“นวัตวิถีชิโบริ” มัดย้อมแบบไทยผสานญี่ปุ่น สร้างสรรค์ลวดลายใหม่ให้เยาวชนเห็นคุณค่าของศิลปะวัฒนธรรม

พฤหัส ๑๒ กรกฎาคม ๒๐๑๘ ๑๔:๒๕
เมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๖๑ ณ พิพิธภัณฑ์ผ้า มหาวิทยาลัยนเรศวร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วศิน ปัญญาวุธตระกูล ผู้อำนวยการกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม เป็นประธานเปิดโครงการพัฒนาเส้นทางการเรียนรู้ "นวัตวิถีชิโบริ" มีครูและนักเรียนจากโรงเรียนต่าง ๆ ในจังหวัดพิษณุโลกเข้าร่วมโครงการ จำนวน ๕๐ คน โดยบุคลากรของกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมเป็นวิทยากร ฝึกสอนนำนวัตกรมการมัดย้อมของไทยผสมผสานกับวิธีทำผ้ามัดย้อมแบบชิโบริของประเทศญี่ปุ่น ทั้งในแบบร้อนและแบบเย็น เป็นผ้าเช็ดหน้าและผ้าคลุมไหล่ลวดลายต่าง ๆ เช่น ลายคุโมหรือการบิดเกลียวและรัด, ลายอาราชิหรือการพันแกน, ลายอิตาจิเมะหรือการพับและมัด, ลายโมคุเมะหรือการเย็บรูด ซึ่งถือเป็นมิติใหม่แห่งการสร้างสรรค์ลวดลาย ให้เยาวชนสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดเป็นสินค้าทางวัฒนธรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ตนเองและสถาบันการศึกษา ทั้งยังเป็นการกระตุ้นความคิดในการพัฒนานวัตกรรมการมัดย้อมที่มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเป็นของตนเอง นับว่าสอดคล้องกับนโยบายแผนพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยนเรศวร ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔) ที่มุ่งส่งเสริมการดำเนินงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมให้กว้างขวาง แพร่หลายและยั่งยืนต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ