หนุน มทร.-มรภ.ออกนอกระบบแต่ต้องดูความพร้อมแต่ละแห่ง

พฤหัส ๑๒ กรกฎาคม ๒๐๑๘ ๑๗:๑๗
ตามที่ นพ.อุดม คชินทร รมช.ศึกษาธิการ ได้มีแนวคิดที่จะให้มีการผลักดันมหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ทั่วประเทศ ให้เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐให้หมด หลังจากที่มีการตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิจัยและนวัตกรรมนั้น เมื่อวันที่ 11 ก.ค. รศ.ดร.ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี กล่าวว่า ตนมองว่าเป็นเรื่องดี เพราะเมื่อออกนอกระบบมหาวิทยาลัยจะสามารถสร้างระเบียบหรือข้อกำหนดเกี่ยวกับค่าจ้างให้กับบุคลากรและอาจารย์ได้เอง โดยสามารถกำหนดค่าจ้างได้จากความรู้ความสามารถของแต่ละบุคคล แทนที่จะยึดค่าจ้างตามเกณฑ์วุฒิการศึกษาอย่างที่ผ่านมา ทั้งนี้การออกเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับ มหาวิทยาลัยจะต้องมีจุดแข็ง มีอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยที่ชัดเจน เพื่อนำเสนอมหาวิทยาลัยต่อนักศึกษาที่จะเข้าเรียนได้ว่ามีจุดแข็งในเรื่องใด นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยจะต้องมุ่งเน้นหารายได้ให้กับตัวเอง นอกเหนือจากงบประมาณที่ภาครัฐสนับสนุน โดยเน้นงานบริการวิชาการ งานวิจัย และอื่น ๆ แต่จะต้องไม่ใช่จากการขึ้นค่าเล่าเรียน เพราะหากไม่หารายได้เพิ่มจะส่งผลเสียต่อการบริหารจัดการในอนาคต "ในส่วนของ มทร.ธัญบุรี ขณะนี้ได้ดำเนินการทำระเบียบข้อบังคับกฎหมายเรียบร้อยแล้ว สิ้นปีนี้จะยื่นเรื่องขอออกเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับ คาดว่า 1-2 ปีจะออกนอกระบบ ทั้งนี้ที่ผ่านมา มทร.ธัญบุรี ได้มีการเตรียมความพร้อมมาตลอดเวลา ซึ่งการที่มหาวิทยาลัยจะออกนอกระบบได้นั้น จะต้องมีการบริหารจัดการภายใต้ศักยภาพของมหาวิทยาลัย โดยมีสภามหาวิทยาลัยช่วยบริหาร การบริหารจัดการต้องเน้นเป้าหมาย มีดัชนีชี้วัดผลงานหรือความสำเร็จของงาน (KPI) โดยดูจากบริการวิชาการ บริการงานวิจัย บริการสังคม และอื่น ๆ ซึ่งมทร.ธัญบุรี ได้ให้แต่ละคณะใช้ระบบนี้มาแล้ว 5 ปี รวมถึงการบริหารจัดการด้านรายได้ เน้นการหารายได้จากภายนอก ซึ่งปี 2556 รายได้ของมหาวิทยาลัย 100 % ได้รับการสนับสนุนจากรัฐ 70% ที่เหลือมหาวิทยาลัยหาเอง แต่ปัจจุบันตัวเลขจะมีความแตกต่าง ภาครัฐ 40% ที่เหลือ 60% มหาวิทยาลัยหาเอง ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือตัวชี้วัดที่มทร.ธัญบุรีพร้อมที่จะออกไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับ" อธิการบดี มทร.ธัญบุรี กล่าว รศ.ดร.ประเสริฐ กล่าวอีกว่า การที่จะออกเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับนั้น ตนมองว่ามหาวิทยาลัยจะต้องหารายได้เป็น 3 เท่าของงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐ เพื่อใช้ในการบริหารจัดการ เพราะค่าดำเนินการของบุคลากรและอาจารย์ในระยะยาวจะสูงขึ้น ทั้งนี้การที่ให้มรภ.และ มทร.ทั่วประเทศ ออกนอกระบบทั้งหมด ขณะนี้ความพร้อมของแต่ละแห่งไม่เท่ากัน ซึ่งในส่วนของ มทร.เอง มีทั้งมหาวิทยาลัยเล็ก กลาง ใหญ่ การออกนอกระบบควรอาศัยระยะเวลา แบ่งเป็นระยะโดยดูจากความพร้อมของมหาวิทยาลัย ศักยภาพและอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ