นายเยี่ยม กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากนี้ได้มอบหมายให้ กยท. ทุกจังหวัดทั่วประเทศ สำรวจปริมาณสต๊อกยางแห้ง ไม่ว่าจะเป็นแผ่นรมควัน ยางแท่ง หรือยางประเภทอื่นๆ ซึ่งรวมถึงภาคเอกชนที่มีการซื้อยางดิบจากเกษตรกรมาแปรรูปเพื่อรอการจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ โดยจะนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้บริหารจัดการเพื่อให้ราคายางภายในประเทศมีเสถียรภาพ ทั้งนี้ คาดว่าการดำเนินการทั้ง 2 แนวทางนี้ จะเกิดประโยชน์ต่อเกษตรกรชาวสวนยาง โดยจะสามารถขายยางผ่านตลาดกลาง ทั้ง 6 แห่ง และตลาดเครือข่ายของ กยท. ทั่วประเทศ ส่งผลให้เกิดการผลักดันราคายางในตลาดให้เพิ่มขึ้น และเกษตรกรจะสามารถขายผลผลิตยางในราคาสูงขึ้นด้วย ซึ่งจะสร้างความมั่นคงและเสถียรภาพด้านเศรษฐกิจและภาพรวมของประเทศด้วย
- พ.ย. ๒๕๖๗ กยท. ครบรอบ ปีที่ 4 ชูนวัตกรรม - งานวิจัยยางเชิงพาณิชย์ พร้อม ก้าวสู่ปีที่ 5 มุ่งพัฒนาระบบยางพาราอย่างมั่นคงยั่งยืน
- พ.ย. ๒๕๖๗ ภาพข่าว: ผวก. กยท. ลงพื้นที่ จ.สงขลา พบปะพี่น้องชาวสวนยาง พร้อมติดตามสถานการณ์ยางพาราในพื้นที่อย่างใกล้ชิด
- พ.ย. ๒๕๖๗ การยางแห่งประเทศไทย ขอความร่วมมือสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง ผู้นำชาวสวนยาง และเกษตรกรชาวสวนยาง ผลิตและขายยางตามภาวะปกติ หากพบเจอผู้จงใจสร้างปัญหาทำลายกลไกตลาดให้รีบแจ้ง กยท.ในพื้นที่โดยด่วน