CDIP เพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรด้วยงานวิจัย เตรียมสอยจาก หิ้ง สู่ห้าง

พุธ ๒๕ กรกฎาคม ๒๐๑๘ ๑๗:๒๗
CDIP จับมือกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผุดโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับผู้ประกอบการใหม่สาขาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร และการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ หวังเชื่อมโยงทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องร่วมต่อยอดงานวิจัยเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรของไทย

ดร.สิทธิชัย แดงประเสริฐ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ซีดีไอพี (ประเทศไทย) จำกัด หรือCDIPเปิดเผยถึง โครงการ 'กิจกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับผู้ประกอบการใหม่สาขาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร และการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ' โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนมาจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และศูนย์บริการปรึกษาการออกแบบและวิศวกรรม หรือ DECC ซึ่งเป็นหน่วยบริการหนึ่งใน สวทช. โดย CDIP รับไม้ต่อมาเปิดรับสมัครผู้ประกอบการจำนวน 50 กิจการ ผ่านทางออนไลน์ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เกี่ยวกับการเพิ่มมูลค่าสินค้าทางการเกษตรด้วยนวัตกรรมและดีไซน์ การพัฒนาห่วงโซ่อุปทานธุรกิจ ตั้งแต่ต้นน้ำสู่ปลายน้ำ จากแหล่งผลิตสินค้าเกษตรสู่ตลาดรีเทล ก่อนจะคัดเลือกผู้ประกอบการให้เหลือเพียง 20 กิจการ ติวเข้มอีกรอบเพื่อนำเสนอ 20ผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นมา และจับคู่ธุรกิจต่อไป หวังเชื่อมโยงทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องให้มาร่วมกันต่อยอดงานวิจัยเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรของไทย ก่อนจะผลักดันเป็นสินค้า Health Care คุณภาพ จำหน่ายในเชิงพาณิชย์

สำหรับโครงการดังกล่าว มี 4 เป้าหมายหลัก ได้แก่ 1.Pilot plantเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ 2. การขึ้นทะเบียน อย. 3.โรงงานผลิต นอกจาก JSP เรายังมีโรงงานที่เป็นพาร์ทเนอร์อีกด้วย 4.Matchingโดยพาเอสเอ็มอีไปพบผู้ประกอบการรายใหญ่ที่ต้องการสินค้าใหม่ เพื่อตอบโจทย์นโยบายภาครัฐ ที่ต้องการให้ช่วยกันพัฒนาสินค้าเกษตรด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาสามารถขายได้จริง เป็นสินค้าใหม่ ไร้คู่แข่ง ไม่ใช่ทำของเลียนแบบ ขายตัดราคากันเอง

อย่างไรก็ตามการจับมือกับทุกภาคส่วนในการช่วยเหลือเอสเอ็มอีพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ไม่ใช่โครงการแรกของ CDIPเพราะก่อนหน้านี้บริษัทเคยร่วมมือกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) รวมทั้ง สวทช.ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับข้าวมาแล้ว โดยเปิดรับผู้ประกอบการจำนวน 200 ราย มาเข้ารับการอบรมให้ความรู้ ก่อนจะคัดเลือกให้เหลือเพียง 10 ราย เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และจับคู่ธุรกิจกับผู้ประกอบการรายใหญ่ที่มีนโยบายสนับสนุนสินค้าทางการเกษตร อาทิ บางจาก โครงการหลวง เป็นต้น และต่อไปทาง ดร.สิทธิชัย จะนำงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กว่า 100 งาน ที่ยังไม่เคยนำไปต่อยอดเชิงพาณิชย์มาก่อน โดย CDIP รับหน้าที่จับมาจับคู่กับผู้ประกอบการที่คัดเลือกมาแล้วจำนวน 7 ราย โดยผู้ประกอบการเหล่านี้ถือเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพ และขายสินค้าอยู่ในห้างอยู่แล้ว เพียงยกโมเดลTraining, PitchingและMatchingไปวางก็สามารถกรุยทางนำองค์ความรู้ออกมาสู่ตลาด ผลักดันงานวิจัยบน'หิ้ง' ไปขาย บน 'ห้าง' ได้เป็นผลสำเร็จ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ