ปี 2018 คาดส่งออกอุตฯ ไฟฟ้า, อิเล็กทรอนิกส์โตกว่า 6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ 4 เดือนแรกตลาดอาเซียนมีมูลค่าสูงสุด กังวล พ.ร.บ. การจัดซื้อจัดจ้างฯ ภาครัฐ 2560

พุธ ๑๘ กรกฎาคม ๒๐๑๘ ๑๒:๐๑
นางกนิษฐ เมืองกระจ่าง ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และโทรคมนาคม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม (E&E) ยังคงเป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการส่งออกเป็นอันดับ 1 ของประเทศ คิดเป็นร้อยละ 25 มูลค่ากว่า 1.9 ล้านล้านบาท และยังเป็นอุตสาหกรรมต้นกำเนิดของนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย อันจะนำพาประเทศชาติไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีและการผลิตไปสู่ยุค 4.0 ตามนโยบายการขับเคลื่อนของภาครัฐ

สำหรับในปี 2018 คาดว่าการส่งออกอุตสาหกรรม E&E จะเติบโตถึง 5% หรือคิดเป็นมูลค่าการส่งออก 63,475 ล้านเหรียญสหรัฐ แบ่งเป็นมูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์เติบโต 7% (39,061 ล้านเหรียญสหรัฐ) และมูลค่าส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าเติบโต 3% (24,415 ล้านเหรียญสหรัฐ)

ในรอบ 4 เดือนแรกตลาดส่งออกที่สำคัญและมีมูลค่าส่งออกสูง ได้แก่ ตลาดอาเซียน คิดเป็นร้อยละ 19 รองลงมา คือ ตลาดสหรัฐอเมริกา คิดเป็นร้อยละ 17 และตลาดสหภาพยุโรป คิดเป็นร้อยละ 15 ตามลำดับ

สินค้าที่ส่งออกสูงสุดในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ยังคงเป็นประเภทส่วนประกอบและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ซึ่งในช่วง 4 เดือนแรกยอดส่งออกสูงถึง 5,037 ล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่กลุ่มสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ส่งออกสูงสุด ได้แก่ อุปกรณ์ด้านไฟฟ้ากำลัง ซึ่งมีมูลค่าส่งออกสูงถึง 2,051 ล้านเหรียญสหรัฐ รองลงมา ได้แก่เครื่องปรับอากาศ มีมูลค่าส่งออกสูงถึง 1,825 ล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่มูลค่าตลาดของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศ มีมูลค่าประมาณ 500,000 ล้านบาท

ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม ได้แก่ การผลิตที่ต้องปรับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปสู่ Smart Electronics, รูปแบบการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงจากผู้ผลิตไปเป็น Trader / Distributor / Importer เนื่องจากภาษีศุลกากรลดลงเหลือ 0 จากกรอบความตกลง FTA ต่างๆ และมาตรการนโยบายด้านการค้าที่อาจเปลี่ยนแปลงไปของประเทศคู่ค้าที่สำคัญและปัจจัยอื่นๆ อาทิ ราคาน้ำมันที่ผันผวน

สำหรับประเด็นปัญหาสำคัญที่กลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าฯ กำลังติดตามอย่างใกล้ชิด ได้แก่ ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องจาก พ.ร.บ. การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 มีประเด็นเรื่องการตีความกฎหมายที่ยังไม่ชัดเจน ส่งผลให้หน่วยงานภาครัฐและรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องชะลอการจัดซื้อสินค้า ซึ่งจะกระทบต่อผู้ผลิตในประเทศและเศรษฐกิจโดยรวม อีกทั้งประเด็นจาก ร่าง พ.ร.บ. การจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ ..... โดยร่าง พ.ร.บ. ฉบับล่าสุด (34 มาตรา) ยังขาดความชัดเจนในหลายประเด็น ซึ่งจะส่งผลให้มีปัญหาในทางปฏิบัติ จึงขอความอนุเคราะห์ให้หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องพิจารณา และมองถึงแนวทางการนำไปปฏิบัติซึ่งต้องพิจารณาอย่างรอบด้าน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO