สถาบันอัญมณี Kick Off เปิดตัวโครงการพัฒนารูปแบบและคุณภาพสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับสู่ภูมิภาคอย่างยั่งยืน

จันทร์ ๑๖ กรกฎาคม ๒๐๑๘ ๑๐:๓๖
สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เปิดตัวโครงการพัฒนารูปแบบและคุณภาพสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับสู่ภูมิภาคอย่างยั่งยืน จัดการประชุมกำหนดแนวทางและความร่วมมือในการพัฒนา และคัดเลือกผู้ประกอบการในจังหวัดเป้าหมาย 5 จังหวัด ได้แก่ แพร่ ตราด เพชรบุรี สุรินทร์ และ สตูล ชูอัตลักษณ์ท้องถิ่น และการออกแบบร่วมสมัย ณ ห้องประชุมชั้น 3 สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ถนนสีลม

นางดวงกมล เจียมบุตร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม ที่ผ่านมา สถาบันได้จัดเปิดตัวโครงการพัฒนารูปแบบและคุณภาพสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับสู่ภูมิภาคอย่างยั่งยืน และหารือแนวทางความร่วมมือ รวมถึงการกำหนดเกณฑ์การคัดเลือกผู้ประกอบการในจังหวัดเป้าหมาย 5 จังหวัด ได้แก่ แพร่ สุรินทร์ เพชรบุรี ตราด และสตูล ซึ่งโครงการดังกล่าวมุ่งที่จะพัฒนาและส่งเสริมให้อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยได้เติบโตอย่างเข้มแข็งตั้งแต่ระดับฐานราก และสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างยั่งยืน โดยการใช้อัตลักษณ์อันโดดเด่นในแต่ละภูมิภาค มาปรับใช้ในการออกแบบเครื่องประดับให้มีความสวยงาม และร่วมสมัยมากยิ่งขึ้น ยกระดับผู้ประกอบการจากการเป็นเพียงผู้รับจ้างผลิต (OEM) สู่การเป็นผู้ประกอบการที่มีรูปแบบสินค้าของตนเอง (ODM) และผู้ประกอบการที่มีแบรนด์เป็นของตนเอง (OBM)

สำหรับการพัฒนารูปแบบของเครื่องประดับ สถาบันได้ดึงนักออกแบบชื่อดังมาร่วมค้นหาอัตลักษณ์และสร้างสรรค์ผลงาน จำนวน 5 ท่าน ได้แก่ คุณวไลพรรณ ชูพันธ์ จากแบรนด์ FLOW คุณเอก ทองประเสริฐ จากแบรนด์ EK Thongprasert คุณสุรศักดิ์ มณีเสถียรรัตนา จากแบรนด์ Carletta Jewellery คุณอริสรา แดง-ประไพ จากแบรนด์ Arisara และ คุณจิตต์สิงห์ สมบุญ ซึ่งนักออกแบบแต่ละท่านจะดึงจุดเด่นที่น่าสนใจของแต่ละจังหวัด และเครื่องประดับในท้องถิ่น มาปรับให้ร่วมสมัย สามารถสวมใส่ได้ในชีวิตประจำวัน และ ยังคงอัตลักษณ์ของท้องถิ่น อย่างเช่น เครื่องเงินสุรินทร์ หรือ เครื่องทองเพชรบุรี อย่างไรก็ตามเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สถาบันได้วางแผนลงพื้นที่และจะคัดเลือกผู้ประกอบการในท้องถิ่นจำนวนหนึ่งที่มีความสนใจ และมีผลงานที่โดดเด่น เข้าร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อยกระดับคุณภาพมาตรฐานและรูปแบบสินค้าและเครื่องประดับให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดอีกด้วย โดยมีการจัดอบรมทั้งทางด้านเทคนิคเชิงลึก อาทิ การตรวจสอบอัญมณีและเครื่องประดับ การออกแบบ รวมทั้งการทำการตลาดอย่างยั่งยืน ให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ

นอกจากนี้ สถาบันยังมีโครงการขยายช่องทางการจำหน่ายสินค้าให้กับผลงานการออกแบบเครื่องประดับและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากจังหวัดข้างต้น โดยมีแผนที่จะปรับโฉมห้องสมุดอัญมณีและเครื่องประดับ และจัดพื้นที่วางจำหน่ายสินค้าที่ผ่านการออกแบบในโครงการ ที่เรียกว่า TEMP Pop-Up Store by GIT ซึ่งจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการเดือนกันยายนนี้ อีกทั้งจะนำผลิตภัณฑ์การออกแบบมาจัดแสดงภายในงานแสดงสินค้าบางกอกเจมส์แอนด์จิวเวลรี่แฟร์ ครั้งที่ 62 และ September Hong Kong Jewellery and Gems Fair 2018 อีกด้วย ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการขยายตลาดสินค้าไทยจากชุมชนสู่ตลาดสากล

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO