การลงนามในสัญญาทางการเงินระหว่างกระทรวงการคลังกับธนาคารพัฒนาเอเชีย

พุธ ๐๔ กรกฎาคม ๒๐๑๘ ๑๑:๑๑
การลงนามในสัญญาทางการเงินระหว่างกระทรวงการคลังกับธนาคารพัฒนาเอเชีย สำหรับโครงการก่อสร้างทางสายหลักเป็น 4 ช่องจราจร (ระยะที่ 2) ทางหลวงหมายเลข 22 ช่วงอำเภอหนองหาน – อำเภอพังโคน ทางหลวงหมายเลข 22 ช่วงสกลนคร – นครพนม และทางหลวงหมายเลข 23 ช่วงร้อยเอ็ด – ยโสธร

เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2561 นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ Mr. Ramesh Subramanian ผู้อำนวยการ สำนักงานผู้แทนธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) ประจำประเทศไทยได้ลงนามในสัญญาทางการเงินระหว่างกระทรวงการคลัง กับ ADB สำหรับโครงการก่อสร้างทางสายหลักเป็น 4 ช่องจราจร (ระยะที่ 2) ทางหลวงหมายเลข 22 ช่วงอำเภอหนองหาน – อำเภอพังโคน ช่วงสกลนคร – นครพนม (กิโลเมตรที่ 180 – 213) และทางหลวงหมายเลข 23 ช่วงร้อยเอ็ด – ยโสธร (โครงการฯ) ของกรมทางหลวง ซึ่งมีสรุปรายละเอียดเงื่อนไขสัญญาทางการเงินเพื่อดำเนินโครงการฯ ตามที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้แล้ว โดยมีกรอบวงเงินไม่เกิน 99.40 ล้านเหรียญสหรัฐ (เทียบเท่าไม่เกิน 3,404 ล้านบาท) และมีเงื่อนไขทางการเงินที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากลที่ ADB กำหนด

ทั้งนี้ การลงนามสัญญาทางการเงินระหว่างกระทรวงการคลังกับ ADB สำหรับโครงการฯ กระทรวงการคลังโดยสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กรมทางหลวง และ ADB จะได้ร่วมกันพิจารณาเงื่อนไขและรายละเอียดสัญญาทางการเงินให้สอดคล้องกับแนวทางการบริหารโครงการฯ และติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้งการตรวจสอบการเบิกจ่ายเงินให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และครบถ้วนตามมาตรฐานการเบิกจ่ายของ ADB ต่อไป

ความร่วมมือกับ ADB ในครั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะสามารถเรียนรู้ประสบการณ์ เทคโนโลยีการก่อสร้าง การบริหารโครงการ ตลอดจนการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างในระดับนานาชาติจากการถ่ายทอดของผู้เชี่ยวชาญของ ADB ซึ่งจะทำให้การดำเนินโครงการฯ ก่อสร้างมีประสิทธิภาพและแล้วเสร็จตามแผนที่กำหนดไว้ในปี 2565 ซึ่งจะทำให้เกิดการพัฒนาโครงข่ายถนนสายหลักเป็น 4 ช่องจราจร ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยทางหลวงหมายเลข 22 และ 23 จะช่วยสนับสนุนการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงอาเชียนหมายเลข 15 (AH15) ในส่วนที่ผ่านประเทศไทย เพื่อให้สามารถเดินทางและขนส่งสินค้าเชื่อมโยงไปยังกลุ่มประเทศ CLMV ได้แก่ ราชอาณาจักรกัมพูชา (Cambodia) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (Laos) สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (Myanmar) สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Vietnam) และยังเชื่อมต่อไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีนตอนใต้ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเป็นโครงข่ายที่สนับสนุนแผนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษระยะที่ 2 (เขตเศรษฐกิจพิเศษนครพนม และเขตเศษฐกิจพิเศษหนองคาย) และพัฒนาเส้นทางโครงข่ายเชื่อมโยงพื้นที่ด่านชายแดนช่องเม็ก จ.อุบลราชธานี กับพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง ตลอดจนสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมตามแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East – West Economic Corridor : EWEC) ที่คาดว่าจะมีปริมาณจราจรเพิ่มสูงขึ้นจากการเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ได้อย่างมีศักยภาพต่อไป

สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ สำนักจัดการหนี้ 1

โทร. 0 2265 8050 ต่อ 5321 5307

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ