สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล มูลนิธิ สถาบันวิจัยความสุขชุมชนและความเป็นผู้นำ นำเสนอผลการศึกษา เรื่อง ประเมินความสุขชุมชนมวลรวม (Gross Community Happiness, GCH) กรณีศึกษาประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปใน 15 อำเภอของจังหวัดน่าน

พฤหัส ๑๖ สิงหาคม ๒๐๑๘ ๑๑:๐๕
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการ สำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) มูลนิธิสถาบันวิจัยความสุขชุมชนและความเป็นผู้นำ ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยผลสำรวจ เรื่อง ประเมินความสุขชุมชนมวลรวม กรณีศึกษาประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปใน 15 อำเภอของจังหวัดน่าน ทุกสาขาอาชีพจำนวนทั้งสิ้น 1,487 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่าง เดือนกรกฎาคม ถึง สิงหาคม พ.ศ.2561 ที่ผ่านมาพบว่า

ประชาชนในจังหวัดน่านมีความสุขชุมชนมวลรวมด้านต่าง ๆ เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน พบว่ามีความสุขชุมชนมวลรวมด้านวัฒนธรรมประเพณีสูงที่สุดคือ 8.30 คะแนน รองลงมาคือ ความสุขต่อความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวอยู่ที่ 8.08 คะแนน ความสุขต่อสุขภาพกายอยู่ที่ 7.81 คะแนน ความสุขในรูปแบบการใช้ชีวิต เช่น การบำเพ็ญประโยชน์ด้วยจิตอาสา กีฬา การใช้เทคโนโลยีโลกโซเชียล เป็นต้น อยู่ที่ 7.66 คะแนน ความสุขชุมชนต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อยู่ที่ 7.65 ความสุขต่อสภาพแวดล้อมที่พักอาศัยอยู่ที่ 7.57 คะแนน ความสุขต่อสุขภาพใจ อยู่ที่ 7.56 คะแนน และความสุขต่อสิ่งที่มี สิ่งที่เป็น สิ่งที่ทำอยู่ที่ 7.56 คะแนน ความสุขต่อความสัมพันธ์ของคนในชุมชนที่พักอาศัยอยู่ที่ 7.55 คะแนน และความสุขต่อ อาชีพการงาน อยู่ที่ 7.47 คะแนน

ผลการวิเคราะห์ความสุขชุมชนมวลรวม (Gross Community Happiness, GCH) อยู่ในระดับที่มาก คืออยู่ที่ 7.72 คะแนน กล่าวได้ว่า ประชาชนชาวเมืองน่านมีความสุขระดับมาก

ที่น่าสนใจคือ หลังจากจำแนกความสุขชุมชนมวลรวมออกตามลักษณะพื้นที่พักอาศัยของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ประชาชนที่พักอาศัยอยู่ในพื้นที่เกษตรกรรม มีค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขชุมชนมวลรวมสูงกว่าประชาชนในทุกพื้นที่คือ พื้นที่กึ่งเมือง และพื้นที่ในเมือง ได้แก่ ความสุขชุมชนต่อวัฒนธรรมประเพณีชาวเมืองน่านในพื้นที่เกษตรกรรมสูงถึง 8.69 คะแนน ในพื้นที่กึ่งเมืองได้ 7.86 คะแนน และในพื้นที่เมืองได้ 7.77 คะแนน รองลงมาคือ ความสุขต่อความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวในพื้นที่เกษตรกรรมได้ 8.39 คะแนน ในพื้นที่กึ่งเมืองได้ 8.14 คะแนน และในพื้นที่เมืองได้ 7.60 คะแนน เช่นเดียวกัน ความสุขต่อสุขภาพกาย พบว่า ในพื้นที่เกษตรกรรมได้ 8.08 คะแนน ในพื้นที่กึ่งเมืองได้ 7.50 คะแนน และในพื้นที่เมืองได้ 7.45 คะแนน

นอกจากนี้ ที่น่าพิจารณา คือ ความสุขชุมชนมวลรวมจำแนกตามผู้ที่เข้าร่วมโครงการของ เบโด้ และผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ พบว่า ความสุขชุมชนมวลรวมอยู่ในกลุ่มผู้เข้าร่วมโครงการสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการทุกด้าน เช่น ความสุขต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในกลุ่มผู้เข้าร่วมโครงการอยู่ที่ 7.71 คะแนน ในขณะที่กลุ่มไม่ได้เข้าร่วมโครงการอยู่ที่ 7.40 คะแนน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version