มรภ.สงขลา ผนึก มอ. ลงนามหนุนบุคลากรด้านวิทย์-นวัตกรรม นำศักยภาพงานวิจัยเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันภาคเอกชน

พุธ ๑๘ กรกฎาคม ๒๐๑๘ ๑๖:๐๕
มรภ.สงขลา ลงนามความร่วมมือ มอ. หนุนบุคลากร-นศ. ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม นำศักยภาพด้านวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันภาคเอกชน

ผศ.ดร.นิวัต กลิ่นงาม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ มรภ.สงขลา นำโดย ดร.อัจฉรา วงศ์วัฒนามงคล รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) กับ มรภ.สงขลา ในโครงการส่งเสริมและสนับสนุนบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการจัดการจากภาครัฐและสถาบันอุดมศึกษาไปปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในภาคการผลิตและบริการ (Talent mobility) ซึ่งเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) ในสถาบันอุดมศึกษาในการเพิ่มขีดความสามารถภาคเอกชน ภายใต้เครือข่ายมหาวิทยาลัยในภาคใต้ เพื่อเป็นกลไกสร้างความเชื่อมโยงระหว่างนักวิจัยด้าน วทน. และนักศึกษา มรภ.สงขลา กับภาคเอกชน ให้เกิดความเข้มแข็ง ก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่และเกิดการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนความรู้ที่ตอบโจทย์ความต้องการของภาคเอกชน ซึ่งมีผลต่อการพัฒนาภาคเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมของประเทศ

ผศ.ดร.นิวัต กล่าวว่า นอกจากนั้น ยังเป็นการส่งเสริมและกระตุ้นให้ภาคเอกชนเพิ่มกิจกรรมการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนา (R&D) โดยเคลื่อนย้ายนักวิจัยและนักศึกษา มรภ.สงขลา ด้วยการนำองค์ความรู้และเทคนิคด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ไปช่วยพัฒนาการทำวิจัยในภาคเอกชน ทั้งนี้ มรภ.สงขลา จะอำนวยความสะดวกในการไปปฏิบัติงาน และสนับสนุนอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการทำวิจัยเท่าที่มีในมหาวิทยาลัยฯ หรืออำนวยความสะดวกในการขอรับบริการที่ห้องปฏิบัติการในพื้นที่แก่นักวิจัย ขณะเดียวกัน มอ. จะผลักดันและสนับสนุนให้เกิดการเคลื่อนย้ายบุคลากรด้าน วทน. ไปปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในภาคเอกชน เพื่อให้เกิดการจับคู่ (matching) ระหว่างนักวิจัยของ มรภ.สงขลากับภาคเอกชนเพื่อให้เกิดโครงการต่อไป

"จากความร่วมมือในครั้งนี้จะทำให้นักวิจัยและนักศึกษาได้รับประสบการณ์ในการทำงานร่วมกับภาคเอกชน เพื่อนำศักยภาพของตนเองไปสู่การใช้ประโยชน์ โดยร่วมกันทำวิจัยและแก้ไขปัญหาทางเทคนิคด้วยองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมตามความต้องการของภาคเอกชนอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ นำไปสู่การเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสังคมวิจัยของประเทศ" อธิการบดี มรภ.สงขลา กล่าว

ด้าน ดร.วนิดา เพ็ชร์ลมุล อาจารย์วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มรภ.สงขลา วิทยาเขตสตูล ประธานคณะกรรมการดำเนินงานโครงการ Talent mobility กล่าวว่าเดิมทีโครงการ Talent mobility หรือ TM มีแม่ข่ายในภาคใต้คือ มอ. แต่เพื่อเป็นการขยายเครือข่ายและก่อให้เกิดการผลักดันงานอุตสาหกรรมร่วมกับทางมหาวิทยาลัย ตนในฐานะตัวแทนของ มรภ.สงขลา ซึ่งเป็นกรรมการพิจารณาโครงการที่ส่งข้อเสนอไปยัง มอ. และ อ.ภวิกา มหาสวัสดิ์ ผู้เสนอโครงการเพื่อขอรับทุนจากอุทยานวิทยาศาสตร์ มอ. จึงหารือเกี่ยวกับการขยายการดำเนินงานในเรื่องดังกล่าวมาสู่ราชภัฏ และเชิญ มอ. มาพูดคุยในรายละเอียดกับอธิการบดี จากนั้นจึงมีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานขึ้นมา 1 ชุด เพื่อขับเคลื่อนการทำงานร่วมกัน และเริ่มเป็นรูปธรรมจากการลงนามบันทึกข้อตกความร่วมมือระหว่าง มอ. กับ มรภ.สงขลา ในครั้งนี้นั่นเอง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ