ลดพาหะร้าย...ยุงลาย ป้องกันโรคไข้เลือดออก

อังคาร ๑๗ กรกฎาคม ๒๐๑๘ ๑๓:๕๔

กุมารแพทย์โรคภูมิแพ้ หอบหืด ภูมิคุ้มกัน

โรงพยาบาลพระรามเก้า

ในช่วงฤดูฝนแบบนี้ การเพาะพันธุ์ของยุงลายสามารถเกิดได้ง่าย เมื่อจำนวนพาหะมีมากขึ้นโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกก็มากขึ้นด้วย โดยเฉพาะหากเกิดกับช่วงวัยเด็กหรือแม้กระทั่งผู้ใหญ่ที่มีภาวะโรคอ้วน เบาหวาน ความดัน ก็มีความเสี่ยงถึงขั้นเสียชีวิตในที่สุด โดยโรคไข้เลือดออกสามารถป้องกันและลดจำนวนลงได้ ถ้าทุกคนช่วยกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายให้หมดไป

พญ.ฉัฐฐิมา เสาวภาคย์ กุมารแพทย์โรคภูมิแพ้ หอบหืด ภูมิคุ้มกัน โรงพยาบาลพระรามเก้า กล่าวว่า ไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขในประเทศอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ซึ่งมีมติร่วมกันให้ทุกวันที่ 15 มิถุนายน ของทุกปีเป็น วันไข้เลือดออกอาเซียน เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักในการป้องกันโรคไข้เลือดออก และร่วมกันแก้ปัญหา ส่วนสถานการณ์โรคไข้เลือดออกของประเทศไทย ในปี 2561 ตั้งแต่ 1 มกราคม 2561 ถึง 5 มิถุนายน 2561 พบผู้ป่วยแล้ว 14,973 ราย เสียชีวิต 19 ราย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ส่วนอาการป่วยขึ้นอยู่กับว่าเคยติดเชื้อมาก่อนหรือไม่ ซึ่งหากพบผู้ป่วยที่ติดเชื้อครั้งแรกอาการมักไม่รุนแรง โดยอาการของผู้ป่วยหลังได้รับเชื้อไข้เลือด จะมีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว เบื่ออาหาร อาเจียน ปวดท้อง ให้รีบไปพบแพทย์โดยเร็ว เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย และรักษาได้ทันเวลา แต่อาการจะรุนแรงขึ้นเมื่อติดเชื้อครั้งที่สองด้วยสายพันธุ์ที่ต่างไป ซึ่งจะทำให้มีภาวะเลือดออกและช็อกได้ ทั้งนี้คุณหมอแนะนำว่าประชาชน และผู้ปกครองควรเน้นตั้งแต่ต้นเหตุ คือ การดำเนินการไม่ให้มีแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในฐานพื้นที่ 6 ร. คือ โรงเรือน โรงเรียน โรงแรม โรงงาน โรงธรรมและโรงพยาบาล ซึ่งโรงพยาบาลเองนับว่าเป็นสถานที่สำคัญที่ต้องทำให้เป็นโรงพยาบาลสะอาดปราศจากแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย Green and Clean Hospital เพื่อปราศจากแหล่งเพาะพันธุ์ยุง และปลอดลูกน้ำยุงลาย เพราะโรงพยาบาลเป็นสถานที่ทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ และเป็นสถานที่สาธารณะที่ประชาชนมาใช้บริการเป็นจำนวนมาก

เพราะการป้องกันเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด โดยการปฏิบัติตามหลัก 5 ป. และ 1 ข. ได้แก่ ป.ปิด คือ ปิดภาชนะน้ำให้มิดชิด ป้องกันยุงลายลงไปวางไข่ ป.เปลี่ยน เปลี่ยนน้ำในแจกัน ทุกๆ 7 วัน เพื่อตัดวงจรลูกน้ำที่จะกลายเป็นยุง ป. ปล่อย ปล่อยปลาหางนกยูงให้กินลูกน้ำในภาชนะ ป.ปรับ ปรับปรุงสิ่งแวดล้อม ให้ปลอดโปร่ง โล่งสะอาดลมพัดผ่าน ไม่เป็นที่เกาะพักของยุงลาย ป.ปฏิบัติ ปฏิบัติจนเป็นนิสัย และ 1 ข. ขัดไข่ยุงลาย รวมถึงการฉีดวัคซีนไข้เลือดออก ไวรัสเดงกี 4 สายพันธุ์ ก็นับว่าเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะสามารถป้องกันและห่างไกลจากภัยเงียบไข้เลือดออกได้ ซึ่งจะมีประสิทธิภาพที่ดีในกลุ่มผู้ที่เคยป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมาก่อน ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะพิจารณารับวัคซีนทุกครั้ง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ