที่เป็นประโยชน์จากการประชุมวิชาการ เรื่อง การจัดการศึกษาเพื่อนำพำประเทศไทยก้าวข้ามกับดักประเทศรายได้ปานกลาง จัดทำเป็นข้อเสนอนโยบายการศึกษารายงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ