ด้วยจำนวนประชากรทั้งหมด 640 ล้านคน ทำให้อาเซียนเป็นหนึ่งในภูมิภาคของอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดในโลก มีศักยภาพในการเติบโตสูง นาย วูล์ฟกัง บรูเออร์ หัวหน้าหน่วยธุรกิจระบบเครื่องยนต์ กล่าวว่า "โรงงานผลิตชิ้นส่วนเครื่องยนต์ในอมตะซิตี้นั้นเป็นฐานการผลิตเครื่องยนต์ที่สำคัญอย่างยิ่งในภูมิภาคอาเซียนทั้งทางด้านภูมิศาสตร์และทางด้านกลยุทธ์ ในภูมิภาคนี้เครื่องยนต์ดีเซลมีส่วนแบ่งทางการตลาดเกือบ 50 เปอร์เซ็นต์ ในประเภทยานยนต์โดยสารและยานยนต์เชิงพาณิชย์ แม้ว่ากฎข้อบังคับเรื่องการปล่อยมลพิษสู่อากาศจะมีความ เคร่งครัดขึ้น แต่ส่วนแบ่งทางการตลาดของระบบเครื่องยนต์ดีเซลก็ยังคงมีความมั่นคงไม่ผันผวน"
คอนติเนนทอลเชื่อว่าถึงแม้ความก้าวหน้าของระบบขับเคลื่อนไฟฟ้าจะมีเพิ่มมากขึ้น แต่รถที่ใช้เครื่องยนต์ระบบเผาไหม้จะยังคงเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนยานยนต์ทั่วโลก และในปี 2573 ยานยนต์ใหม่ทั้งหมดกว่า 80 เปอร์เซ็นต์จะยังคงติดตั้งเครื่องยนต์ดังกล่าวซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีเครื่องยนต์ระบบไฮบริดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นาย บรูเออร์ กล่าวเสริมว่า "เครื่องยนต์ดีเซลรุ่นใหม่จะยังคงมีบทบาทสำคัญเนื่องจากความสามารถในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เมื่อเทียบกับสัดส่วนของเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็กที่ลดลง ในขณะที่ส่วนแบ่งทางการตลาดของยานยนต์เชิงพาณิชย์ที่ใช้น้ำมันดีเซลก็ยังคงมีความมั่นคงไม่ผันผวน" สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลขนาดใหญ่อย่างรถเอสยูวี (SUV) และรถบรรทุก คอนติเนนทอลสามารถผลิตหัวฉีดดีเซล และปั๊มแรงดันสูงที่สามารถให้แรงดันได้สูงถึง 2,500 บาร์
นอกจากความทุ่มเทในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อยู่เสมอ คอนติเนนทอลยังให้ความสำคัญกับบุคลากร ปัจจุบันยังมีพนักงานที่ร่วมงานกับคอนติเนนทอลตั้งแต่เริ่มเปิดโรงงาน ดร. แพททริค ชมิทท์ ผู้จัดการทั่วไป โรงงานผลิตชิ้นส่วนเครื่องยนต์ กล่าวว่า "ผมต้องขอขอบคุณพนักงานของเราเป็นอย่างมากที่แสดงให้เห็นถึงความทุ่มเทในการร่วมกันรับผิดชอบพัฒนาองค์กรให้ดียิ่งขึ้นไป" นอกจากนี้คอนติเนนทอลยังให้ความสำคัญทางด้านการทำงานและการใช้ชีวิตที่สมดุลกัน (Work-life balance) เพื่อความพึงพอใจของพนักงาน โดยคอนติเนนทอลเป็นผู้ริเริ่มในการนำนโยบายระดับโลกด้านระบบการทำงานแบบยืดหยุ่นมาปรับใช้ในองค์กรถึง 90 เปอร์เซ็นต์ทั่วโลก โดยปรับใช้กับพนักงานทุกระดับชั้น ซึ่งข้อดีก็คือพนักงานคอนติเนนทอล ที่โรงงานฯ สามารถนำนโยบายดังกล่าวมาปรับใช้ได้ทั้งระบบการทำงานแบบพาร์ทไทม์และแบบยืดหยุ่น รวมถึงวันหยุดพักผ่อนที่รวมอยู่ในนโยบายดังกล่าวด้วยเช่นกัน
ในปี 2560 ที่ผ่านมาทางโรงงานผลิตชิ้นส่วนเครื่องยนต์ของคอนติเนนทอลเป็นแห่งแรกในประเทศไทยที่ได้รับใบรับรอง "5S Best in Class" ซึ่งเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงความร่วมมือร่วมใจกันของพนักงาน ที่มาจากการประเมิน 5ส. (สะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษณะ และสร้างนิสัย) จากสถาบันไคเซ็น ประเทศญี่ปุ่น หลักการประเมินที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างมาตรฐานและปรับปรุงระบบการทำงานในองค์กร โดยมุ่งเน้นให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมในการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนี้การประเมินดังกล่าวยังใช้ระยะเวลาเพียงแค่เจ็ดเดือนเท่านั้น แต่ทางโรงงานฯ ก็ได้รับผลคะแนนการประเมินถึง 98 เปอร์เซ็นต์จากการตรวจสอบรอบสุดท้ายจากสถาบันไคเซ็น ซึ่งเป็นผลคะแนนที่โดดเด่นเป็นอย่างมาก
ทั้งนี้โรงงานผลิตชิ้นส่วนเครื่องยนต์ในอมตะซิตี้ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของกรุงเทพฯ มีระยะทางห่างจากท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบังเพียง 30 กิโลเมตร นับว่าเป็นสถานที่ตั้งที่สะดวกสำหรับขนส่งผลิตภัณฑ์ให้แก่โรงงานผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำในประเทศไทย นอกจากนี้เมื่อไม่นานมานี้ทางโรงงานฯ ยังได้มีการติดตั้งระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar rooftop) ซึ่งมีกำลังการผลิตประมาณ 1 เมกะวัตต์ โดยใช้เทคโนโลยีชนิดผลึกรวมซิลิคอนกว่า 3,000 แผง ติดตั้งบนหลังคาพื้นที่ 8,500 ตารางเมตร ดร. ชมิทท์ กล่าวว่า "ระบบพลังงานแสงอาทิตย์จะช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ของเราในฐานะที่เป็นโรงงานสีเขียวที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของบริษัทฯ ดั่งคำขวัญของเราที่ว่า "ไม่หยุดพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นไป"
คอนติเนนทอล เป็นหนึ่งในกลุ่มบริษัทผู้พัฒนาเทคโนโลยีอัจฉริยะสำหรับผู้ใช้ยานยนต์ และผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ชั้นนำ ในฐานะพันธมิตรที่เชื่อถือได้ ผู้จัดจำหน่ายยานยนต์ระหว่างประเทศ ผู้ผลิตยางคุณภาพ และคู่ค้าทางธุรกิจในภาคอุตสาหกรรม คอนติเนนทอลนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน มีความปลอดภัยสูง พร้อมความสะดวกสบาย ปรับการใช้งานได้ตามความต้องการ และราคาเหมาะสม คอนติเนนทอลประกอบไปด้วยธุรกิจ 5 กลุ่ม คือ ธุรกิจช่วงล่างและความปลอดภัย ธุรกิจอุปกรณ์ภายในรถยนต์ ธุรกิจระบบขับเคลื่อน ธุรกิจยางรถยนต์ และธุรกิจยางเฉพาะทางอิลาสโทเมอร์ ซึ่งมียอดขายรวม 44 พันล้านยูโรในปี 2560 ปัจจุบัน คอนติเนนทอลมีพนักงานกว่า 240,000 คนใน 61 ประเทศทั่วโลก