“สามารถ” ผนึกกระทรวงไอซีที และซอฟต์แวร์ ปาร์ค ประกาศผลสุดยอดนักพัฒนาโปรแกรมบนมือถือ Samart Innovation Awards ครั้งที่ 3

ศุกร์ ๑๓ มกราคม ๒๐๐๖ ๐๙:๕๗
กรุงเทพฯ--13 ม.ค.--124 คอมมิวนิเคชั่น
บริษัท สามารถคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ร่วมกับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พร้อมด้วยเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย ประกาศผลรางวัลการประกวดนวัตกรรม “รางวัลเพื่อความสามารถของคนไทย” หรือ Samart Innovation Awards ครั้งที่ 3 ประจำปี 2548 พร้อมเดินเครื่องสร้างนักพัฒนาโปรแกรมบนมือถือเลือดใหม่ ส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย
นายเจริญรัฐ วิไลลักษณ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท สามารถคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า โครงการ Samart Innovation Awards 2005 เป็นโครงการที่เกิดจากความร่วมมือของภาครัฐและเอกชน ซึ่งริเริ่มโดย บริษัท สามารถคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย รวมถึงการสนับสนุนจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา กองทุนพัฒนานวัตกรรม และสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวและสนใจในเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมากขึ้น และผลักดันการพัฒนาขีดความสามารถของเหล่านักพัฒนาโปรแกรมของไทย โดยหวังว่าในอนาคตอันใกล้ เราจะได้เห็นซอฟท์แวร์คุณภาพฝีมือคนไทยออกไปบุกตลาดเมืองนอกและนำรายได้เข้าสู่ประเทศ นอกจากนี้
การจัดประกวด Samart Innovation Awards ไม่ได้มุ่งหวังเพียงให้เยาวชนแข่งขันกันเพื่อชิงรางวัลเท่านั้นแต่เรายังเน้นให้เกิดการเรียนรู้ สร้างประสบการณ์และสร้างสังคม (Community) ให้กับกลุ่มนักพัฒนาซอฟท์แวร์รุ่นเยาว์ บริษัทฯ จึงได้จัดกิจกรรมเสริมอาทิ Smart Thinker Camp และ Smart Training ขึ้น โดยได้อาศัยผู้เชี่ยวชาญจากบริษัท สามารถอินโฟมีเดีย ซึ่งเป็นผู้นำในการพัฒนาซอฟท์แวร์และคอนเท้นท์บนมือถือของไทยมาเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้จากประสบการณ์จริงสู่เยาวชน ยิ่งไปกว่านั้น บริษัทฯ ยังพร้อมที่จะให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่องในเชิงพาณิชย์สำหรับผลงานที่ได้รับการคัดเลือก เพื่อเป็นกำลังใจให้เหล่าเยาวชนได้คิดและพัฒนาผลงานต่อไป
ในปีนี้หัวข้อการประกวดมุ่งเน้นที่การออกแบบ Software Application for Mobile เพื่อให้สอดคล้องกับเทรนด์การใช้เทคโนโลยีจากโทรศัพท์มือถือของคนในยุคปัจจุบัน ซึ่งแบ่งหัวข้อการประกวดออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ Game Application, Internet Utility Application, Information Application และ Personal Information Management Application
ปีนี้มีผลงานส่งเข้าประกวดทั้งสิ้นกว่า 200 ผลงาน มากขึ้นกว่า 2 ปีที่ผ่านมา เพราะเงินรางวัลมีการปรับเปลี่ยนมากขึ้น ซึ่งนอกจากตัวเด็กที่ส่งผลงานจะได้รางวัลแล้ว อาจารย์ และสถาบันของเด็กก็จะได้รับรางวัลด้วย โดยเป็นทุนวิจัยแก่อาจารย์ที่ปรึกษาของเด็กที่ส่งผลงาน และส่วนหนึ่งเป็นทุนวิจัยสำหรับคณะ/ภาควิชา ต้นสังกัดอาจารย์ที่ปรึกษา อีกเหตุผลหนึ่งคือเด็กมีความรู้มีความสามารถ รู้จักพัฒนา และกล้าคิดกล้าแสดงออกมากขึ้น ทำให้ผลงานที่ส่งมามีคุณภาพ และมีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้นด้วย ปีนี้เรายังได้รับเกียรติจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมาช่วยกันคัดเลือกผลงาน ซึ่งประกอบไปด้วยบุคลากรจาก 3 ภาค ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ผู้เชี่ยวชาญด้านซอฟต์แวร์แอพพลิเคชั่นจากภาคเอกชน และสื่อมวลชน จนได้ผลงานที่เข้ารอบสุดท้าย จำนวน 54 ผลงาน และมีผลงานที่ได้รับรางวัลทั้งสิ้น 17 ผลงาน ซึ่งแต่ละผลงานล้วนแสดงถึงความคิดสร้างสรรค์และทักษะของเหล่าเยาวชนนักพัฒนาซอฟต์แวร์ของไทย ที่สำคัญปีนี้ภายหลังจากการพิจารณาความพร้อมด้านต่างๆแล้ว บริษัทฯ มีแนวทางที่จะนำผลงานของเยาวชนที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้มาต่อยอดความสำเร็จในเชิงธุรกิจต่อไป ซึ่งมั่นใจว่าปีนี้คนไทยจะมีโอกาสได้ชื่นชมผลงานซอฟต์แวร์ของเด็กไทยจากโครงการ Samart Innovation Awards 2005 แน่นอน และในฐานะแกนนำผู้จัดโครงการ บริษัท สามารถคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จะยังคงมุ่งมั่นสร้างสรรค์กิจกรรมที่เป็นประโยชน์เช่นนี้อย่างต่อเนื่องต่อไป นายเจริญรัฐ กล่าวในตอนท้าย
ผลงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในโครงการประกวด Samart Innovation Awards 2005 แต่ละประเภทมีดังนี้
- รางวัล Gold Awards ในประเภท Information App. ได้แก่ ผลงาน “Music Caller” โดย นายสิทธิพล พรรณวิไล นางส่าวพรปวีณ์ บำเพ็ญสันติ
- รางวัล Silver Awards ในประเภท Game App. ได้แก่ ผลงาน “Need More Speed” โดย นายอธิป น้อมศิริ นายสิทธิกร ชัยรัตนภิวงศ์ และนายเชษฐ์ ปอแก้ว
- รางวัล Silver Awards ในประเภท Information App. ได้แก่ ผลงาน”ระบบติดตามและตรวจสอบการขนส่งสินค้าผ่านเทคโนโลยีระบุพิกัดจากดาวเทียม” โดย นายนราศักดิ์ แม้นสุรางค์ และนายคเชนทร์ ศุกรเวทย์ศิริ
- รางวัล Silver Awards ในประเภท Information App. ได้แก่ ผลงาน “พัฒนาระบบวิเคราะห์ตำแหน่งด้วยแรงสัญญาณ (Positioning System Approach Using Signal-Strength Relations)” โดย นายอารยะ สวัสดิชัย และนายชวนพ วิทยาภิรักษ์
- รางวัล Silver Awards ในประเภท Internet Utility App. ได้แก่ ผลงาน “Bug Find” โดย นายอภินันท์ ดาบเพ็ชร
- รางวัล Silver Awards ในประเภท Game App. ได้แก่ ผลงาน “Place Master” โดย นายชาญณรงค์ หาญประยงค์ นายพิษณุ เบ็ญจมาคม และนายธนพงศ์ บุญแต่ง
- รางวัล Bronze Awards ในประเภท Personal Information Management App. ได้แก่ ผลงาน “Diet Buddy” โดย นายพงษ์รบ สายสุวรรณ
- รางวัล Bronze Awards ในประเภท Game App. ได้แก่ ผลงาน “Mamimal Tamer (Mobile Animal Tamer)” โดย นายอุทัย ชาวบ้านเกาะ นายประสิทธิ์ สืบสอน และนายบัญชา คงดี
- รางวัล Bronze Awards ในประเภท Personal Information Management App. ได้แก่ ผลงาน “แก้มแดงคลับ Tomato Cheeks” โดย นายอมตวิทย์ คำแหง และนายสุนทร สรรค์พฤกษ์สิน
- รางวัล Bronze Awards ในประเภท Game App. ได้แก่ ผลงาน “เกมลูกแก้ว (Magic Ball)” โดย นายวิรุธ คำกองแก้ว และนายเดชากร วสันต์ชื่นโชคชัย
- รางวัล Bronze Awards ในประเภท Information App. ได้แก่ ผลงาน “Wireless Intercommunication system via Bluetooth (ระบบอินเตอร์คอมไร้สายด้วยบลูทูธ) โดย นายสุวัฒน์ กะลัมภะวณิช และนายพิชญ์ สุทธิวรรณ
- รางวัล Bronze Awards ในประเภท Information App. ได้แก่ ผลงาน “ระบบค้นหาและตรวจสอบราคาสินค้าที่ลดราคาผ่านโทรศัพท์มือถือ” โดย นายโตมร วงศ์ธิเบศร์ นายชาญศักดิ์ คชเสน และนางสาวกรอบแก้ว ตรีจันทร์
- รางวัล Bronze Awards ในประเภท Information App. ได้แก่ ผลงาน “Navigator on the Road” โดย นายฐิฏิกร เชื่อมทอง และนายวิรุฬ พุ่มกร
- รางวัล Bronze Awards ในประเภท Internet Utility App. ได้แก่ ผลงาน “JJ on Tour” โดย นางสาวลลิตา สันติวรรักษ์ และนายกิตติพงษ์ มงคุณ
- รางวัล Bronze Awards ในประเภท Information App. ได้แก่ ผลงาน “Informate (RSS Reader) โดย นายภาคย์ กิตติภัทรกุล นายภูสิน โรจน์หิรัญสกุล และนายพงศ์ภัทร สกุลไชยกร
- รางวัล Bronze Awards ในประเภท Internet Utility App. ได้แก่ ผลงาน “Dopi World” โดย นายรพี สุวีรานนท์ และนายบัณฑิต จิตคงชื่น
- รางวัล Bronze Awards ในประเภท Personal Information Management App. ได้แก่ ผลงาน “โปรแกรมควบคุมระบบนิเวศน์ตู้ปลาทะเลน้ำลึกผ่านทางโทรศัพท์มือถือ” โดย นายเฉลิมพงศ์ ปภาคีรี นายเสกสรรค์ ฉิมวงศ์ และนายวิทวัส ตั้งทิฐิลาภา
สำหรับรางวัลในการประกวดครั้งนี้ ได้แบ่งออกเป็น 3 ประเภท จำนวนทั้งสิ้น 17 รางวัล ดังนี้
- รางวัล Innovation Software Application Gold Awards รางวัลละ 400,000 บาท จำนวน 1 รางวัล
- รางวัล Innovation Software Application Silver Awards รางวัลละ 200,000 บาท จำนวน 5 รางวัล
- รางวัล Innovation Software Application Bronze Awards รางวัลละ 120,000 บาท จำนวน 11 รางวัล
ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการประกวด Samart Innovation Awards 2005 และผลการตัดสิน ได้ที่เว็บไซต์ www.samartcorp.com/innovation_award
ข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ
ชัยวัฒน์ สิมะวัฒนา / พรพรรณ ฉวีวรรณ
บริษัท 124 คอมมิวนิเคชั่นส จำกัด (มหาชน)
โทร 0-2662-2266
www.124comm.com--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO