ด้วยความก้าวหน้าทางวิทยาการทำให้เรามีอาหารและยาที่ดี ซึ่งสามารถที่จะประคองชีวิตและสุขภาพของผู้คนให้มีอายุที่ยืนยาวมากขึ้น รวมทั้งเทรนด์การหันมาสนใจเรื่องของสุขภาพของคนในสมัยนี้ ทำให้สัดส่วนประชากรผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นด้วย เหตุนี้เทรนด์ธุรกิจที่น่าจะสนใจในอนาคตที่ตอบโจทย์ในส่วนนี้ได้ดีก็คือ "ธุรกิจเกี่ยวกับผู้สูงอายุและธุรกิจอาหารเสริมต่างๆ"
เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy)
ด้วยภาวะโลกร้อน และภัยธรรมชาติต่างๆที่หนักหนาขึ้นทุกวันได้จุดกระแส "Green" ที่สร้างความตระหนักแก่ทุกฝ่าย จนกลายเป็นความจำเป็นของการดำเนินธุรกิจที่เริ่มมีภาคบังคับ ข้อกำหนด รวมถึงกฎหมายต่างๆ ให้ธุรกิจต้องใส่ใจในผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการค้าภายในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งขณะที่ผู้บริโภคเริ่มตระหนักอยากช่วยโลก สิ่งเหล่านี้ก็กลายเป็นกระแสที่เข้ามามีบทบาทต่อการดำเนินธุรกิจที่จะเกิดขึ้นในอนาคตมากขึ้นทุกวัน
สำหรับธุรกิจ SME หากสามารถโยงตัวเองเข้าร่วมกับเศรษฐกิจสีเขียวก็จะเกิดผลในเชิงบวกของธุรกิจได้ ซึ่งนอกจากจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการลงทุนแล้ว ยังสามารถช่วยสร้างสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนได้ วิธีคิดแบบนอกกรอบ คิดอย่างสร้างสรรค์ เปิดรับองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้ความสำคัญกับงานวิจัย ซึ่งปัจจุบันมีหลายหน่วยงานของภาครัฐให้การสนับสนุน ทั้งด้านเงินทุน เทคโนโลยี นวัตกรรม อุปกรณ์ บุคลากร และให้คำปรึกษาแบบครบวงจร
มาดูกันว่าเหล่าอาหารชนิดใดที่ยั่งยืนและคาดว่าจะมีแนวโน้มในการสร้างสรรค์จากนวัตกรรมใหม่ (Future Food)
- เนื้อจากห้องแลป
คือ การสังเคราะห์ผ่านเทคนิคจากทางห้องแลป โดยมักทำขึ้นเลียนแบบให้เสมือนจริง มีการปรุงแต่งแร่ธาตุและคุณค่าทางโภชนาการให้มีความเหมาะสมต่อปริมาณการใช้ของร่างกายต่อวัน อาทิ เนื้อหมู ปลา เป็ด ไก่ หลายต่อหลายครั้งทางการแพทย์มองว่าผู้ป่วยโรคกระดูก ไขข้อ มักถูกห้ามให้หลีกเลี่ยงอาหารประเภทสัตว์ปีก เช่น "โรคเก๊าท์" ที่เกิดจากการมีกรดยูริกในเลือดมากเกินไป (hyperuricemia) ซึ่งสาเหตุของภาวะกรดยูริกในเลือดสูงมีคำอธิบายที่ยังไม่ชัดเจน แต่มีความเชื่อว่าปัจจัยทางด้านพันธุกรรมน่าจะมีบทบาทสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะดังกล่าว เมื่อกรดยูริกในเลือดสูงขึ้น อาจตกผลึกในข้อต่อ ซึ่งจะกระตุ้นกระบวนการในระบบภูมิคุ้มกัน และก่อให้เกิดการอักเสบ รวมถึงอาการปวดและบวมของข้อต่อ เนื่องจากโรคเก๊าท์เป็นโรคที่เกิดจากการกินอาหาร การใช้ชีวิต ดังนั้นหากจะแก้ไขต้องแก้ที่ต้นเหตุ คือการหลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มีสารพิวรีนสูง ซึ่งได้แก่อาหารต่อไปนี้
1. เห็ด
2. เนื้อสัตว์ปีกทุกชนิด
3. เครื่องในสัตว์ทุกชนิด
4. ไข่ปลา
5. ปลาดุก ปลาไส้ตัน ปลาซาร์ดีน
6. กุ้ง
7. ผักชะอม ผักกระถิน ผักสะเดา
8. กะปิ
9. น้ำต้มกระดูก
10. ซุปก้อน
ในอนาคตก็หมดห่วงสำหรับผู้ป่วยในการเลือกทานอาหารเหล่านี้ ซึ่งจะถูกคัดกรองสารพิวรีนออกไป และเพิ่มสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายของผู้ป่วยได้ ได้ทราบข้อมูลแบบนี้อีกไม่ช้าบริษัทผู้ผลิตยักษ์ใหญ่ทั้งไทยและต่างชาติ ก็จะมีผลผลิตให้เราได้ลิ้มลองกันแน่นอน และยังมีอีกหลายอย่างที่กำลังพัฒนาตามๆ กันมา เช่น ทุกอย่างที่เป็น GMO,อาหารแปรรูปแบบแคปซูล, สารสังเคราะห์จากสัตว์และพืช, แมลงและจุลินทรีย์บางชนิด
ข้อมูลจาก: Thai Food Business