ดูวิดิโอ fb Live คลิกที่ลิงค์นี้: https://www.facebook.com/dr.sopon4/videos/1695910170521562/
https://img.thaipr.net/thaipr/600x600s/tmp/20180803/4fecd7d352eb5948714535d95436c86c.jpg
ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) เปิดเผยผลการสำรวจตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยพบว่ามีบริษัท "เจ้าตลาด" ขนาดใหญ่ และสะท้อนภาพรวมของตลาดที่น่าสนใจ ดังนี้:
1. บมจ.พฤกษา เรียลเอสเตท ยังคงเป็นบริษัทพัฒนาที่ดินอันดับหนึ่งโดยเฉพาะจำนวนหน่วยและโครงการที่เปิดตัว โดยในครึ่งแรกของปี 2561 มีการเปิดตัวถึง 25 โครงการ รวม 5,348 หน่วย หรือ 12% ของจำนวนหน่วยเปิดใหม่ทั้งตลาด และมีมูลค่ารวม 19,559 ล้านบาท หรือ 10% ของมูลค่าเปิดใหม่ทั้งตลาด
2. แม้ บมจ.แสนสิริจะเป็นอันดับสองในแง่ของจำนวนโครงการและจำนวนหน่วย คือเปิดตัว 12 โครงการ 4,293 หน่วย หรือ 9% ของหน่วยเปิดใหม่ทั้งตลาด แต่มีมูลค่ารวมกันเป็นอันดับหนึ่ง คือสูงถึง 22,801 ล้านบาท หรือ 12% ของมูลค่าเปิดตัวใหม่ทั้งตลาด เพราะบริษัทนี้เน้นการพัฒนาสินค้าราคาแพง
3. บมจ.แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวบบอปเมนท์ บมจ.อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ บมจ.แอล พี เอ็น ดีเวลลอปเมนท์ และ บมจ.เสนา ดีเวลลอปเม้นท์ เป็นบริษัทมหาชนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่พัฒนาหน่วยขายเกินกว่า 2,000 หน่วย นับเป็นบริษัทที่มีความโดดเด่นมากเป็นพิเศษในครึ่งปีแรก แต่ก็มีการสลับตำแหน่งในแต่ละช่วง
4. ในจำนวนบริษัทใหญ่ที่สุด 20 แห่งที่เป็นเจ้าตลาดนี้ มีบริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์ถึง 8 บริษัท นอกนั้นอีก 12 บริษัทเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ บริษัทนอกตลาดหลายแห่งมีแนวโน้มที่จะเข้าตลาดหลักทรัพย์ในอนาคต แต่หลายแห่งก็ไม่มีแนวโน้วว่าจะเข้าโดยเฉพาะบริษัทจากต่างประเทศ
5. บริษัทจีนเริ่มมีบทบาทสำคัญในตลาดแล้ว โดย บจก.เทียนเฉิน อินเตอร์เนชั่นแนล พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) พัฒนาโครงการใหม่เพียง 1 แห่ง 1,957 หน่วย แต่มีมูลค่ารวมกันถึง 11,340 ล้านบาท นับเป็นบริษัทที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 4 เป็นรองเฉพาะ บมจ.พฤกษาฯ บมจ.แสนสิริ และ บมจ.แผ่นดินทองฯ
6. นอกจากนี้ยังมีบริษัทจีนอีกแห่งคือ บจก.บีจีวาย แอนด์ ทีเอฟดีพร็อพเพอร์ตี้ ที่เปิดตัว 1 โครงการ จำนวน 1,297 หน่วย หรือ 3% ของจำนวนหน่วยที่เปิดใหม่ ในแง่จำนวนหน่วย (ลำดับที่ 11) แต่มีมูลค่าสูงถึง 6,270 ล้านบาท หรือ 3% ของมูลค่ารวมทั้งตลาด นับเป็นลำดับที่ 8 ในด้านมูลค่า
7. จะเห็นได้ว่า 5 อันดับแรกของบริษัทพัฒนาที่ดินครองส่วนแบ่งตลาดถึง 30% ของจำนวนโครงการ 39% ของจำนวนหน่วย และ 39% ของมูลค่าการเปิดตัวใหม่ เป็นสิ่งที่น่าสนใจติดตามว่าจะเป็นไปได้เช่นในญี่ปุ่นหรือไม่ว่า บริษัทใหญ่ๆ 4 แห่งสามารถครองตลาดอาคารชุดถึง 70% ของทั้งตลาดหรือไม่
8. อย่างไรก็ตาม ใน 20 บริษัทแรกนี้ ครองส่วนแบ่งตลาดรวมกันถึง 51% ของจำนวนโครงการเปิดใหม่ ครองจำนวนหน่วยรวมถึง 75% และครองมูลค่าการพัฒนาใหม่ถึง 77% แสดงว่าประมาณสามในสี่ของตลาดได้รับการครอบครองโดยบริษัทเพียง 20 แห่งเท่านั้น บริษัทเหล่านี้มีขนาดใหญ่กว่าการเคหะแห่งชาติเสียอีก
9. โอกาสของบริษัทพัฒนาที่ดินเล็ก ๆ จะจำกัดลงไปเรื่อยๆ โดยเฉพาะการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ แต่หากในอนาคตมีการขยายการพัฒนาสาธารณูปโภคออกไปตามพื้นที่ต่าง ๆ มากขึ้น และหากเศรษฐกิจดีขึ้น โอกาสที่เจ้าของที่ดินทั่วไปจะเข้าร่วมการพัฒนาที่ดินก็จะมีมากขึ้นเช่นกัน
10. ในภาวะที่ตลาดเน้นไปยังกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลางและรายได้ปานกลางค่อนข้างสูง โอกาสที่จะพัฒนาบ้านและที่อยู่อาศัยแบบอาคารชุดในระดับราคาถูกหรือปานกลางค่อนข้างถูก จึงมีน้อย เพราะกำลังซื้อของประชาชนทั่วไปมีน้อย ดังนั้นโอกาสที่บริษัทเล็กๆ จะทำโครการเล็กๆ จึงอาจมีจำกัดไปด้วย
อนาคตการการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ก็อาจเกิดขึ้นอีก จะเห็นได้ว่าบริษัทที่เคยเป็นบริษัทพัฒนาที่ดินขนาดใหญ่ก็หดหายไปบ้าง มีบริษัทใหม่เกิดขึ้นมาบ้าง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแผนธุรกิจและการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการพัฒนาในอนาคตด้วยเช่นกัน
ที่มา: https://bit.ly/2n5GtjN