มะเร็งตับ...รักษาได้

พฤหัส ๐๙ สิงหาคม ๒๐๑๘ ๑๗:๒๘
โรคมะเร็งตับเป็นปัญหาสุขภาพของคนไทยมานาน หากตรวจพบช้าจะมีโอกาสเสียชีวิตได้ ดังนั้นการการตรวจพบตั้งแต่ระยะเริ่มต้น และได้รับรักษาอย่างถูกวิธี สามารถทำให้ปลอดจากโรคได้

รศ.นพ.คมกริช ฐานิสโร หัวหน้าศูนย์รังสีร่วมรักษา โรงพยาบาลวัฒโนสถ กล่าวว่า ปัจจุบันสถานการณ์โรคมะเร็งตับถือเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอับดับต้นๆ ของมะเร็งทั้งหมดที่พบในเพศชาย เนื่องจากตับเป็นอวัยวะที่มีเลือดเข้าไปเลี้ยงมาก และเป็นอวัยวะสำคัญที่ช่วยกำจัดสารพิษและของเสีย ผลิตน้ำดีในการย่อยอาหาร ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด สร้างและเก็บสะสมแป้งและไขมันเพื่อเป็นพลังงาน และรักษาสมดุลในร่างกาย ดังนั้นเมื่อเซลล์บริเวณตับเกิดการแบ่งตัว เพิ่มจำนวนอย่างผิดปกติจนพัฒนากลายมาเป็นมะเร็งตับ(Liver Cancer)ได้ในที่สุด สาเหตุของมะเร็งตับ เกิดได้จากภาวะตับแข็งจากสาเหตุต่างๆ เช่น การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี การดื่มแอลกอฮอล์ ไขมันเกาะตับ โรคเบาหวาน โรคอ้วน หรือรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซิน (Aflatoxin) ที่พบมากในถั่วลิสงแห้งหรือพริกป่นแห้งที่ไม่สะอาด อาการที่เป็นสัญญาณเตือนคือ ผู้ป่วยจะมีอาการปวด แน่น และเจ็บบริเวณท้องบนด้านขวาและลิ้นปี่ คล้ายกับโรคกระเพาะอาหาร มีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลดแบบไม่ทราบสาเหตุ และเมื่อมะเร็งทำลายตับมากขึ้นหรือเกิดการอุดตันของท่อน้ำดีก็จะมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง ท้องโต ปัสสาวะมีสีเหลืองเข้มคลำเจอก้อนขนาดใหญ่ใต้ชายโครงด้านขวา ที่ต้องระวังคือโรคมะเร็งตับในระยะแรกนั้นจะไม่ค่อยแสดงอาการ การวินิจฉัยทำได้โดย 1.การตรวจอัลตราซาวด์ ซึ่งเป็นวิธีเบื้องต้นที่ง่ายที่สุด 2.ตรวจเลือดหาค่า AFP ซึ่งเป็นสารบ่งชี้มะเร็งตับ หากมีค่า AFP สูงอาจบ่งบอกได้เบื้องต้นว่ามีเซลมะเร็งตับในตัวคนไข้ ซึ่งแพทย์จะอาจพิจารณาให้ตรวจวินิจฉัยอื่นๆ เพิ่มเติมต่อไป 3.การตรวจด้วยการเอกซเรย์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ (CT Scan) 4.การตรวจ MRI (Magnetic Resonance Imaging) คือ การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ทำให้เห็นความผิดปกติของตับอย่างชัดเจน และท้ายสุดคือ 5.การตัดชิ้นเนื้อตรวจด้วยเข็ม (needle biopsy) เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยวินิจฉัยโรคมะเร็งตับได้อย่างตรงจุด

การรักษามะเร็งตับขึ้นอยู่กับระยะของโรค เริ่มตั้งแต่ 1.การผ่าตัด เป็นวิธีรักษาที่ได้ผลแต่ต้องระวังถึงผลกระทบต่อเนื้อเยื่อข้างเคียง ที่ก่อให้เกิดอันตรายถึงตับวายหลังผ่าตัดได้ 2.การใช้เข็มจี้ด้วยความร้อน ซึ่งอาจใช้คลื่นไมโครเวฟ (microwave) หรือ คลื่นความถี่วิทยุ (RF) ใช้ในกรณีที่ก้อนเนื้องอกมีขนาดไม่เกิน 5 เซนติเมตร วิธีนี้ข้อดีคือเนื้อตับถูกทำลายน้อย ช่วยทำลายเซลล์มะเร็งได้แบบถาวร นอน รพ.แค่คืนเดียว แผลเล็กแค่ 3 มม.ทำให้ฟื้นตัวเร็วมาก 3.การให้เคมีบำบัดผ่านทางหลอดเลือดแดง (Transarterial Chemoembolisation หรือ TACE) เป็นการรักษาผู้ป่วยมะเร็งตับในกรณีที่ไม่สามารถทำการผ่าตัดได้ เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงและก้อนเนื้อมีขนาดใหญ่มากกว่า 5 ซม. โดยการสอดกล้องหรือท่อเล็กๆ เข้าไปทางหลอดเลือดแดงตรงขาหนีบแล้วใช้เครื่องเอกซเรย์หลอดเลือดตรวจหาหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงก้อนเนื้องอกที่ตับ จากนั้นให้ยาฆ่าเซลล์มะเร็งและให้สารอุดกั้นหลอดเลือดแดง ทำให้ก้อนเนื้องอกถูกทำลายลงและขาดเลือดไปเลี้ยง ปัจจุบันกระบวนการรักษามะเร็งตับ จะพยายามเลี่ยงการทำลายส่วนของเนื้อตับปกติ ที่ไม่ใช่เซลล์มะเร็ง ฉะนั้นเทคโนโลยีการรักษามะเร็งตับที่ช่วยให้สามารถทำลายก้อนเนื้อได้แบบตรงจุด คือทางเลือกที่ดีต่อผู้ป่วย Fusion Ultrasound ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่มีประสิทธิภาพ สามารถดึงภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT SCAN) หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) มารวมกับภาพจากเครื่องอัลตราซาวด์ กลายเป็นภาพ 4 มิติที่มองเห็นก้อนเนื้อและขอบเขตได้ละเอียด ช่วยในการรักษาได้ตรงตามตำแหน่งที่ต้องการ เมื่อนำมาใช้ร่วมกับการรักษามะเร็งตับด้วยคลื่นไมโครเวฟ (Microwave Ablation) ที่ใช้พลังงานความร้อนเข้าไปทำลายก้อนเนื้อ และใช้เครื่องมือรังสีวินิจฉัย เช่น เครื่องอัลตราซาวด์ เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT SCAN) ช่วยนำทาง จึงช่วยให้ทำลายก้อนเนื้อได้ถูกตำแหน่ง ลดผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย ฟื้นตัวเร็ว กลับไปใช้ชีวิตได้เป็นปกติ

เนื่องจากไวรัสตับอักเสบชนิดบีและซี เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดตับแข็งและมะเร็งตับ ดังนั้นการตรวจเลือดว่าเรามีเชื้อหรือมีภูมิต้านทานของไวรัสทั้งสองชนิดนี้หรือไม่ เป็นวิธีการที่จะป้องกันมะเร็งตับได้ดีที่สุด หากพบว่าไม่มีเชื้อและยังไม่มีภูมิต้านทาน ก็สามารถฉีดวัคซีนป้องกัน แต่หากพบว่ามีเชื้อ ก็สามารถทำการรักษาได้ในปัจจุบัน หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องของไวรัสตับอักเสบบีและซี ควรปรึกษากับแพทย์ทางอายุรกรรมหรือแพทย์อายุรกรรมระบบตับทางเดินอาหาร พฤติกรรมที่อาจช่วยให้หลีกเลี่ยงมะเร็งตับด้วยวิธีดังนี้ เช่น งดสุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมทั้งของหมัก ของดอง เพราะการกินติดต่อเป็นเวลานานจะเสี่ยงต่อการเกิดตับแข็งที่อาจนำไปสู่การเป็นมะเร็งตับ เลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูงเพราะอาหารไขมันสูงส่งผลให้ตับทำงานหนักในการสร้างน้ำดีมาย่อยอาหาร ควบคุมน้ำตาลและน้ำหนักเพื่อไม่ให้เสี่ยงกับโรคเบาหวานและโรคอ้วน ซึ่งเป็นต้นเหตุอย่างหนึ่งของโรคมะเร็งตับ เลี่ยงการทานยาติดต่ดกันเป็นเวลานานมากเกินไป เพราะยาเกือบทุกชนิดส่งผลต่อการทำงานของตับและควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ ท้ายสุดคือการเลี่ยงอาหารที่มีโอกาสปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซิน (Aflatoxin) รพ.วัฒโนสถเป็นโรงพยาบาลด้านโรคมะเร็ง การตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ครบทุกมิติ ผลลัพท์ที่ได้นอกจากการรักษาคือการเพิ่มคุณภาพชีวิต ลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 02-310-3000 หรือ Call Center โทร. 1719

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version