กทปส. เดินเครื่องเปิดให้ทุนโครงการประเภท 2 หวังภาครัฐ-เอกชนและภาคการศึกษาต่อยอดการพัฒนางานวิจัย สู่อุตสาหกรรมโทรคมฯ

พฤหัส ๑๖ สิงหาคม ๒๐๑๘ ๑๕:๔๓
กทปส. เปิดรับการสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการ โทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยการเปิดรับโครงการสนับสนุนทุนประเภทที่ 2 ประจำปี 2561 อีก 4 โครงการ ด้วยวงเงินรวม 47,000,000 บาท หวังผลักดันภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษาเร่งพัฒนางานวิจัยสู่ภาคอุตสาหกรรมโทรคมฯ เพื่อยกระดับการพัฒนานวัตกรรมใหม่ รวมถึงการวางแนวทางในการดูแลสุขภาพที่อาจได้รับผลกระทบจากคลื่นความถี่และอุปกรณ์การสื่อสารในยุคดิจิทัล

นายนิพนธ์ จงวิชิต รักษาการผู้จัดการ กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการ โทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือ กทปส. เปิดเผยว่า กทปส. เดินหน้าขับเคลื่อนโครงการสนับสนุนทุนประเภทที่ 2 ประจำปี 2561 ครั้งที่ 2 เพิ่มอีก 4 โครงการ วงเงินรวม 47,000,000 บาท โดยทุนประเภทที่ 2 นี้เป็นทุนที่มุ่งเน้นการบรรลุความสำเร็จตามนโยบายของ คณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ซึ่งจะประกาศกำหนดขอบเขตของงานแต่ละโครงการ เพื่อให้ผู้ที่คุณสมบัติตามที่กำหนดไว้สามารถยื่นข้อเสนอในการดำเนินการเพื่อขอรับการส่งเสริมและสนับสนุนจาก กทปส. ได้

สำหรับโครงการประเภทที่ 2 ประจำปี 2561 ทาง กทปส. ได้เปิดให้มีการขอรับการสนับสนุนไว้แล้ว 6 โครงการ และล่าสุดเปิดเพิ่มอีก 4 โครงการโดยแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกโครงการที่มีวัตถุประสงค์ตามมาตรา 52(2) ซึ่งระบุไว้ในขอบเขตงาน (TOR) จำนวน 3 โครงการ ดังนี้

1. โครงการวิจัยและพัฒนาอุปกรณ์ตรวจสอบสายสื่อสาร สืบเนื่องจากนโยบายในการดำเนินงานของสำนักงาน กสทช. ประจำปี 2560 ที่เน้นคุ้มครองผลประโยชน์ของรัฐ และคุ้มครองผลประโยชน์ของประชาชนสูงสุด โดยมีนโยบายการนำสายสื่อสารลงดินและการจัดระเบียบสายสื่อสาร ซึ่งที่ผ่านมา กสทช. ได้เร่งดำเนินการจัดระเบียบสายสื่อสารร่วมกับผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม การไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ทั้งนี้เพื่อสร้างทัศนียภาพที่สวยงามและความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สินของประชาชน และกระทรวงมหาดไทยได้มีหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัด ทุกจังหวัดทั่วประเทศ เรื่องขอให้สนับสนุนการแก้ไขปัญหากรณีการจัดระเบียบสายสื่อสารที่พาดผ่านเสาไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เพื่อต้องการยกระดับการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อมให้มีคุณภาพที่ดี เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงกับสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อม อีกปัญหาสายสื่อสารที่ระโยงระยางบนเสาไฟฟ้าที่ทาให้ทัศนียภาพของบ้านเมืองและแหล่งท่องเที่ยวไม่สวยงาม อาจจะทำให้เสาไฟฟ้าล้มหักได้ เกิดไฟไหม้สายสื่อสาร ซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุว่าเกิดจากเหตุใด โดยสายที่พบจะมีทั้งสายโทรศัพท์ สายอินเทอร์เน็ต และสายเคเบิลทีวี เป็นต้น จึงเป็นที่มาของโครงการโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อวิจัยและพัฒนาต้นแบบอุปกรณ์ตรวจสอบสายสื่อสารโดยการประยุกต์ใช้ อาทิ ระบบ RFID หรืออื่นใด เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศและการบริหารจัดการตรวจสอบสายสื่อสาร เพื่อนาร่องติดตั้งอุปกรณ์ตรวจสอบสายสื่อสารในเส้นทางที่ได้มีการจัดระเบียบสายสื่อสารของสำนักงาน กสทช. กฟภ. กฟน. และผู้ประกอบกิจการสื่อสาร

2. โครงการทดลองภาคสนาม (Field Trial) การศึกษามาตรการป้องกันการรบกวนคลื่นความถี่ต่อระบบคมนาคมขนส่งทางราง ย่านความถี่ 900 MHz โดยมีจุดเริ่มต้นจากการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งทางรางมีการประยุกต์ใช้คลื่นความถี่สำหรับการใช้งานต่าง ๆ เช่น การสื่อสารด้วยเสียงและระบบอาณัติสัญญาณ ซึ่งใช้เทคโนโลยี GSM-R นอกจากนี้ กสทช. ยังได้กำหนดเงื่อนไขการป้องกันการรบกวนโดยการคำนวณจากค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหามาตรการ ที่เหมาะสมในการป้องกันการรบกวน

3. โครงการศึกษาและวิจัยในการจัดทำแบบจำลองการสร้างต้นแบบเมืองนวัตกรรมอัจฉริยะ The Intelligent Innovative Mixed Use Senior District (IIMSD) โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อรองรับวิถีชีวิตร่วมสมัยของผู้พิการและผู้สูงอายุ จากข้อมูลกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่งคงของมนุษย์ รายงานว่า ในปี พ.ศ. 2560 ประเทศไทยมีจำนวนประชากรที่เป็นผู้พิการ จำนวน 1.8 ล้านคน ในจำนวนดังกล่าวเป็นผู้พิการที่สูงอายุคิดเป็นร้อยละ 53 ซึ่งการเพิ่มขึ้นของประชากรผู้พิการในประเทศไทยเกิดจากอุบัติเหตุบนท้องถนนเป็นอันดับต้น ๆ โดยจากข้อมูลองค์การอนามัยของโลก (WHO) รายงานว่าประเทศไทยมีสถิติการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนเป็นอันดับที่ 1 ของเอเชีย และเป็นอันดับที่ 2 ของโลก ด้วยอัตราการเสียชีวิต 36.2 ต่อประชากร 100,000 คน รวมถึงกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ สภาพการ ทำงานที่ไม่ดีและปัจจัยอื่น ๆ แต่ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าในบางประเทศผู้พิการผ่านการฝึกอบรมให้มีศักยภาพ และสามารถทำงาน อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้วิวัฒนาการนวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกมีพัฒนาการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว จึงเป็นจุดริเริ่มของโครงการศึกษาและวิจัยในการจัดทำแบบจำลองการสร้างต้นแบบเมืองนวัตกรรมอัจฉริยะ The Intelligent Innovative Mixed use Senior District (IIMSD) โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อรองรับวิถีชีวิตร่วมสมัยของผู้พิการและผู้สูงอายุ เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับการพัฒนาและส่งเสริม คุณภาพชีวิตนวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยี ความมั่นคงปลอดภัย ทางการแพทย์ และการสื่อสารผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมืองในอนาคตให้สอดคล้องกับยุคดิจิทัล โดยผู้พิการและผู้สูงอายุสามารถดำรงชีวิตประจำวันและสามารถประกอบอาชีพโดยการใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร

ส่วนที่ 2 มีวัตถุประสงค์ตามมาตรา 52(4) เป็นโครงการศึกษาผลการะทบต่อสุขภาพของสิ่งมีชีวิตจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สืบเนื่องจากปัจจุบันแหล่งกำเนิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากระจายอยู่รอบตัวเราในหลายรูปแบบ เช่น ไฟฟ้าในบ้าน เครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ เสาส่งสัญญาณโทรทัศน์ เป็นต้น ถือเป็นแหล่งกำเนิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ประชาชนให้ความสนใจ และมีการร้องเรียน สอบถามเกี่ยวกับความปลอดภัยของเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ผ่านสำนักงาน กสทช. เป็นจำนวนมาก ที่ผ่านมามีการศึกษาด้านผลกระทบเรื่องดังกล่าวในต่างประเทศ แต่ไม่มีการศึกษาเรื่องนี้ในประเทศไทยจึงเป็นที่มาที่ กทปส. ได้เปิดให้มีการขอทุนดังกล่าว ทั้งนี้โครงการดังกล่าวคาดหวังจะทำให้ทราบถึงผลกระทบต่อสุขภาพที่จะเกิดจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จากเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ และประชาชนจะมีความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการวางแผนป้องกันและดูแลด้านสุขภาพของประชาชนต่อไป ทั้งนี้ผลการดำเนินโครงการนี้ เพื่อการศึกษาโครงการวิจัยเชิงนโยบายและผลการศึกษาเชิงลึกของพัฒนาการเทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกรวมถึง ด้านเศรษฐกิจ ธุรกิจและสังคม ผู้พิการและผู้สูงอายุใน 4 มิติ เพื่อเป็นแนวทางการส่งเสริมและสนับสนุนเงินจากกองทุนวิจัยและพัฒนาต่อไป การต่อยอดโครงการที่สามารถนำไปพัฒนาในเชิงพาณิชย์ได้ พร้อมรองรับวิถีชีวิตร่วมสมัยของผู้พิการและผู้สูงอายุ

"กทปส. เชื่อมั่นว่าโครงการสนับสนุนทุนประเภทที่ 2 ทั้ง 4 โครงการจะเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญของการขับเคลื่อนและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม รวมถึงการพัฒนาประเทศให้เข้าถึงการใช้เทคโนโลยีที่ครอบคลุม ลดความเลื่อมล้ำในการเข้าถึงการใช้เทคโนโลยี และสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานของประชาชนทุกกลุ่ม พร้อมทั้งหาแนวทางในการป้องกัน ดูแลผลกระทบด้านสุขภาพในอนาคตจากคลื่นความถี่" นายนิพนธ์ จงวิชิต กล่าวทิ้งท้าย

ผู้ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดโครงการและลงทะเบียนเพื่อขอรับทุนได้ที่ https://btfp.nbtc.go.th ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 3 กันยายน 2561 เวลา 16.30 น. หรือติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานกองทุนวิจัยและพัฒนาฯ 888 อาคารไอทาวเวอร์ 1 ชั้น 6 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 โทรศัพท์ 02 554 8111 และ 02 554 8114 โทรสาร 02 554 8100 ในวันเวลาทำการ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version