การติดอยู่ในที่มืดนานๆ จะคล้ายกับผู้ที่ทำงานในเหมืองครับ เพราะต้องทำงานอยู่ในที่มืดเป็นเวลานานเช่นกัน การมองเห็นมักใช้ส่วนอื่นของจอประสาทตามารับภาพ แทนที่จะเป็นตัวจอประสาทตาที่เรียกว่า แมคคูล่า เอง เพราะเป็นจุดที่รับภาพชัดที่สุด ลักษณะนี้เรียกว่า ดวงตากระตุก แต่จากเหตุการณ์ของน้องๆ 13 คน ระยะเวลาที่ติดอยู่ในถ้ำยังถือว่าไม่นานมาก อาจจะไม่มีอาการดังกล่าว น้องๆ อาจจะมีอาการสู้แสงไม่ได้อยู่เพียงระยะแรกๆ เท่านั้น โดยขณะที่ออกจากถ้ำอาจจะต้องปิดตาไว้ แล้วค่อยๆ ให้รับแสงทีละน้อย ซึ่งแต่ละคนจะมีภาวะดังกล่าวแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสุขภาพตาของแต่ละบุคคลด้วย สิ่งสำคัญมากกว่านั้น ก็คือในถ้ำจะมีสุขลักษณะที่ไม่สะอาดเพียงพอมากกว่า อาจจะมีภาวะติดเชื้ออื่นๆ ซึ่งแพทย์จะต้องเฝ้าระวังประมาณ 1 สัปดาห์ จึงสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติครับ
- ก.พ. ๑๓๘๑ ทีมแพทย์ TRSC เป็นวิทยากรรับเชิญงานจักษุแพทย์นานาชาติ
- ๒๔ ก.พ. 'POW' ส่งเพลงใหม่ 'Gimme Love' เพลงรักจากหัวใจในเดือนแห่งความรัก เพื่อมอบให้แฟนๆ เป็นพิเศษ
- ๒๔ ก.พ. ฝุ่น PM 2.5 ตัวร้าย บ่อนทำลายสุขภาพเด็ก เสี่ยงเป็นโรคเรื้อรังในอนาคต แพทย์เตือน !!! พ่อแม่ยุคใหม่ต้องระวัง
- ๒๔ ก.พ. แนะนำเมนู "เต้าหู้ปวยเล้งซอสเอ็กซ์โอ" ที่ห้องอาหารจีนหยก