โรงพยาบาลไทยนครินทร์ได้รับโล่และใบรับรอง โรงพยาบาลที่ผ่านการรับรองคุณภาพด้านการจัดตั้งหออภิบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke Unit) จากกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

พฤหัส ๒๖ กรกฎาคม ๒๐๑๘ ๑๙:๐๐
โรงพยาบาลไทยนครินทร์ได้รับโล่และใบรับรอง โรงพยาบาลที่ผ่านการรับรองคุณภาพด้านการจัดตั้งหออภิบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke Unit) จากกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข แสดงถึงศักยภาพและความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

โรงพยาบาลเครือข่ายที่ได้มาตรฐานช่วยลดอัตราการสูญเสีย

การรับรองคุณภาพด้านการจัดตั้งหออภิบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke Unit) เป็นโครงการที่ดำเนินการโดยกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการจัดตั้งหออภิบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ให้เกิดขึ้นกับโรงพยาบาลเครือข่ายโรคหลอดเลือดสมองทั้งในภาครัฐและภาคเอกชนทั่วประเทศ

โรคหลอดเลือดสมองจัดเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี โดยผู้ป่วยที่รอดชีวิตมักมีความพิการหลงเหลืออยู่ แต่หากผู้ป่วยในระยะเฉียบพลัน ได้รับการตรวจวินิจฉัยและการรักษาพยาบาลที่รวดเร็ว ภายใต้ระบบการบริการตามมาตรฐานที่ได้กำหนดไว้อย่างเหมาะสม ก็จะมีส่วนสำคัญยิ่งที่จะช่วยลดอัตราการตายและลดความพิการได้ ซึ่งจะลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจของครอบครัว สังคม และประเทศได้เช่นเดียวกัน

ศักยภาพของศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลไทยนครินทร์

ศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลไทยนครินทร์ เปิดตัวอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ.2559 ให้บริการตรวจรักษาโรคทางสมองและระบบประสาทที่ได้มาตรฐานระดับสากล ด้วยทีมแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านสมองและระบบประสาท ทั้งอายุรกรรมประสาท (Neurology Services) และศัลยกรรมประสาท (Neurosurgery Services) มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ใช้ในการตรวจวินิจฉัย อาทิ เครื่องอัลตราซาวน์ตรวจการไหลเวียนเลือดของหลอดเลือดแดงในสมอง (Transcranial Doppler-TCD) เครื่องตรวจหลอดเลือดแดงใหญ่บริเวณคอ (Carotid Duplex Ultrasound-CDUS) และเครื่องเอกซเรย์หลอดเลือดสองระนาบ (Angiogram Biplane System + 3D Rotational Angiography) เป็นต้น

"โรงพยาบาลไทยนครินทร์ได้เตรียมการณ์รับมือปัญหาเรื่องโรคหลอดเลือดสมองมาโดยตลอด เนื่องจากแนวโน้มและสถิติชี้ให้เห็นว่าผู้ป่วยโรคนี้จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งจากสถิติผู้ใช้บริการกลุ่มนี้ที่ศูนย์สมองและระบบประสาทมีอัตราเติบโตในปี 2560 เมื่อเทียบกับปี 2559 อยู่ที่ประมาณร้อยละ 45 ทางโรงพยาบาลฯ จึงได้พัฒนาและนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาตรวจรักษา พัฒนาความสามารถของบุคลากรทุกฝ่ายให้ได้ตามมาตรฐาน และเพื่อให้สามารถรับมือกับภาวะฉุกเฉินทางหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยได้ทันทีและรวดเร็ว โล่และใบรับรองโรงพยาบาลที่ผ่านการรับรองคุณภาพด้านการจัดตั้งหออภิบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke unit) ที่โรงพยาบาลฯ ได้รับในวันนี้ เป็นบทพิสูจน์ถึงศักยภาพของโรงพยาบาลไทยนครินทร์และความสามารถของทีมงานทุกฝ่าย" ศ.คลินิกเกียรติคุณ นพ. ชัยพร ภัทราคม ผู้อำนวยการแพทย์ โรงพยาบาลไทยนครินทร์กล่าว

ศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลไทยนครินทร์ มีคุณสมบัติครบตามเกณฑ์การประเมิน ดังนี้

- มีสถานที่เฉพาะภายในโรงพยาบาลที่ใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะแรก เพื่อที่จะสามารถติดตามสัญญาณชีพและเฝ้าสังเกตอาการทางระบบประสาทได้อย่างใกล้ชิด คือ Acute Stroke Unit เป็นหอผู้ป่วยที่ดูแลผู้ป่วยในระยะเฉียบพลัน ผู้ป่วยภาวะวิกฤต โดยมีจำนวนเตียงรองรับอย่างน้อย 4 เตียง และมี Rehabilitation unit คือ หอผู้ป่วยในที่รองรับผู้ป่วยหลังจากเกิดอาการแล้ว 1 - 2 สัปดาห์ (แล้วแต่กรณี) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การรักษาโดยทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพเป็นหลัก

- มีบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญทางโรคหลอดเลือดสมอง ประกอบด้วยแพทย์และพยาบาลที่ผ่านการอบรมเฉพาะทางความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดสมอง สามารถทำงานอย่างมืออาชีพร่วมกับทีมสหวิชาชีพอื่น ๆ เช่น ฝ่ายวิเคราะห์โรค รังสีวินิจฉัย เภสัชกร กายภาพบำบัด โภชนาการ ศูนย์ส่งต่อ เป็นต้น ซึ่งบุคลากรทางการแพทย์เหล่านี้มีการพัฒนาความรู้และทักษะมาอย่างต่อเนื่อง

- มีทีมงานที่เข้าใจถึงแผนการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง (Care Maps) และแผนการให้ความรู้ที่จัดเตรียมไว้ โดยผ่านการประชุมของทีมสหวิชาชีพอย่างสม่ำเสมอ

- มีการจัดเตรียมครุภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ วัสดุ อุปกรณ์ตามหลักเกณฑ์พื้นฐาน / อุปกรณ์ เครื่องมือเสริมของการจัดตั้งหออภิบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke Unit) เพื่อให้การดูแลรักษาพยาบาลมีประสิทธิภาพสูงสุด เช่น เครื่องเฝ้าระวังลักษณะการเต้นของหัวใจ (EKG Monitor) เครื่องช่วยหายใจ (Respirator) เครื่องวัดเปอร์เซ็นความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด (Pulse oxymetry) เครื่อง Infusion pump /Syringe pump เครื่อง Defibrillation เครื่องวัดน้ำตาลในเลือดจากปลายนิ้ว (DTX) เครื่องปรับอุณหภูมิร่างกาย (Hypo-hyperthermia) ที่นอนลม เป็นต้น

- มีการให้ความรู้และคำแนะนำประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบเกี่ยวกับโรค Stroke เกี่ยวกับโรงพยาบาลไทยนครินทร์

บริษัท โรงพยาบาลไทยนครินทร์ จำกัด (มหาชน) เปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2536 เป็นโรงพยาบาลเอกชนในย่านกรุงเทพฯ ตะวันออก ให้บริการรักษาพยาบาลทั้งผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน และผู้ป่วยฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง โดยมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขาพร้อมเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัยได้มาตรฐาน ปัจจุบันโรงพยาบาลฯ มีทีมแพทย์และทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกือบ 400 ท่าน บุคลากรด้านการพยาบาลกว่า 500 ท่าน รวมทั้งทีมสหสาขาวิชาชีพอื่นๆ สามารถรองรับผู้ป่วยนอกได้ 2,000 คนต่อวัน มีเตียงสำหรับผู้ป่วยใน 190 เตียง มีศูนย์และคลินิกให้บริการรักษาพยาบาลทั้งสิ้น 25 ศูนย์ มีบริการคลินิกนอกเวลาจนถึงเวลา 22.00 น. โรงพยาบาลไทยนครินทร์ จำกัด (มหาชน) เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) โดยเข้าซื้อขายตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2548 เป็นต้นไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version