นางอัมพวัน พิชาลัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ หรือ SACICT กล่าวถึงนโยบายผลักดันให้คนวงการคราฟต์เกิดการทำงานเป็นเครือข่ายที่เรียกว่า SACICT Craft Network ว่า นับเป็นความก้าวหน้าอีกขั้นหนึ่งสำหรับการดำเนินนโยบายนี้ ทีมีแผนว่าจะต้องการสร้างเครือข่ายให้ครบ 4 ภาคทั่วประเทศภายในปี 2563 โดยปีนี้คนทำงานคราฟต์ในพื้นที่กรุงเทพฯ สามารถรวมกลุ่มอย่างเป็นรูปธรรม เกิดเป็นเครือข่ายต้นแบบ กลุ่ม"Root Bangkok" ได้สำเร็จ สำหรับนำไปเป็นตัวอย่างให้กับพื้นที่อื่นๆ ได้เล็งเห็นถึงผลดีของการสร้างเครือข่ายร่วมกันต่อไป
"การสร้างเครือข่ายที่ SACICT ให้ความสำคัญนี้จะเป็นในลักษณะการทำงานของเครือข่ายในแต่ละพื้นที่และแต่ละภูมิภาคระหว่าง ครูศิลป์ ครูช่าง ทายาทศิลป์ และสมาชิกของ SACICTด้วยกัน เพื่อให้เกิดเป็นฐานเชื่อมโยงร่วมกันแบบห่วงโซ่อุปทาน หรือ Supply Chain ที่ส่งเสริมซึ่งกันและกัน เริ่มตั้งแต่การเสริมองค์ความรู้งานหัตถศิลป์ การพัฒนาทักษะฝีมือ การเฟ้นหาเลือกใช้วัสดุ การออกแบบ การผลิต การตลาด และการจำหน่าย เมื่อเครือข่ายในแต่ละพื้นที่ของงานคราฟต์เข็มแข็งจะเป็นสร้างศักยภาพงานคราฟต์ที่ยั่งยืนในอนาคต เกิดเป็นรายได้ที่มั่นคงให้กับชุมชนนั้นๆ โดยที่สมาชิกในเครือข่ายได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน พร้อมกับสามารถยังคงรักษาอนุรักษ์คุณค่าศิลปวัฒนธรรมดั่งเดิมของชุมชนนั้นๆ ให้คงสืบสานต่อไปได้ยืนยาว" นางอัมพวันกล่าว
SACICT Craft Network นี้ยังถือเป็นการสร้างเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดฐานกลุ่ม Start Up ในวงการคราฟต์หน้าใหม่ขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ที่อาจเกิดจากการแตกตัวหรือต่อยอดมาจากลูกศิษย์และทายาทสืบสกุล เป็น Start Up รุ่นใหม่ ที่เล็งเห็นคุณค่างานรักษาและสืบทอดเอกลักษณ์งานคราฟต์ดั่งเดิมของตนในพื้นที่แต่ละชุมชนเอาไว้ พร้อมๆ ไปกับเล็งเห็นโอกาสกำเนิดตั้งต้นกิจการผู้ประกอบการสร้างสรรค์ด้านงานคราฟต์เป็นของตนเอง จากการใช้ฐานองค์ความรู้ต่างๆ จากกลุ่มเครือข่ายที่เกิดขึ้นมาอย่างเข็มแข็ง ช่วยเหลือกัน เกิดการพึ่งพา ก้าวมาเป็นประกอบการเอสเอ็มอีหน้าใหม่ที่มีกำลังเข็มแข็งและประสบความสำเร็จด้านงานคราฟต์ในอนาคต และยังเพิ่มโอกาสสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับกลุ่มชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป
Root Bangkok ถือเป็นกลุ่ม Sacict Craft Network ต้นแบบตัวอย่างกลุ่มแรก ของกลุ่มคนที่ต่างคนต่างทำงานคราฟต์ รู้จักกันมาก่อน จากหลายๆแห่ง หลายๆจังหวัด หลายๆ แบรนด์รวมตัวอย่างชัดเจนสำเร็จกันที่กรุงเทพฯ ทั้งหมด 14 แบรนด์ เมื่อประมาณต้นปี 2561 ประกอบด้วยกลุ่มงานคราฟต์ ประเภท เสื้อผ้า เครื่องดนตรี เซรามิก ของเล่นพัฒนาทักษะ-สมาธิ เป็นต้น
"กลุ่ม Craft Network เกิดขึ้นได้เนื่องจาก SACICT มองเห็นความสำคัญของคนทำงานคราฟต์ จึงส่งเสริมให้เกิดการร่วมตัวเป็นกลุ่มเครือข่ายร่วมกัน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนในองค์ความรู้ด้านต่างๆ แบ่งปันเรื่องที่เป็นประโยชน์ ส่งเสริมข้อดีซึ่งกันและกัน แนะวิธีลดปัญหาข้อเสียด้านการทำงานของงานคราฟต์ จึงเกิดเป็นกรณีตัวอย่างของ Craft Network ที่คนทำงานคราฟต์สามารถนำไปสร้างเป็นกลุ่มเครือข่ายเป็นของตนเองขึ้นมาได้ ซึ่งนับว่าเป็นการทำงานที่น่าสนใจดีมาก" นางสาธิมา ฐากูระสมพงษ์ "ปอ" เจ้าของ"อาตมัน สตูดิโอ" สตูดิโอรับสอนย้อมครามอินทรีย์ หนึ่งในสมาชิกของกลุ่ม Root Bangkok กล่าว
นายวริศพันธ์ กุลเมธีภูวสิริ เจ้าของเสื้อผ้าฝ้ายย้อมห้อม "อินดี้ อีโค" อีกหนึ่งในสมาชิกกลุ่ม Root Bangkok เสริมอีกว่า ทั้งหมดเป็นสมาชิก SACICT ออกงานกันหลายๆ ครั้ง ทั้งของ SACICT และที่อื่นๆ จนรู้จักสนิทส่วนตัว มีงานกิจกรรมอะไรก็มักแจ้งข่าวชักชวนกันไป จน SACICT มีโครงการ Craft Network โดยทีมุ่งหวังให้เป็นพันธมิตรร่วมกันและเลือกกลุ่มคนที่มีใจต้องการพัฒนาคุณภาพงานคราฟต์ กลุ่มฯ จึงชัดเจนขึ้น ที่ SACICT งานคร๊าฟบางกอก 2018 คือ งานแรกที่รวมตัวกันแสดงตัวตนที่ชัดเจนของสมาชิกแต่ละคน แม้ว่าจนถึงตอนนี้ยังไม่ได้ตั้งใครเป็นหัวหน้ากลุ่ม แต่ถ้าสมาชิกท่านใดได้รับทาบทามกิจกรรมงานต่างๆ ผ่านโปรเจคนั้นมา คนนั้นจะถือเป็นแกนหลักประสานงานในกลุ่ม
กิจกรรมล่าสุดที่ Root Bangkok ทำ คือ คนทำงานสายผ้าย้อมธรรมชาติ ร่วมกันชักชวนคนสนใจไปเรียนรู้การปลูกต้นคราม ตีคราม ทำเนื้อคราม และ ย้อมสีคราม รวมถึงย้อมใบมะม่วง ที่ศูนย์แปลงสาธิตจังหวัดอ่างทอง ซึ่งเป็นการจัดทริปกลุ่มเล็กๆ เพื่อชวนคนสนใจไปเรียนรู้ แบ่งปันเงินส่วนหนึ่งเข้ากลุ่ม เพื่อเป็นทุนจัดกิจกรรมต่อไป และปลายปีจะมีจัดแบบนี้อีก 2 รอบที่ ภูพาน และสกลนคร นอกจากนี้จะมีงานกิจกรรมสกลเฮด อีเวนต์ในปลายปีนี้ที่ Root Bangkok จัดขึ้นซึ่งถือเป็นงานกลุ่มคนรุ่นใหม่ Start Up สายงานคร๊าฟในจังหวัดสกลนคร ที่รวมตัวจัดงานนี้ขึ้นมา
หนึ่งในแนวคิดการสร้างกลุ่มเครือข่าย Start Up คนสายงานคร๊าฟ ที่ SACICT พร้อมสนับสนุน