จะเป็นผู้นำ หรือ ผู้ตามในธุรกิจค้าปลีก ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลที่เข้มข้น

อังคาร ๐๓ กรกฎาคม ๒๐๑๘ ๑๔:๒๘
CEO จากธุรกิจค้าปลีกเผยการดำเนินธุรกิจที่ยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลางเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนความสำเร็จ

แม้กว่า 65 เปอร์เซ็นต์ของ CEO ในธุรกิจค้าปลีกมีความเห็นตรงกันว่า องค์กรของพวกเขาส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงและมีการนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจ แต่ 40 เปอร์เซ็นต์ยังไม่สามารถปรับเปลี่ยนธุรกิจได้สำเร็จ จากผลสำรวจ Global Consumer Executive Top of Mind survey, No Normal is the New Normal: Make disruption work for your business ซึ่งจัดทำขึ้นเป็นปีที่ 6 โดย เคพีเอ็มจี อินเตอร์เนชั่นแนล และซีจีเอฟ (The Consumer Goods Forum: CGF) เปิดเผยถึงสถานการณ์ธุรกิจค้าปลีกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเข้มข้น และ CEO จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงในระดับที่ใกล้เคียงกันเพื่อให้ยังสามารถแข่งขันได้

"ปัจจุบัน ตลาดผู้บริโภคและธุรกิจค้าปลีกเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก CEO จำเป็นต้องรับฟังผู้บริโภค คาดการณ์อนาคตและมุ่งเน้นไปที่การเปลี่ยนแปลงธุรกิจ" วิลลี่ ครูห์ ประธาน ฝ่ายธุรกิจผู้บริโภคและค้าปลีก เคพีเอ็มจี กล่าว "ท่ามกลางอุปสรรคในการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งภายในและภายนอก อย่างไรก็ดี ทั้ง 2 ปัจจัยนับเป็นกุญแจสำคัญในการดำเนินงานภายในองค์กรที่ยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง หลายบริษัทที่ไม่สามารถสร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ทัน"

ทั้งนี้ ผลสำรวจรายงานว่า ในอีก 2 ปีข้างหน้า หรือภายในปี 2020 สถานการณ์ของธุรกิจค้าปลีกจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก

- ธุรกิจรูปแบบใหม่ – CEO ลงความเห็นว่า รูปแบบธุรกิจในปัจจุบันและแบบดั้งเดิมจะไม่สามารถอยู่รอดจากวิกฤตการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล

- จำนวนหน้าร้านที่ลดลง – ผู้ทำแบบสำรวจจากทวีปอเมริกาเหนือสัมผัสถึงการเปลี่ยนแปลงนี้โดยตรง โดย 37 เปอร์เซ็นต์ลงความเห็นว่า มีแผนจะปิดหน้าร้านภายใน 2 ปี

- ยอดขายที่เพิ่มขึ้นผ่านช่องทางจัดจำหน่ายของตนเอง – เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความรวดเร็ว CEO จากทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรปและลาตินอเมริกา ลงความเห็นว่า พวกเขาจำเป็นต้องขายผลิตภัณฑ์ผ่านช่องทางจัดจำหน่ายของตนเองมากขึ้น

"หนึ่งในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบธุรกิจที่พวกเรากำลังจะได้เห็น คือการวางแผนกลยุทธ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมให้มีความสำคัญมากกว่ากลยุทธ์อื่น ๆ " ปีเตอร์ ฟรีดแมน กรรมการผู้จัดการ ซีจีเอฟ (The Consumer Goods Forum: CGF) กล่าว "ผู้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวมิลเลเนียลที่มีอัตราการใช้จ่ายสูงถึง 2.75 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคทั้งหมด ต้องการทราบว่า จุดยืนของแต่ละธุรกิจค้าปลีกคืออะไร เนื่องจากผู้บริโภคเลือกที่ใช้จ่ายเพื่อประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและชุมชน ดังนั้น ผลตอบแทนทางการเงินไม่เพียงพออีกต่อไป"

ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ความท้าทาย 3 อันดับแรกของธุรกิจค้าปลีก ได้แก่ ความคาดหวังและการเปลี่ยนแปลงของประชากร (34 เปอร์เซ็นต์) คู่แข่งที่มาพร้อมกับธุรกิจรูปแบบใหม่ (31 เปอร์เซ็นต์) และร้านค้าปลีกที่ออกแบบผลิตภัณฑ์ของตนเอง (26 เปอร์เซ็นต์) แอนสัน เบย์ลี่ หัวหน้าดูแลรับผิดชอบ ฝ่ายธุรกิจผู้บริโภคและค้าปลีก ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เคพีเอ็มจี ประเทศจีน ระบุว่า 58 เปอร์เซ็นต์ของชาวมิลเลนเนียลทั่วโลกอาศัยอยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น

"ทุกวันนี้ ผู้บริโภคกำลังมองหา คุณค่า ความสะดวกและประสบการณ์เฉพาะตัว แนวโน้มความต้องการเหล่านี้จะขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงของตลาดและรูปแบบธุรกิจในปัจจุบันอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และเพื่อแข่งขันกับคู่แข่งที่เข้ามาทดแทน ธุรกิจค้าปลีกมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับเปลี่ยน เพื่อที่จะได้แข่งขันกับคู่แข่งที่มาพร้อมกับธุรกิจรูปแบบใหม่และสตาร์ทอัพที่กำลังเติบโต นวัตกรรมและคู่ค้าทางธุรกิจจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการเปลี่ยนแปลง" นิตยา เชษฐโชติรส กรรมการบริหาร ฝ่ายธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค เคพีเอ็มจี ประเทศไทย กล่าว "ทั้งนี้ สำหรับธุรกิจค้าปลีกที่มีแบรนด์ผลิตภัณฑ์ของตนเองอาจจำเป็นต้องรับมือกับผู้ผลิตสินค้าในบางกรณี ตัวอย่างเช่น ถ้าสินค้าของเรามีราคาสูงผู้บริโภคจะมองสินค้าทดแทน หรือถ้าผู้ผลิตเดินหน้าขายสินค้าของพวกเขาเองตรงไปยังผู้บริโภค ธุรกิจค้าปลีกอาจทดแทนด้วยการผลิตสินค้าของตนเอง หรือปรับราคาสินค้าของตนเองให้แข่งขันได้"

ศึกษาตัวอย่างจากผู้นำ

CEO จัดอันดับความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้แข่งขันได้อย่างไร? บริษัทชั้นนำด้านดิจิทัลนำเสนอแผนการเพื่อการเติบโตดังนี้

- จัดลำดับประสิทธิภาพการทำงาน – 76 เปอร์เซ็นต์ของผู้นำด้านดิจิทัลที่เห็นด้วยกับความเห็นนี้ จะมุ่งเน้นไปยังการกำกับดูแลและการควบคุม พนักงานและวัฒนธรรมองค์กร การเติบโตของรายได้และการเปลี่ยนแปลงธุรกิจ ตามลำดับในอีก 2 ปีข้างหน้า

- สร้างการเปลี่ยนแปลง – 88 เปอร์เซ็นต์ของผู้นำด้านดิจิทัล ลงความเห็นว่า พวกเขาจะนำอุตสาหกรรมก้าวข้ามผ่านการเปลี่ยนแปลงแทนที่จะไม่ทำอะไรเลยและเฝ้ามองสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น

- มีมาตรการจัดการลดความเสี่ยงที่สูง – เพียง 17 เปอร์เซ็นต์ของผู้นำด้านดิจิทัลเชื่อว่า อุปสรรคที่ขัดขวางการใช้นวัตกรรม คือการหลีกเลี่ยงความเสี่ยง

- เพิ่มการสร้างความผูกพันกับลูกค้า – เกือบ 80 เปอร์เซ็นต์ของผู้นำด้านดิจิทัลจะให้ความสำคัญกับลูกค้าเพื่อเพิ่มรายได้

ความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงอย่างเข้มข้นนั้นไม่จำกัดเฉพาะตลาดผู้บริโภคและธุรกิจค้าปลีก จากรายงาน CEO Outlook โดยเคพีเอ็มจี พบว่า 71 เปอร์เซ็นต์ของ CEO เตรียมพร้อมที่จะนำพาองค์กรเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินธุรกิจอย่างเข้มข้น

"การสำรวจ CEO Outlook ล่าสุด โดยเคพีเอ็มจี แสดงให้เห็นว่า 60-70 เปอร์เซ็นต์ของ CEO เชื่อว่า อีก 2-3 ปีข้างหน้าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปมากกว่า 50 ปีที่ผ่านมา" ครูห์ กล่าวเสริม "เรากำลังอยู่ในกระแสการเปลี่ยนแปลงทั้ง 3 มิติ ได้แก่ ด้านภูมิศาสตร์และการเมือง ด้านประชากรและด้านเทคโนโลยี ซึ่งจะทำให้โลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก และธุรกิจทั่วโลกจะต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่ไม่คุ้นเคยมาก่อน"

"เพื่อให้ประสบความสำเร็จท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่เข้มข้น การสำรวจในครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า เราจำเป็นต้องคำนึงถึงการทำงานร่วมกันในรูปแบบใหม่ ดังที่ได้เห็นอย่างชัดเจนจากการเติบโตของรูปแบบของการดำเนินธุรกิจ แต่หลายวิธีที่เคยใช้ในสมรภูมิทางการค้าอาจจะเปลี่ยนไปเป็นการร่วมมือกันระหว่างบริษัทที่เคยเป็นคู่แข่งจนกลายมาเป็นคู่ค้าที่มีศักยภาพก็เป็นได้" ฟรีดแมน กล่าวเสริม

อ่านผลสำรวจฉบับเต็มของ 'Global Consumer Executive Top of Mind survey, No Normal is the New Normal: Make disruption work for your business' ได้ที่: www.kpmg.com/topofmind

เกี่ยวกับการสำรวจ 'Global Consumer Executive Top of Mind'

'Global Consumer Executive Top of Mind' ซึ่งจัดทำขึ้นเป็นปีที่ 6 ทำการสำรวจผ่านทางโทรศัพท์และออนไลน์ระหว่างเดือนมีนาคมและเมษายน 2561 โดยมีผู้บริหารระดับสูงจากธุรกิจค้าปลีก 530 ราย ใน 28 ประเทศ เข้าร่วมทำแบบสอบถามในครั้งนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดเป็นผู้บริหารระดับสูงจากธุรกิจค้าปลีกในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม สินค้าอุปโภคบริโภค ทั้งภาคการผลิตและการค้าปลีก โดยกว่า 87 เปอร์เซ็นต์เป็นธุรกิจมีรายได้ประจำปีอย่างน้อย 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ บริษัทที่ร่วมทำการสำรวจในครั้งนี้มียอดขายไปสู่ผู้บริโภคมากกว่า 3.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

เกี่ยวกับ 'The Consumer Goods Forum'

The Consumer Goods Forum ("CGF") คือเครือข่ายอุตสาหกรรมระดับโลกที่ยึดหลักความเสมอภาค บรรดาสมาชิกของเครือข่ายได้ร่วมกันผลักดันให้ทั่วโลกใช้หลักปฏิบัติและมาตรฐานที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมสินค้าผู้บริโภคทั่วโลก สมาชิกเหล่านี้ประกอบด้วย CEO และผู้บริหารระดับสูงจากบริษัทค้าปลีก ผู้ผลิต ผู้ให้บริการ และอื่นๆ กว่า 400 แห่งจาก 70 ประเทศ ซึ่งสะท้อนถึงความหลากหลายของอุตสาหกรรมทั้งในด้านภูมิศาสตร์ ขนาด ประเภทสินค้า และรูปแบบธุรกิจ บริษัทสมาชิกมียอดขายรวมกัน 3.5 ล้านล้านยูโร มีการจ้างพนักงานโดยตรงรวมกันเกือบ 10 ล้านคน และมีลูกจ้างที่เกี่ยวข้องตลอดห่วงโซ่มูลค่าอีก 90 ล้านคน ทั้งนี้ CGF กำกับดูแลโดยคณะกรรมการบริหารที่ประกอบด้วยซีอีโอจากบริษัทผู้ผลิตและบริษัทค้าปลีก 50 ราย รับชมข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.theconsumergoodsforum.com

เกี่ยวกับเคพีเอ็มจี อินเตอร์เนชั่นแนล

เคพีเอ็มจี เป็นเครือข่ายระดับโลกของบริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านการสอบบัญชี ภาษี และการให้คำปรึกษา เราดำเนินงานใน 154 ประเทศ และมีพนักงานมากกว่า 200,000 คน ที่ทำงานร่วมกันในบริษัทสมาชิกทั่วโลก บริษัทที่เป็นสมาชิกเครือข่ายเคพีเอ็มจีจะถือเป็นสมาชิกของเคพีเอ็มจี อินเตอร์เนชั่นแนล โคออเปอเรทีฟ (KPMG International) เคพีเอ็มจี อินเตอร์เนชั่นแนล เป็นบริษัทสัญชาติสวิส ทั้งนี้ แต่ละบริษัทที่เป็นสมาชิกเคพีเอ็มจีเป็นนิติบุคคลที่แยกต่างหากจากกัน และมีอิสระตามกฎหมาย

เกี่ยวกับ เคพีเอ็มจี ประเทศไทย

เคพีเอ็มจี ประเทศไทย เป็นสมาชิกของ เคพีเอ็มจี อินเตอร์เนชั่นแนล ที่มีเครือข่ายทั่วโลก ซึ่งให้บริการด้านตรวจสอบบัญชี ภาษีและกฎหมาย และให้คำปรึกษาทางธุรกิจ ปัจจุบันมีพนักงานมากกว่า 1,700 คน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๒ ฉลองเทศกาลตรุษจีนปีงูเล็ก ที่โรงแรมดุสิตธานี กระบี่ บีช รีสอร์ท
๑๗:๐๐ IMPACT เผยปี 68 ข่าวดี! โครงการ Sky Entrance รถไฟฟ้าสายสีชมพูมาตามนัด หนุนทราฟฟิคแน่น - จับมือพาร์ทเนอร์
๑๗:๕๒ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม สนับสนุนโครงการ กู้วิกฤตและอนุรักษ์พะยูน ครั้งที่ 2
๑๗:๕๘ แสนสิริ เจ้าตลาดคอนโดแคมปัส อวดโฉม ดีคอนโด วิวิด รังสิต คอนโดใหม่ตรงข้าม ม.กรุงเทพ
๑๖:๔๓ เอ็นไอเอ - สสส. ดึงนิวเจน สรรค์สร้างนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพ ในแคมเปญ The Health Promotion INNOVATION PLAYGROUND
๑๗:๕๘ กรมวิทย์ฯ บริการ เร่งพัฒนาระบบ e-Learning ยกระดับการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ
๑๖:๕๘ เขตจตุจักรกวดขันคนไร้บ้านเชิงสะพานข้ามคลองบางซื่อ สร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน
๑๗:๑๗ เขตพระนครประสานกรมเจ้าท่า-เอกชน เร่งปรับปรุงภูมิทัศน์ท่าเรือสุพรรณเดิม
๑๗:๔๐ กทม. กำชับเจ้าของอาคารตรวจสอบโครงสร้างบันไดเลื่อน เพิ่มความปลอดภัยประชาชน
๑๖:๓๗ แลกเก่าเพื่อโลกใหม่ ช้อปคุ้ม พร้อมลดหย่อนภาษี! 'เปลี่ยนของเก่าเป็นความคุ้ม' ผ่าน Easy E-Receipt ได้ที่โฮมโปร เมกาโฮม