รร.บ้านคลองแขยง จ.กำแพงเพชร “จิ๋วแต่แจ๋ว" แหล่งเรียนรู้ต้นแบบการผลิตอาหารแบบมีส่วนร่วมกับชุมชน

ศุกร์ ๑๓ กรกฎาคม ๒๐๑๘ ๑๔:๒๔
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ และภาคีเครือข่าย คัดเลือก "โรงเรียนบ้านคลองแขยง จังหวัดกำแพงเพชร"ในโครงการซีพีเอฟ อิ่ม สุข ปลูกอนาคต เป็นแหล่งเรียนรู้ต้นแบบทางด้านการผลิตอาหารและโภชนาการของโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมกับชุมชน ใช้ QR code ถ่ายทอดองค์ความรู้

นายทรงวุฒิ มลิวัลย์ รองผู้อำนวยการกองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษา สพฐ. กล่าวว่า โรงเรียนบ้านคลองแขยง ใน"โครงการซีพีเอฟ อิ่ม สุข ปลูกอนาคต" เป็นโรงเรียนขนาดเล็กที่"จิ๋วแต่แจ๋ว" ด้วยจำนวนนักเรียนเพียง 50 คน แต่มีความพร้อมเป็นแหล่งเรียนรู้ต้นแบบทางด้านการผลิตอาหารและโภชนาการของโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมกับชุมชน มีศักยภาพในการบริหารจัดการการผลิตอาหารและโภชนาการเอง

นอกจากนี้ โรงเรียนนำระบบ Thai School Lunch หรือ ระบบแนะนำสำรับอาหารกลางวันสำหรับโรงเรียนมาใช้จนเกิดผลสัมฤทธิ์ คือ ภาวะโภชนาการของเด็กนักเรียนดีขึ้น โดยในปี 2561 ไม่มีนักเรียนที่ประสบปัญหาภาวะโภชนาการขาด (ผอมและเตี้ย) ส่วนนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน (อ้วน เริ่มอ้วน) มีจำนวนลดลงจาก 7 คน เหลือเพียง 4 คน

นายวุฒิชัย สิทธิปรีดานันท์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทฯ ร่วมกับสพฐ. มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) คัดเลือกโรงเรียนที่มีศักยภาพในโครงการ "ซีพีเอฟ อิ่ม สุข ปลูกอนาคต" เพื่อเป็นโรงเรียนต้นแบบด้านการผลิตอาหารและโภชนาการของโรงเรียนและชุมชน โดยมีเกณฑ์พิจารณา5ด้าน ประกอบด้วย 1. ด้านการบริหารจัดการ 2. ด้านการผลิตอาหาร 3. ด้านโภชนาการ 4. ด้านสุขภาพ และ5.ด้านขีดความสามารถการดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่องยั่งยืน ซึ่งในปี 2560 มีโรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือก 2 โรงเรียน คือ 1. โรงเรียนบ้านคลองแขยง จังหวัดกำแพงเพชร และ 2. โรงเรียนบ้านใหม่สำโรง จังหวัดนครราชสีมา

ด้าน นายธิติ วัชรภัทร ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านคลองแขยง กล่าวถึง ปัจจัยแห่งความสำเร็จที่ทำให้โรงเรียนฯได้รับเลือกเป็นแหล่งเรียนรู้ เกิดจากกระบวนการมีส่วนร่วมของครูและนักเรียน ที่ร่วมกันในกิจกรรมต่างๆอย่างต่อเนื่องและต่อยอด มีการถ่ายทอดความรู้ระหว่างโรงเรียนและชุมชน ขณะที่โรงเรียนได้รับการสนับสนุนจากซีพีเอฟเข้ามาให้คำแนะนำและช่วยเหลือด้วยการนำเทคโนโลยี QR code สร้างสื่อการเรียนของแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน เพื่อให้เข้าถึงข้อมูลได้สะดวกและรวดเร็ว

เด็กหญิงพิมพ์ชนก โพธิ์ศรี อายุ 12 ปี นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งเป็นรองประธานนักเรียนและมัคคุเทศก์ของโรงเรียน กล่าวว่า โรงเรียนจัดแหล่งเรียนรู้ให้นักเรียนเรียนรู้และนำไปปฎิบัติ ซึ่งคุณครูมอบหมายให้ พี่ๆชั้นป.5 และ ป.6 คอยดูแลและสอนน้องทำกิจกรรมใน 8 ฐานการเรียนรู้ นักเรียนนำประสบการณ์เรียนรู้จากโรงเรียนไปประยุกต์ใช้ที่บ้าน เช่น ปลูกผักสวนครัว และโรงเรียนยังเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับผู้ที่สนใจ รวมทั้งโรงเรียนอื่นๆ ที่เข้ามาศึกษาดูงานอีกด้วย

โรงเรียนบ้านคลองแขยง จัดกิจกรรมแหล่งเรียนรู้ 8 ฐานการเรียนรู้ ประกอบด้วย 1.แหล่งเรียนรู้ ผ.ผักสวนครัว ทำแปลงปลูกผักสวนครัว 2. แหล่งเรียนรู้ อ.อุโมงค์ผัก 3. แหล่งเรียนรู้ ข.ขยะขายได้ 4. แหล่งเรียนรู้ บ.บ้านอัญชัน ทำอัญชันแห้งด้วยตู้อบพลังแสงอาทิตย์ 5. แหล่งเรียนรู้ ป.ปลาตากลม เลี้ยงปลาสวยงาม ทั้งปลาสอดและปลาหางนกยูง 6. แหล่งเรียนรู้ ร.เรือน กิจกรรมเพาะเห็ดนางฟ้า 7. แหล่งเรียนรู้ น.น้ำหมักชีวภาพ ทำน้ำหมักชีวภาพจากหน่อกล้วยและมะกรูด และ 8. แหล่งเรียนรู้ บ.ใบไม้ทับถม

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ