รศ.ดร.วนิดา กล่าวอีกว่า ปัจจุบันถังขยะอัจฉริยะได้ใช้ภายในสำนักหอสมุด พร้อมทั้งขยายจุดไปยังคณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์และวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น และจะขยายไปยังจุดอื่นๆภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่นต่อไปในอนาคต นอกจากนี้ยังได้รับความสนใจจากองค์กรต่างๆ นำไปต่อยอดสร้างความยั่งยืนในการบริหารขยะในประเทศ ทั้งภาครัฐ และเอกชน นำระบบติดตามถังขยะอัจฉริยะไปใช้ในการบริหารขยะในองค์กร อาทิ บริษัท พลัส พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น
- ๒ ก.พ. บี.กริม เพาเวอร์ ลงนามความร่วมมือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในการมุ่งพัฒนาด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ พลังงานทดแทน สิ่งแวดล้อม และนวัตกรรม
- ๒ ก.พ. บริษัท เอ็มเอสดี (ประเทศไทย) จำกัด ผนึกกำลัง 4 มหาวิทยาลัยชั้นนำ เสริมทักษะบุคลากรเภสัชกรรมไทยสู่ตลาดแรงงานในอนาคต
- ๒ ก.พ. ซีพี แอ็กซ์ตร้า ร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น และสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพฯ ลงนาม MOU สานต่อโครงการ "เปลี่ยนขยะเป็นประโยชน์" สนับสนุนให้เกษตรกรเพาะเลี้ยงแมลงโปรตีน (BSF) ตั้งเป้าลดขยะอาหารเป็นศูนย์ ภายในปี 2573